top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

Patrol Air Cushion Vehicle สัตว์ประหลาดเบาะลมของเวียดกง

อัปเดตเมื่อ 27 ส.ค. 2562

เราอาจจะรู้จักยานเบาะลม หรือ Hovercraft ทางการทหารอย่าง Landing Craft Air Cushion หรือ LCAC ที่ใช้ขนยุทโธปกรณ์ขึ้นสู่ชายฝั่งในการยกพลขึ้นบก ซึ่งหลายคนก็มองว่า นี้คือ Hovercraft ที่ใช้งานทางการทหารแบบแรก ของสหรัฐฯ และมาช้ากว่าโซเวียตรัสเซียที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว


แต่ความจริง สหรัฐฯมีการใช้งานยานเบาะ Hovercraft ในการทหารมาตั้งแต่สงครามเวียดนามแล้ว โดยใช้ในภารกิจลาดตระเวนตามลำน้ำ ในชื่อ Patrol Air Cushion Vehicle (PACV)


Patrol Air Cushion Vehicle (PACV)

PACV นั้นมีพื้นฐานมาจาก Bell Aerosystems Bell SK-5 ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้เหมาะกับการใช้งานทางทหารของอเมริกาในปี 1965

Saunders-Roe SR.N5 หรือ Bell สหรัฐฯนำไปผลิตในชื่อ Bell SK-5

มีความยาว 11.84ม. กว้าง 7.24 ม. และสูง 5.03 ม.เมื่อลอยอยู่บนเบาะอากาศ น้ำหนักเต็ม 7.10 ตัน กองทัพเรือและกองทัพเรือ PACV มีลูกเรือ 4 คน ได้แก่ ผบ.เรือ พลขับ พลเรดาร์และพลนำทาง สามารถยกทหารได้สูงสุด 12 นาย ติดตั้งเครื่องยนต์กังหันก๊าซของGeneral Electric 7LM100-PJ102 ถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาด 1,150 ล. ส่งกำลังขับเคลื่อนผ่านใบพัดสามใบเพื่อยกตัวยาน และ พัดลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง2.1 ม. ในการขับเคลื่อน สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 60 นีอต หรือประมาณ 110 กม./ชม. ระยะปฏิบัติการไกลสุด 306 กม. ปฏิบัติงานต่อเนื่องได้ 7 ชม.


โดยพื้นฐาน ยานเบาะติดตั้งระบบอินเตอร์คอม 6 ตัว, วิทยุUHF , AN / ARC-54 FM radio และชุดรักษาความปลอดภัยในการสื่อสาร เรดาร์ Decca 202 ซึ่งสามารถตรวจจับเป้าหมายภายใน 24 ไมล์ (39 กม.)


ระบบอาวุธยานเบาะสามารถติดตั้ง ปืนกลขนาด 12.7มม. M2 ติดตั้งบนสะพานเรือสามารถยิงได้รอบลำ และปืนกล 7.62มม. M60 จำนวน 2 กระบอก

PACV กองทัพเรือสหรัฐฯ

โดยPACVมีการออกแบบที่แตกต่างกันสองแบบ แบบหนึ่งสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในชื่อ Patrol Air Cushion Vehicle ซึ่งติดตั้งระบบพื้นฐาน และกองทัพบกสหรัฐฯ ในชื่อ ACV ซึ่งมีการปรับปรุงจากเดิม โดยเพิ่มนำเกราะป้องกันโดยเฉพาะส่วนของเครื่องยนต์ และถังเชื้อเพลิงซึ่งเป็นเกราะแบบเดียวกับที่ใช้บน M113 ซึ่งให้การปกป้องจากกระสุนปืนขนาด 12.7มม. ที่ยิงจากระยะ 180 ม. ในขณะที่เกราะรอบห้องลูกเรือสามารถป้องกันกระสุน .30 ได้ที่ระยะ 91 ม. นอกจากนี้ ยานเบาะACV ของกองทัพบกสหรัฐฯยังติดตั้งระบบ XM3 Personnel Detector ซึ่งสามารถตรวจสอบการปล่อยมลพิษของมนุษย์รวมทั้งคาร์บอนและแอมโมเนีย เพื่อค้นหาข้าศึกที่ซ่อนอยู่ นอกจากนี้ACV ของกองทัพบกยังสามารถติดตั้งปืนMinigun หรือปืนกลยิงไว เพื่อเพิ่มอำนาจการยิงด้วย นอกจากนั้น กำลังพลสหรัฐฯและกองกำลังพิเศษARVNที่ไปกับPACV ก็ใช้งานอาวุธขนาดเล็กหลายชนิดเช่นปืนเล็กยาวM16และปืนยิงระเบิด M79 ปืนพก และระเบิด แต่การใช้งานปืนขนาดเล็กเหล่านี้ก็เป็นอันตรายกับยานเบาะได้ เพราะปลอกกระสุนอาจเข้าไปติดในส่วนของเครื่องยนต์และใบพัดได้

