เริ่มต้นปี 2018 ทาง Kalashnikov Concern ได้มีการประกาศออกมาว่า ทางกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ได้ประกาศให้ Kalashnikov AK-12 และ AK-15 เป็นปืนเล็กยาวจูโจมแบบใหม่ของกองทัพรัสเซีย ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้ทางบริษัทเราได้นำเสนอประวัติความเป็นมาที่มีความยาวนาน อุปสรรค จนประสบผลสำเร็จในที่สุด
ในปี 2012 กรอบกว้างๆของโครงการ OCD Ratnik ที่ทางกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ประกาศออกมาให้มีการแข่งขันการทำปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่สำหรับกองกำลังในโครงการนี้ อย่างที่ทราบกันมาทางกองทัพรัสเซียได้รับ ปลย.จู่โจมแบบใหม่น้อยมาก เนื่องจากมีของสำรองเหลือตกทอดมาจากยุคสหภาพโซเวียตเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามมันเป็นเรื่องไร้สาระมากถ้าจะใช้ของสำรองพวกนี้ต่อไป ในช่วง 25 ปี ที่ผ่านมา มีการปฏิบัติการทางทหารในสงครามเชเชน 2 ครั้ง ปฏิบัติการใน North Ossetia หรือที่ต่างๆอีกมากมาย ทำให้ของสำรองสงครามพวกนี้เริ่มด้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บอกว่ากองทัพรัสเซียต้องพัฒนาทั้งอาวุธ ยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่เลยทีเดียว โดยเฉพาะอาวุธเบาต่างๆ (ปลย. ปก. ปกม. ฯลฯ) มันควรที่จะมีระบบการเล็งที่ทันสมัยและใช้งานง่าย ซึ่งเป็นผลดีในทางยุทธวิธีและสนับสนุนยุทธวิธีของกองทัพรัสเซียเอง
สำหรับผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมักจะคิดว่าการเขียนข้อกำหนดเหล่านี้พุ่งเป้าไปที่ ปลย.จู่โจม AEK-971 ที่พัฒนาโดย Kovrov ในช่วงยุค 70s-80s ที่พ่ายแพ้ให้กับ AN-94 ในโครงการ Abakan ไป แต่อย่างไรก็ตามมันก็ได้รับการพัฒนามาอย่างช้าๆและในปี 2006 โอนไปยังโรงงาน Degtyarev
ส่วนทาง IZHMASH ก็ได้พัฒนาต้นแบบออกมา เพื่อรักษาตำแหน่งหลักของตัวเองในการแข่งขันนี้ จึงได้มีการพัฒนาปลย.จู่โจม ที่มาพร้อมกับระบบ Balanced Recoil ที่ช่วยหักล้างแรงสะท้อนถอยหลังระหว่างการยิงต่อเนื่อง ได้แก่ AK-107 ขนาดกระสุน 5.45x39 มม. AK-108 ขนาดกระสุน 5.56x45 มม. และ AK-109 ขนาดกระสุน 7.62x39 มม. โดยนำระบบพื้นฐานมาจาก ปลย.AL-6 และ AL-7 ซึ่งได้นำมาใช้ใน AK-107 และ AK-109 ในการทดสอบเบื้องต้นในโครงการ Ratnik หลังจากทดสอบทางโรงงานจึงได้ทิ้งการพัฒนา AK-109 ไป เนื่องจากกระสุนขนาด 7.62x39 มม. ในระบบ Balance Recoil ไม่ได้สร้างความแตกต่างของความแม่นยำในระหว่างการยิงกับระบบธรรมดาเลย เมื่อเทียบกันระหว่างมีระบบ Balanced Recoil กับระบบธรรมดาที่มีพื้นฐานเดียวกัน (AK-109 vs AKM?) ได้สังเกตว่า ในการยิงอัตโนมัติ ยิงเป็นชุด(ชุดละ 3 นัด) ตัวปืนมีการสั่นไหวมาก (ในท่ายืนยิงและนอนยิง) เมื่อทดสอบการยิงในแบบต่างๆแล้วจึงสรุปได้ว่าระบบ Balanced Recoil ไม่ได้สร้างความแตกต่างเลย