Lockheed AC-130 เริ่มต้นเส้นทางการเป็นเครื่องบินลำเลียงโจมตีจากสงครามเวียดนามโดยการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 มาใช้ในภารกิจกันซิฟที่ได้ประสิทธิผลในการรรบของข้าศึกในสงครามเวียดนาม ควบคู่กับเครื่อง AC-47 และ AC-119 โดยเริ่มต้นในปี1967 โดยมีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสหรัฐฯได้ออกแบบเครื่องบินAC-130 รุ่นใหม่ออกและคาดว่าจะเป็นรุ่นสุดท้ายของAC-130 นั้นคือ AC-130W Stinger II และ AC-130J ghostrider
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อปื 2007 เมื่อผู้บัญชาการ USSOCOM มีความต้องการเครื่องบินAC-130รุ่นใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เข้ามาทดแทนเครื่องรุ่นเดิมคือ AC-130H และAC-130U แต่ต้องเพิ่มความสามารถในการรบให้ดียิ่งขึ้นจากบทเรียนในการรบต่างประเทศ ต่อมาปี2009 จึงได้มีการดัดแปลงเครื่องบินC-130H โดยการติดระบบต่างๆและปืนเข้าไป แล้วให้ชื่อว่า MC-130W Dragon Spear
เครื่องบินได้รับการติดตั้งระบบต่างทั้งระบบ AN / APN-241 Low Power Color Radar และระบบตรวจจับอินฟราเรด AN / AAQ-38 ระบบตรวจจับภัยคุกคามและระบบตอบโต้ทั้งพลุลวงและระบบรบกวนสัญญาณอิเล็กทรอนิคและอินฟาเรด แต่ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ เครื่องบินติดตั้ง ปืนขนาด 30มม. เพียงกระบอกเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้า ที่มีปืนอย่างน้อย 2-3 รุ่น เช่น ปืน 25 มม. , 40 มม. และ 105 มม. ซึ่ง 2อย่างหลักคืออำนาจการยิงที่สำคัญมาโดยตลอด แต่เครื่องรุ่นใหม่นี้ทดแทนอำนาจการยิงเหล่านั้นด้วย GBU-39 Small Diameter Bomb ระเบิดนำวิถีต่างๆ และ จรวดนำวิถี AGM-176 Griffin ซึ่งให้ความแม่นยำมากกว่ากระสุน และมีระยะโจมตีที่ไกลขึ้น
ด้วยทางเลือกติดตั้งอาวุธแบบนี้ ทำให้เครื่องบินยังสามารถใช้งานในภารกิจอื่นๆได้ เช่นการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ หรือส่งกำลังทางอากาศเป็นต้น
เครื่องบินเปิดตัวและนำเสนอให้กองทัพในปี 2010 ไม่กี่เดือนกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็อนุมัติโครงการดัดแปลงเครื่องบินC-130H ให้กลายเป็นMC-130W ชุดแรกออกมาและได้มีการอนุมัติงบประมาณอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2011
ปี 2012 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก MC-130W Dragon Spear มาเป็น AC-130W stinger II ซึ่งปัจจุบันนี้มีประจำการทั้งหมด 12 ลำ ด้วยกัน
แต่การออกแบบอย่างนี้ก็ได้เสียงวิจารณ์จากนักวิเคราะห์อาวุธหลายๆคนว่า เครื่องAC-130W ควรเรียก เครื่องบินทิ้งระเบิด มากกว่า เครื่องบินกันชิฟ แต่ไม่นานเครื่องบินลำเลียงติดปืนรุ่นใหม่ก็ออกมา ปี2012 สหรัฐฯเปิดโครงการ Ghostrider เพื่อดัดแปลงเครื่องบิน MC-130J Commando II มาเป็นเครื่องบินลำเลียงโจมตีแบบใหม่ ก่อนจะมาเปิดตัวในเดือนมกราคม 2013