PACV ขณะทำความเร็วในการลาดตระเวน

PACV ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการแทรกซึมของเวียดกงจากทะเลและพื้นที่ปากแม่น้ำและสันดอน โดยเฉพาะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ซึ่งเรือลาดตระเวนอื่นไม่สามารถไปได้ น้ำหนักค่อนข้างเบาของ PACV เพียง7ตันนั่นทำให้มันสามารถขนส่งทางอากาศได้ ด้วยเฮลิคอปเตอร์ CH-54 และเครื่องบินลำเลียงได้


การใช้งานยานเบาะเหล่านี้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ถึง 17 ตุลาคม 2509 ก็พบว่ายานเบาะมีเสียงที่ดังจากการทำงานของเครื่องยนต์และใบพัด ทัศนวิสัยต่ำ มีต้นทุนการซ่อมบำรุงรักษาสูงและการใช้งานที่จำกัดในเขตทะเลหลวงหรือในทางน้ำแคบจึงถูกปฏิเสธการใช้งานในภารกิจใหญ่ๆอย่างใน Operations Game Warden และ Market Time เดือนพฤศจิกายนปี 2509 PACV ก็ถูกนำมาใช้ใน Operation Quai Vat ร่วมกับ Civilian Irregular Defense Group (CIDG) และเฮลิคอปเตอร์กองทัพบกสหรัฐฯและกองกำลังพิเศษ PACV ใช้ความเร็วและอาวุธบุกเข้าใส่เวียดกงจนสามารถสังหารไปได้ 23 คน ทำลายเรือ 70 ลำ และจับนักโทษพร้อมยึดเสบียงได้เป็นจำนวนมาก


การปฏิบัติการครั้งนั้นทำให้เกิดการตั้งกองเรือACV ในที่ราบลุ่มตามแนวชายแดนเวียดนาม/กัมพูชา โดยการประเมินกองทัพบกสหรัฐฯพบว่าในที่ราบลุ่ม ภารกิจใดๆที่กำหนดให้การดำเนินงานของพื้นดินได้ดีที่สุดจะประสบความสำเร็จโดยACV โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลาดตระเวนตอนกลางคืน, การขนส่งทหารราบ การปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการหลบหนี PACV เป็นปัญหาความเร็วของพวกเขาทำขึ้นสำหรับมันในภูมิประเทศที่ยากลำบากเป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูมรสุม PACV สามารถข้ามลำเหมืองและสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ได้สูงถึง 0.91 ม.และ1.8 ม.ได้ แต่ในฤดูแล้งการใช้งานยานเบาะนี้ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

ACV กองทัพบกสหรัฐฯ

กองทัพเรือได้นำ PACV ไปทำการปรับปรุงในเดือนมกราคม 2510 และนำไปใช้กับเวียดนามในตอนต้น 2511 ในเดือนมกราคมก่อนที่จะนำไปใช้กับเวียดนามในเดือนเมษายน ในสงครามเวียดนามกองทัพเรือ PACV 3ลำ ประจำการที่ฐานทัพเรือ Cat Lo สนับสนุนภารกิจของหน่วย Task Forces 116 และ 117 และ ACV ของกองทัพบกสหรัฐฯซึ่งมี 3ลำเช่นกัน สองในสามของ ACV ขอกองทัพบกถูกใช้งานเป็น Assault Air Cushion Vehicles (AACV) สำหรับภารกิจโจมตี และอีกหนึ่งลำเป็น Transport Air Cushion Vehicle (TACV) โดยทั้ง3ลำใช้ในการสนับสนุนหมวดทหารม้าที่ 39 กองพลทหารราบที่9 ออกปฏิบัติการในพื้นที่ของ Ben Luc และ Dong Tam

PACV ขณะปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ UH-1 Huey

PACV ถูกนำไปใช้ในปฏิบัติภารกิจหลายประเภททั้งการลาดตระเวนลำน้ำ,การค้นหาและทำลาย ,การคุ้มกันเรือลำอื่นการจู่โจมการลาดตระเวน,การอพยพทางการแพทย์,การลำเลียงยุทธปัจจัยและการยิงสนับสนุนทหารราบ การซุ่มโจมตีและการจู่โจม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน เมื่อมันสามารถซ่อนอยู่หลังต้นกกและต้นหญ้าได้อย่างง่ายดาย สามารถใช้ความเร็วในการโจมตีฐานเวียดกงและหลบหนีก่อนที่พวกเวียดกงจะตอบโต้ นอกจากนี้ยังพบว่าPACVมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้งานในร่วมกับ เฮลิคอปเตอร์ ปืนใหญ่ และ เรือโจมตีอื่นๆ PACV ยังมีประสิทธิภาพที่จะเป็นสถานีเรดาร์ได้แม้จะดับเครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ทหารเวียดกงเรียกยานเบาะนี้ว่า "สัตว์ประหลาด"