บางกรณีแย่กว่าด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับระบบธรรมดา และเมื่อเปรียบเทียบต่อไป ระบบนี้สร้างความยุ่งยากในการบำรุงรักษา มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตัวปืนสกปรกง่าย และไม่สามารถทำรุ่นลำกล้องสั้นกว่าได้ ข้อแตกต่างเหล่านี้มีมาตั้งแต่โครงการ Abakan ทำให้ทราบว่าระบบ Balance Recoil มีประสิทธิภาพต่ำในกระสุน 7.62 มม. จึงเป็นการชี้นำให้นักออกแบบของ IZHMASH ให้นำเอาระบบ Balanced Recoil ไปใช้ในปืนสำหรับการกีฬามากกว่า เนื่องด้วยการสภาพการใช้งาน และความต้องการในระบบปืนน้อยกว่านั่นเอง หลังจากที่ได้ข้อมูลจากการทดสอบระดับโรงงานมาแล้ว ทาง IZHMASH ได้ทำการเปรียบเทียบ AK-107 ขนาด 5.45x39 มม. และ AK-103-3 ขนาด 7.62x39 มม. กับ งานของคู่แข่งอย่าง A-545 กับ A-762 ที่มีพื้นฐานมาจาก AEK-971 ของโรงงาน Degtyarev และ 5.45A-91,7.62A-91 ทรงบูลพัพ ที่พัฒนาโดย KBP OJSC - TsKIB SOO ในการทดสอบเบื้องต้นก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าระบบไหนได้รับเลือก ในรอบสอง มีเพียงสองบริษัทที่ส่งต้นแบบให้ทดสอบจริง ได้แก่ Degtyarev และ IZHMASH
ขอย้อนไปดูประวัติความเป็นมาสั้นๆของโรงงาน IZHMASH ในสมัยสหภาพโซเวียต โรงงาน Izhmash เป็นผู้ออกแบบและผลิตปืนและอาวุธเบาแบบต่างๆ รายใหญ่ที่สุด ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ประสบการณ์ที่มีก็แตกต่างไปตามช่วงเวลา หลังจากการถอนตัวผู้อำนวยการทั่วไปของ IZHMASH อย่าง Vladimir Grodetsky ออกไปในปี 2011 และเปลี่ยนผู้อำนวยการคนใหม่อย่าง Vladimir Zlobin ที่เคยเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบของ TsKIB SOO มาเป็นหัวหน้าทีมนักออกแบบ และการพัฒนาเริ่มขึ้นในปี 2011 และให้ชื่อว่า AK-12 ทีแรกไม่ได้ตั้งใจเข้าร่วมโครงการ Ratnik แต่ในปี 2013 จึงได้ส่งเข้าร่วมในที่สุด
เท่าที่ทราบ หัวหน้าทีมออกแบบไม่ได้รับข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกแบบปืนให้ใช้มีกระสุน 2 ขนาด ในโครงการ จึงได้ส่ง AK-103-3 ไป ในขนาด 7.62 มม. ตลอดการทดสอบทั้งโครงการ ตัวปืนออกแบบโดยทีม Izhevsk Gunsmith ที่มี Dmitry Dolganov เป็นหัวหน้าทีม สำหรับ AK-12 มีจุดแตกต่างไปจากเดิมได้แก่ ตำแหน่งของศูนย์หลัง การใส่ฝาครอบห้องลูกเลื่อน ปลอกยั้งแรงถอย และ คันบังคับการยิงแบบใหม่(แทนแบบฝากันฝุ่นในตัวแบบรุ่นก่อนๆ) จากการทดสอบเบื้องต้น ทหารที่ทดสอบชอบของ A-545 กับ A-762 ของ Degtyarev มากกว่า จึงได้เลือกที่จะทำสัญญาร่วมงานกับ Degtyarev ส่วน IZHMASH จึงเป็นแค่ผู้ที่ร่วมริเริ่มการพัฒนาในโครงการนี้เท่านั้น
