หากพูดถึงหนึ่งในปืนไรเฟิลจู่โจมที่หาชมตัวจริงยากที่สุดในโลกปัจจุบัน หนึ่งในนั้นต้องมี Howa Type 89 อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลด้านนโยบายห้ามส่งออกอาวุธของญี่ปุ่นที่แม้แต่ธุรกิจอาวุธปืนพลเรือนอเมริกาก็นำเข้ามาไม่ได้
Howa Type 89 ( ญี่ปุ่น : 89式小銃 ; hachi-kyū-shiki-shōjū ; ฮาชิ-คยูว-ชิกิ-โชจยูว )
คือปืนไรเฟิลจู่โจมสัญชาติญี่ปุ่น ผลิตโดยบริษัท HOWA Machinery Company เข้าประจำการในปี ค.ศ.1989 ซึ่งปัจจุบันถูกใช้งานโดยหน่วยงานความมั่นคงของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกองทัพอย่าง JSDF และหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายต่างๆของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าตัวปืนไรเฟิลนั้นจะมีอายุเกือบ 30 ปีแล้วก็ตาม
ซึ่งพวกข้อมูลตัวปืนและสเปคอะไรทั้งหลายผมขอไม่พูดถึงเนื่องจากว่ามีคนเขียนเรื่องพวกนี้เต็มไปหมดแล้ว ซึ่งพวกท่านก็สามารถหาอ่านได้ตามเพจปืนหรือสาระนุกรมอาวุธปืนตามเว็บพันธิปได้ เอาล่ะว่ากันต่อ......
Howa Type 89 มีลักษณะเอกลักษณ์หลายๆอย่างที่ค่อนข้างแปลกประหลาดเมื่อเทียบกับปืนไรเฟิลจู่โจมทั่วๆไป หนึ่งในนั้นคือรูปแบบการ layout ของปืนที่เป็นภาษาญี่ปุ่นล้วนๆ ทำให้ผู้ที่เริ่มเข้ามาศึกษาอาวุธของญี่ปุ่นเกิดความสับสน
ซึ่งถ้าพูดตามปกติแล้วนั้น อาวุธปืนที่ผลิตโดยชาติที่มีอักษรและภาษาของตัวเองนั้น การ layout ตัวเลขและชื่อบนปืนเป็นภาษาตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในยุคสมัยก่่อน แต่ด้วยความง่ายและความเป็นสากลของตัวเลขอาราบิก (1 - 10) ทำให้ลักษณะเอกลักษณ์อันนี้ของปืนที่ผลิตโดยชาติที่มีอักษรเฉพาะของตัวเองเริ่มเปลี่ยนมาใช้เป็นเลขอาราบิกมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เราเริ่มเห็นได้จากอาวุธปืนสมัยใหม่ที่ประจำการในกองทัพอิสราเอลนั้นเป็นตัวเลขอาราบิกแทนตัวเลขฮิบบรูแบบเก่า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นถือยังเป็นไม่กี่ชาติในปัจจุบันที่ยังคงรูปแบบ layout ของปืนตัวเองเป็นภาษาและอักษรของตัวเองอยู่ กลายเป็นหนึ่งในคุณลักษณะอันโดดเด่นของเจ้า Type 89 ไปโดยปริยาย โดยเราสามารถจำแนกอักษรญี่ปุ่นตรงคันควบคุมการยิงได้ดังนี้
บทสาระ
ตัวควบคุมโหมดการยิงของ Type-89 นั้นเรียกว่า アタレサン ( A - ta - re - san ; อา - ตา - เร - ซาน ) ซึ่ง Atare นี้เป็นการเล่นเสียงคำหน้าของโหมดการยิงแต่ละโหมดมารวมกันเป็นคำเดียวกัน ซึ่งเป็นคำเรียกที่ใช้มาตั้งแต่ยุคสมัยที่ยังประจำการด้วย Howa Type 64 เป็นปืนหลัก และ san ตรงท้ายแปลว่า "3" มาจากโหมดการยิงชุดละ 3 นัดของปืน ซึ่งเมื่อนำมาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆจะแปลว่า โหมดการยิงทั้ง 3
ซึ่งในยุคของ Type 64 จะเรียกเพียงแค่ アタレ ( A - ta - re ; อา - ตา - เร ) เท่านั้น เนื่องจาก Type 64 ไม่มีโหมดการยิงชุดละ 3 นัดเหมือน Type 89
ตัวอักษรญี่ปุ่นที่ถูกปั้มตรงคันควบคุมการยิงของปืนนั้นเป็นรูปแบบอักษร "คาตากานะ" ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ไว้ใช้อ่านทับศัพท์ภาษาต่างประเทศในภาษาญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างงั้น คำที่แปลออกมานั้นกลับไม่ใช่คำทับศัพท์ แต่ที่ใช้คำย่อเป็นอักษรคาตากานะเพราะว่าแยกลักษณะตัวอักษรได้ง่ายกว่าตัวฮิรากานะหรือคันจินั่นเอง
ア = アンゼン | An - zen | อัน - เซน | Safe ( โหมดเซฟ )
タ = タンパツ | Tan - pat - su | ทัน - ปัส - สึ | Semi ( กึ่งอัตโนมัติ )
レ = レンシャ | Ren - sha | เรน - ฉ่ะ | Full Auto ( อัตโนมัติ )
3 | San | ซาน | Three round burst mode ( โหมดยิงชุดละ 3 นัด )
ซึ่งพอเรานำคำหน้ามารวมกันจะได้เป็น A - Ta - Re - San นั่นเอง
โดยการเปลี่ยนโหมดการยิงของ Type 89 สามารถเลื่อนตามหรือทวนเข็มนาฬิกาได้
ลำดับการเปลี่ยนโหมดเมื่อเลื่อนทวนเข็มนาฬิกา
ア → レ → 3 → タ
________________________________________________________________________________________
#HOWA #89式小銃 #自衛隊 #Type89 #JSDF
บทความสั้นๆอันนี้ได้ข้อมูลจากหลายที่ตามอินเทอร์เน็ตรวมถึงหนังสือนำมาคัดกรองและวิเคราะห์ความถูกต้อง รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนเองกับ Type 89
จะเอาไปก็อปลงที่อื่นก็ไม่มีปัญหาครับ ยังไงก็ห้ามไม่ได้อยู่แล้ว แต่ขอเครดิตด้วยนะครับ
หากชื่นชอบข้อมูลของบทความนี้ กดถูกใจ กดแชร์ แสดงความคิดเห็นได้ครับ
นักรบกีนิว
11 / 1 / 2019
คุณเป็นเจ้าหน้าที่ที่ญี่ปุ่นเหรอครับ? เห็นบอกว่ามาจากประสบการณ์