อย่างไรก็ตามกองทัพพบว่ายานเบาะที่ใช้งานอยู่นั้นมีอาวุธไม่เพียงพอไม่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเป้าหมายที่มีเกราะหรือป้อมปราการและแนะนำให้ติดตั้งอาวุธที่หนักกว่าเช่นจรวดต่อต้านรถถังแบบ TOW ,ปืนใหญ่ยิงเร็วขนาด20 มม. (เช่น M139 หรือ M61 Vulcan) หรือ ปืนไร้แรงสะท้อนหลัง M40 ขนาด106มม. นอกจากนั้นยังพบว่าเสียงมันดังมากเกินที่จะใช้ในภารกิจลาดตระเวนหรือซุ่มโจมตีและไม่มีวิธีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในสนามรบ


PACV มักถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์เนื่องจากความเร็วความสามารถในการข้ามภูมิประเทศความต้องการการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่าย หน่วยทหาร ACV ดำเนินการในทำนองเดียวกันกับทหารม้าอากาศ ใช้ยานพาหนะที่มีความเชี่ยวชาญสูงเหล่านี้จำเป็นต้องมีลูกเรือและเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาได้รับการฝึกอบรมจำนวนมาก อย่างพลขับต้องมีประสบการณ์การขับอย่างน้อย75–100 ชั่วโมง ก่อนเข้าร่วมสงคราม ข้อกำหนดการฝึกอบรมหมายความว่ากองทัพจะต้องจัดเตรียมยานสำหรับการฝึกอบรมเป็นเวลา 14 วันทุกเดือน และ PACV ยังจำเป็นมีการฝึกอบรมการใช้งานอย่างปลอดภัยให้ลูกเรือและกำลังพลด้วย


ข้อเสียอีกประการหนึ่งของ PACV คือการบำรุงรักษาที่ต้องการ ชั่วโมงของการปฏิบัติการต้องใช้เวลา 20 ชั่วโมงในการบำรุงรักษา ทำให้ PACV มีอัตราการปฏิบัติที่พร้อมใช้งานเพียง 55.7 เปอร์เซ็นต์ และ ยานเบาะได้รับความเสียหายจากการโจมตีได้ง่ายกับอาวุธบนยานเบาะที่ไม่เพียงพอต่อการตอบโต้ นอกจากนั้นPACVยังมีราคาสูงมาก,มีราคาประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่ง มากพอที่จัดหาเรือลาดตระเวนลำน้ำได้ถึง 13 ลำ ในสมัยนั้น


ซากACV ที่ถูกทุ่นระเบิดทำลาย ในวันที่ 3 สิงหาคม 2513

แม้จะเป็นสัตว์ประหลาดของเวียดกงแต่สุดท้ายเวียงกงก็สามารถหาวิถีรับมือยานเบาะเหล่านี้ได้ PACV และ ACV กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของเวียดกงโดยการใช้การซุ่มโจมตีและทุ่นระเบิด เพื่อต่อต้าน PACV ซึ่งได้ผลดีอย่างยิ่ง ในวันที่ 9 มกราคม 2513 ยานเบาะ ACV 902 ของกองทัพบกถูกทำลายโดยทุ่นระเบิด แม้ว่าจะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ทหาร 14นายได้รับบาดเจ็บและการโจมตีชะลอการก้าวของการดำเนินงาน ACV เพราะกฎระเบียบของกองทัพบกกำหนดว่า เรือ hovercraft ทำงานเป็นคู่เพื่อปกป้องซึ่งกันและกัน เมื่อ ACV 901 ถูกทำลายโดยทุ่นระเบิด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2513ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 3นาย นั้นทำให้สหรับฯยุติการใช้งานยานเบาะเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2513 และนำออกจากเวียดนามอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนปีเดียวกัน


ACV เดียวที่ยังอยู่ถูกส่งไปไปยังพิพิธภัณฑ์การขนส่งทางบกในเวอร์จิเนีย ส่วน PACVของกองทัพเรือ กลับสู่สหรัฐฯก่อนในเดือนสิงหาคม ทั้งหมด PACVมีการทำงานมากกว่า 4,500 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาที่ใช้งาน


แต่ยานเบาะบางส่วนที่ได้ถูกโดนให้หน่วยามฝั่งของสหรัฐฯ ในปี 2513 โดยมีการดัดแปลงโดยการถอดป้อมปืน 12.7มม.ออกและเปลี่ยนเป็นโดรมครอบเพื่อใช้ในการสังเกตการณ์ และเปลี่ยนเรดาร์เป็น Kaar LN66 และอุปกรณ์สำหรับค้นหาและกู้ภัย แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆด้าน ทำให้สุดท้ายหน่วยยามฝั่งก็ยุติการใช้งานไปในปี เมื่อปี 2518

PACV หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ

 

ที่มา

ดู 188 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย

#DEFNET_News DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทำพิธีส่งมอบยานเกราะล้อยางแบบ VN-1...

Comments


bottom of page