ช่วงปี 2014 ไม่มีความเคลื่อนไหวในการทดสอบอะไร พอในมกราคม 2015 เริ่มที่จะมีข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการนี้ออกมา ทาง IZHMASH ได้ยินเสียงบ่นๆในทางไม่ดีเกี่ยวกับ A-545 และ A-762 ว่าเป็นเรื่องยากที่จะลดราคาลงมาสำหรับการผลิตจำนวนมากให้กับทหารทั่วๆไปได้ หลังจากที่ชนะการทดสอบไปแล้ว และ AK-12 กับ AK-103-3 ก็ไม่เหมาะสมที่จะนำมาแทน กองทัพจึงไม่รู้จะหันหน้าไปทางไหน จึงให้กลับไปพัฒนาใหม่โดยมีรายละเอียดที่รัดกุมกว่าเดิม ความเป็นจริงแล้วมันเป็นปัญหาซ้ำซากตั้งแต่ทดสอบขั้นต้นมาแล้ว ทำให้ต้องแก้ปัญหาที่ตามๆมาต่อ และยังไม่มั่นใจว่าระบบจะยังน่าเชื่อถือเท่ากับ AK แบบก่อนหน้าได้อีกไหม ซึ่งต่างกับระบบของ AK-12 ที่เรื่องพวกนี้ไม่ใช่จุดสำคัญที่จะพัฒนาต่อไป ส่วน AK-103-3 เป็นถูกปัดตกไปเพราะไม่ถูกใจในปลย.ที่ต่างแบบที่ใช้กระสุนต่างกัน
เป็นเรื่องน่าทึ่งที่เริ่มหันเหไปทาง IZHMASH หลังจากควบรวมกิจการจนกลายเป็น Kalashnikov Concern ซึ่งต้องการกลับมาผงาดอีกครั้ง และเพื่อการนั้นจึงได้โละรูปแบบ AK-12 ที่ล้มเหลวทิ้งไป แล้วเริ่มพัฒนาปลย.แบบใหม่ขึ้นมาโดยอาศัยข้อผิดพลาดจากการทดสอบในอดีตที่พอจะสรุปได้ว่า ตัวปืนมีความน่าเชื่อถือต่ำ ไม่คล่องตัวในข้างที่ไม่ถนัด และมีความยุ่งยากในการปรับให้เข้ากับสายการผลิตที่มีอยู่ได้ (เครื่องจักรเดิมทำชิ้นส่วนทำได้แค่ 10% ของทั้งหมด) ความหมายก็คือ AK-12 Series ใช้ทั้งเวลาและเงินทุน จนทำให้ราคาต่อกระบอกแพงกว่าเมื่อเทียบกับ AK-74M ถึง 6 เท่า!!!
ในปี 2015 เกือบจะสิ้นหวังกับ Izhevsk ที่เล่นย้อนกลับไปแบบเดิม “รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิม” ในปี 2014 ได้มีการตั้งผู้อำนวยการทั่วไปคนใหม่เข้ามาช่วงสั้นๆ และหลังจากสิ้นสุดวาระของ Alexei Yuryevich Krivoruchko ตั้งแต่เขาเข้ามาไม่สามารถจัดการหรือทำความเข้าใจสถานการณ์ในการเข้าร่วมทดสอบครั้งนี้เลย ตรงกันข้ามหลังจากเปลี่ยนผู้อำนวยการสำหรับทีบออกแบบ ในหน้าร้อนปี 2014 ได้เชิญ Sergey Urzhumtsev มาร่วมงานกับ Izhevsk ซึ่งเขาทำงานเป็นหัวหน้านักออกแบบของ Vyatskiye Polyan Molot และต่อมาได้เป็นผู้อำนวยการทั่วไปของ Molot-Oruzhe มานาน เขามีความรู้เรื่องอาวุธจากการศึกษาในมหาวิทยาลัย Izhevsk State Technical และเขาได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ระบบงานของเครื่องจักรในสายการผลิตของ Kalashnikov อีกด้วย (เขาเคยทำงานช่วงสั้นๆในสายการผลิต ปลก.RPK และ ปืนสำหรับตลาดพลเรือน) โชคชะตาของโครงการนี้ยังดำเนินต่อไป เขาได้โยนแบบที่ล้มเหลวของ AK-12 ทิ้งไป แล้วเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่จากความรู้ที่รับมาสมัยเรียนบวกกับประสบการณ์จากการทำงาน นำมาพัฒนาตัวปืนขึ้นมาใหม่ แต่ก็มีความเสียงที่กองทัพจะไม่เอาเข้าประจำการเช่นกัน และเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ จึงถอด AK-12 model 2014 ทิ้งไป และขั้นต่อมาเขาต้องได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอย่างเต็มที่ ในเดือนมีนาคม 2015 โครงการจึงเริ่มขึ้นและเรียกว่า AK-400 ที่โยน AK-12 แบบเก่าทิ้ง แล้วเริ่มพัฒนาใหม่ โดยใช้พื้นฐานการออกแบบที่มีอยู่และสามารถใช้เครื่องจักรที่มีอยู่ใน Izhevsk ทำการผลิตได้เลย