AC-130J ที่ออกมานั้ันคือการนำความสามารถของเครื่องAC-130 รุ่นเก่ามารวมเข้ากับเครื่องAC-130W ระบบต่างๆบนเครื่องมีความใกล้เคียงAC-130W แต่เครื่องได้รับการติดตั้งปืนขนาด 105มม. เข้าไปคู่กับปืน 30มม. ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้เครื่องยังสามารถรองรับระเบิดนำวิถีและรองรับจรวดนำวิถีแบบต่างๆได้ แบบAC-130W
เครื่อง AC-130J เสร็จการพัฒนาในปี 2015 ก่อนจะทดสอบและพร้อมปฏิบัติภารกิจในปี 2017 ซึ่งเครื่องAC-130Jได้ออกทำภารกิจแรกในเดือนกรกฏาคม 2019 โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯมีความต้องการเครื่องบินAC-130J ทั้งหมด 21ลำ เพื่อทดแทนเครื่องบินAC-130U และ AC-130W ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบทั้งหมดในปี 2021
ข้อมูล
AC-130W stinger II
เครื่องยนต์: Allison T56-A-15 turboprop 4เครื่องยนต์
ความเร็วสูงสุด: 483กม./ชม.
เพนดานบินสูงสุด : 8534 ม.
ระยะปฏิบัติการ: 4630 กม.
ลูกเรือ: นักบิน 2 นาย, เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ 2 นาย , ช่างเครื่อง,เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการบิน 2 นาย
อาวุธ : GAU-23 Cannon 30มม. , Mk44 cannon 30มม. (ปัจจุบัน),ปืนใหญ่ M102 105มม. 1กระบอก(ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง) , GBU-39 Small Diameter Bomb
ราคาต่อเครื่อง: 122 ล้านเหรียญสหรัฐ*
AC-130J ghostrider
เครื่องยนต์ : Rolls-Royce AE 2100D3 Turboprop 4 เครื่องยนต์ ความเร็วสูงสุด: 670 กม./ชม. เพนดานบินสูงสุด : 8534 ม. ที่น้ำหนักบรรทุก 19 ตัน ระยะปฏิบัติการ : 4828 กม. ลูกเรือ : นักบิน 2 นาย , เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาวุธ 2 นาย , เจ้าหน้าที่ระบบเซนเซอร์ 2 นาย และ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการบิน 4 นาย
อาวุธ : ปืน 30มม. Mk.44 1กระบอก , ปืนใหญ่ M102 105มม. 1กระบอก, ระเบิดนำวิถี GBU-39 Small Diameter Bomb และ จรวดนำวิถี AGM-176 Griffin ราคาต่อเครื่อง: 115 ล้านเหรียญสหรัฐ*
เพิ่มเติม
- ปัจจุบันเครื่องบินAC-130W ได้รับการดัดแปลงให้ติดตั้งปืนใหญ่ 105 มม. แล้วเช่นเดียวกับAC-130J
- ข้อแตกต่าง ระหว่างAC-130WและAC-130J คือ เครื่องAC-130W ใช้เครื่องC-130H เป็นพื้นฐานการดัดแปลง ส่วนของAC-130J ใช้เครื่องC-130J ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของเครื่องบินลำเลียงC-130 เป็นพื้นฐาน ซึ่งจะเห็นได้จากข้อมูลเครื่องยนต์ด้านบน และรูปภาพที่AC-130W จะมีใบพัดใบละ 4 กลีบ แต่AC-130Jจะมีใบพัดใบละ 6 กลีบ
- * ราคาที่สหรัฐฯจัดหา เนื่องจากการผลิตเองในสหรัฐซึ่งตัวเครื่องมีราคาจึงถูกกว่าการขายต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไม่มีประเทศใดในโลกที่มีเครื่องบินAC-130 ประจำการ นอกจากสหรัฐฯ
อ้างอิง
Comments