AK-400
AK-400 สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลักที่จะปรับปรุง AK-74 ให้ทันสมัย โดยมีมิติใกล้เคียงกันเพื่อให้ง่ายต่อการผลิตและตามความต้องการของกองทัพเอง และเพื่อให้ได้ตามข้อกำหนดข้างต้น ตัวปืนยังใช้ระบบการทำงานของ Kalashnikov และยังใช้เทคโนโลยีของโรงงานผลิตได้ เป็นงานหนักที่จะทำให้สำเร็จได้ ตั้งแต่เริ่มทำ AK-400 เป็นต้นมา อีกทีมที่ทำควบคู่กันมาได้ออกแบบส่วนประกอบที่มีความทันสมัยให้กับปลย.นี้ และได้เสนอชุดปรับปรุงตัวปืนเดิมในชื่อ 200 Series ตั้งแต่ในโรงงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนแนวคิดนี้และกำลังพัฒนา(ขนาด 5.45x39 มม. และ 7.62x39 มม.)ใน Izhevsk อยู่ เพื่อที่จะรักษาสายการผลิตเดิมเอาไว้นั่นเอง ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Kovrov ยังเงียบๆกับการผลิตปลย.ให้กับการทดสอบในสนามจริง
หลังจากวิเคราะห์สถานการณ์แล้ว หัวหน้าทีมออกแบบคนใหม่กับทีมงานได้ระดมสมองในการจัดการงานต่างๆในโครงการนี้ ทีมงานนำเอกสารการออกแบบ AK-400 จาก The bureau of combat automatic weapons of the design and technology center โดยมีพื้นบานการออกแบบจาก AK-103-3 ที่เสนอไปช่วงแรกๆของโครงการ Ratnik โดยทีมออกแบบ KTC ที่มี Alexey Sayfutdinov ,Dmitry Dolganov ,Alexander Rekukhin, Kirill Sibiryakov, Olga Shumanina and Anna Syursina ในทีม
จากผลของการทำงานอย่างหนัก ตัวปืนก็เสร็จซักที ตัวปืนสามารถติดตั้งศูนย์เล็งที่ทันสมัยบนรางติดอุปกรณ์เป็นมาตรฐานของตัวปืน ท่อแก็สและลำกล้องติดกับโครงปืน เช่นเดียวกับฝาครอบห้องลูกเลื่อนที่ออกแบบใหม่ที่มีการติดตั้งที่มั่นคงขึ้น สำหรับติดตั้งกล้องช่วยเล็งแบบต่างๆ เครื่องลั่นไกออกแบบตามความต้องการของกองทัพ ด้วยการเพิ่มการยิงแบบชุดละ 2 นัดเข้ามา พานท้ายปรับความยาวได้ รางติดอุปกรณ์เสริมยาวตลอดด้านบนฝาครอบห้องลูกเลื่อนไปถึงประกับด้านบน ปลอกยั้งแรงถอยพัฒนาใหม่เป็นแบบถอดได้ ทั้งหมดนี้สามารถใช้ชิ้นส่วนร่วมกับ AK-74M ได้ถึง 54% แต่ในขณะเดียวกัน ตัวปืนมีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ใช้งานง่ายและมีความน่าเชื่อถือ แต่ระบบการทำงานยังเป็นแบบ AK เช่นเดิม
จากการทำงานอย่างหนักในช่วงครึ่งท้ายปี 2015 ปลย.จู่โจม AK-12 และ AK-15 ก็ได้เปิดตัว โดยใช้กระสุนขนาด 5.45x39 มม. และ 7.62x39 มม. ตามลำดับ และส่งกลับเข้าไปทดสอบในครึ่งหลังของกองทัพ แต่ในงาน ARMY-2015 ยังเอา AK-12 แบบเก่าไปแสดงอยู่เนื่องจาก ตัวใหม่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ในปี 2016 คณะกรรมการที่แต่แต่งโดยกระทรวงกลาโหม ได้ตรวจสอบผลการทดสอบรอบสองนี้ ว่าปลย.จู่โจมแบบใหม่ที่ตรงตามความต้องการ และแบบที่จะได้รับมอบหมายให้ผลิตจำนวนมาก ได้รับชื่อในสารระบบส่งกำลังของ GRAU ว่า 6P70 (AK-12 5.45x39 มม.) และ 6P71 (AK-15 7.62x39 มม.) และพร้อมสำหรับการผลิตในเดือนมิถุนายน 2016
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการยิงของปลย. ในกระสุนแต่ละขนาดที่กำหนด สำหรับรับรองถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้ปืนนี้ความต้องการของกองกำลังของสหพันธรัฐรัสเซียเอง ในการทดสอบตัวปืนทั้งหมดได้รับการทดสอบแบบต่างๆไม่ว่าจะอุณหภูมิสุดขั้ว หรือการใช้งานตามยุทธวิธีอย่างหนัก และติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่นเครื่องช่วยเล็งของโครงการ Ratnik ทดสอบการนำพาโดยกองทัพบก พลร่ม นาวิกโยธิน และหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ใน 4 สนามใหญ่ๆ หลังจบการทดสอบแต่ละสนาม จะนำคะแนนมาเปรียบเทียบและเก็บข้อมูล ผู้เข้าทดสอบจะต้องได้รับการปรนนิบัติบำรุงตลอดการทดสอบ ตามหัวข้อที่กำหนดตามแบบทดสอบนั้นๆ
ในเดือนธันวาคม 2017 ภายในกรอบของการทบทวนการเปรียบเทียบในการนำพาออกไปปฏิบัติภารกิจโดยหน่วยใช้จริง รายงานคำแนะนำผู้ใช้ในระหว่างการทดสอบและการออกแบบตัวปืน ทางกระทรวงกลาโหมจึงแนะนำให้ใช้ระบบของทั้งคู่ โดย A-545 กับ A-762 จะถูกใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ส่วน AK-12 และ AK-15 จะใช้ร่วมกันในหน่วยทหารทั่วไป ได้แก่ กองทัพบก พลร่ม และนาวิกโยธิน เพื่อดูความแตกต่างในรูปแบบการใช้งาน อำนาจการยิง ความแม่นยำในระหว่างการยิงของปืนทั้งสองรูปแบบ ซึ่งระหว่างทั้งสองระบบนี้เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก มีข้อได้เปรียบเล็กน้อยในปืนที่มีระบบ Balanced Recoil แต่แค่ขนาด 5.45x39 มม.เท่านั้น เมื่อทำการยิงในช่วงระยะ 200 ม. กลุ่มกระสุนไม่เสถียร ในการยิงเป็นชุดชุดละ 2 นัด เมื่อยิงจำนวน 3-5 ชุด ยิ่งแย่กว่าเดิม แต่ไม่มีการเปิดเผยออกมา อย่างไรก็ตาม แม้จะมี AK-12 ขนาด 5.45x39 มม. แล้ว แต่ก็ต้องยอมให้ 6P67 A-545 ในการยิงเฉพาะจุด กองกำลังอารักขาบุคคลสำคัญ พลร่ม และสารวัตรทหารเรือ ชอบในตัว AK-12 มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 6P67 ขนาด 5.45x39 มม. และ 6P68 ขนาด 7.62x39 มม. ที่มากับระบบ Balanced Recoil ทหารที่ได้ทดสอบให้ความเห็นว่ามันพ่นแก๊สออกมามากเกินไปจนทำให้เกิดระคายเคืองตาและระบบทางเดินหายใจ นี่คือความต่างที่ได้จากการใช้งานจริงในสนาม
ปัญหาที่สำคัญของกองทัพคือราคาต่อกระบอก ในเบื้องต้นมีประมาณการว่า A-545 มีราคาราวๆ 10 เท่าของ AK-74M แต่ AK-12 แพงกว่า AK-74M เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความสำเร็จนี้เป็นโชคชะตาของนักออกแบบและนักประดิษฐ์ของ Izhevsk อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการรักษาคำสั่งซื้อจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียต่อไปหรือลูกค้าต่างประเทศ สำหรับล็อตแรกของ ปลย.จู่โจม AK-12 และ AK-15 จะส่งมอบก่อนสิ้นปี 2018 และในปี 2019 มีแผนว่า จะดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบต่อไป
ในการพัฒนา ปลย.จู่โจม AK-103-3 ไม่ใช่แค่ส่งเข้าแข่งในโครงการ Ratnik เท่านั้น แต่ได้นำพื้นฐานการออกแบบมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ที่ส่วนใหญ่ใช้ในการส่งออก ของ บ.Kalashnikov เอง ใช้ชื่อว่า AK-200 Series
ปืนเล็กกล
ย้อนกลับไปในปี 2015 ช่วงที่ออกแบบ AK-400 ได้มีการพัฒนารุ่นปืนเล็กกลขึ้นมาสำหรับกระสุน 5.45x39 มม. เพื่อขยายอำนาจการยิงในหมู่รบ กระทรวงกลาโหมรัสเซียแสดงความสนใจตัวปืนนี้ในปี 2017 หลังจากจบการทดสอบ ในไตรมาสแรกของปี 2018 กระทรวงกลาโหมก็ได้รับ RPK-16 ล็อตแรก เพื่อดำเนินการฝึกศึกษา ในงาน ARMY-2017 มันเป็นที่น่าสนใจของหลายๆหน่วยงานในประเทศรวมไปถึงลูกค้าต่างประเทศเช่นกัน ลักษณะเด่นของปลก.ตัวใหม่นี้เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า โดยมันถูกออกแบบให้สามารถเปลี่ยนลำกล้องได้ง่าย ติดตั้งขาทรายแบบถอดได้ ซองกระสุนแบบกลมขนาดใหญ่ที่จุได้มากถึง 95 นัด สามารถติดตั้งปลอดลดเสียงแบบปลดเร็วได้เมื่อใส่กับลำกล้องสั้น ซึ่งก็ทำได้ไม่ต่างจากปลก.ทั่วๆไป แต่ที่ต่างไปคือ ใช้ลำกล้องแบบหนา สำหรับการยิงอัตโนมัติได้ต่อเนื่องได้ดีกว่าเดิม ลำกล้องแบบยาวออกแบบให้มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น และกลุ่มกระสุนดีขึ้น หวังผลไกลขึ้นกว่าเดิม RPK-16 สันนิษฐานว่ามันอยู่ในลำดับการผลิตหลัง AK-12 และ AK-15 ทันที
จะเป็นอย่างไรต่อไป
AK-12 และ AK-15 ได้นำเข้าประจำการแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราประสบผลสำเร็จแล้ว แต่เรายังคงต้องพัฒนาต่อไป มีโปรเจ็คภายใน อย่าง AK-EVO ที่ทีมออกแบบของบริษัทจะพัฒนาขีดความสามารถในพื้นฐานปลย.ของ Kalashnikov เพิ่มขึ้นไปอีก หนึ่งในงานนั้นคือ พัฒนาตัวปืนให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่นออกแบบให้สามารถใช้งานปืนได้ทั้งสองข้าง มีคันรั้ง 2 ด้าน คันบังคับการยิง 2 ด้าน ศูนย์เล็งแบบใหม่ ประกับมือ และพานท้ายออกแบบให้โมดูลมากขึ้น ซึ่งบางส่วนได้เพิ่มลงไปใน AK-12 และ AK-15 แล้ว และในขณะเดียวกันเราก็ได้พัฒนาปืนเล็กยาวขนาดกะทัดรัดอย่าง AM-17 และ AMP-17 โดยอาศัยพื้นฐานมาจากออกแบบของ Ye.F. Dragunov ใน Izhevsk Arms School
ที่มา : https://kalashnikov.media/article/weapons/ak-12-ot-porazheniya-k-pobede?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=v-nachale-2018-goda-minoborony-rossii-ofi&fbclid=IwAR0FTwNwp8SymPOvdWrjiHmGOhbDSJOJgl8-sRhceA-Pcdfe_G9xtnFqSWE
หมายเหตุ เนื้อหาบางส่วนอาจะใช้คำที่ไม่คุ้นตาเนื่องจากเป็นการแปลจากภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงนำมาแปลเป็นภาษาไทยอีกทีครับ
เขียน แปล และเรียบเรียงโดย: Gtd.77 แห่งเพจ GUN in The World
Comments