เฮลิคอปเตอร์แบบ Bell 214ST เป็นหนึ่งในกำลังของกองบินทหารเรือที่มีการใช้งานตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน แต่กว่าที่กองทัพเรือที่จะได้เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้มาไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
จากบทความจากนิตยสารของ ผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2529 พูดถึงโครงการนี้ไว้
ในตอนนั้นกองทัพเรือมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ทดแทน UH-1H Huey จำนวน 5ลำ ได้มีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้เข้ามาในงานในปี2529 โดยมี Bell 214ST จากบริษัท Bell Heicopter Textron โดยมี บริษัทคอมเมอร์เชียล แอสโซซิเอท เป็นนายหน้า และเฮลิคอปเตอร์จาก Sikorsky ที่กำลังทำการตลาดเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-60 Blackhawk รุ่นใช้งานทางทะเลในชื่อ Seahawk (ด้วยราคาของ Seahawk ที่สูงมาก ทำให้ Sikorsky เสนอ UH-60A Blackhawk ดัดแปลงให้สามารใช้งานทางทะเลซึ่งราคาใกล้เคียงกับBell มาเสนอกองทัพเรือแทน ตามคำกล่าวอ้างของคนในสมัยนั้น) โดยมี บริษัทยูไนเต็ด แอโร สเปซ (ไทยแลนด์) เป็นนายหน้า
นอกจากนี้ยังมีเฮลิคอปเตอร์แบบ Westland Lynx ของอังกฤษซึ่งเป็น ฮ.ที่ประสิทธิภาพสูง และเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่บินได้เร็วที่สุดโลกในสมัยนั้น เสนอเข้ามาแข่งในโครงการนี้ด้วย แต่ ด้วยความที่ไม่ได้อิงกับสหรัฐ จึงทำให้ Lynx ไม่ได้รับการพิจารณา (ต่อมากองทัพเรือก็ได้จัดหาฮ.Super Lynx 300 เข้ามาประจำการ 2 ลำ)
ภายหลังการเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตของทั้งรวมทั้งบริษัทซ่อมทำทั้ง 2 ที่รวมทั้งบริษัทซ่อมทำของ Bellที่สิงคโปร์ ประธานกรรมการฯ กับคณะกรรมการอีกบางท่านตลอดจนพิจารณาเงื่อนไขของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว กองทัพเรือจึงมีการพิจารณาจัดหา Bell 214ST โดยกล่าวว่า
- Bell 214ST สามารถซื้อผ่าน DSSA หรือซื้อโดยตรงจากบริษัทก็ได้ ในขณะที่ Blackhawk ดัดแปลง ต้องซื้อผ่าน DSAA เท่านั้น
- Bell 214ST ราคาประมาณ 32.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวน 5 เครื่องหากซื้อตรงจากบริษัท ส่วนถ้าซื้อผ่าน DSAA จะต้องเสียเงินค่า ADMIN อีก 103 ล้านบาท ทางด้านของ Blackhawk ดัดแปลงได้เพียงจำนวน 4 เครื่องราคา 32.8 ล้านเหรียญฯ และต้องเพิ่มค่า ADMIN อีก 143 ล้านบาท รวมทั้งค่า R&D อีกเฉลี่ยเครื่องละ 210,000 เหรียญฯ
- Bell 214ST สามารถใช้อะไหล่ช่วยเหลือจากกองทัพบกและกองทัพอากาศได้เพราะจะใช้ อะไหล่จาก Bell เหมือนกัน ถึงแม้ Bell 214ST จะเป็นรุ่นใหม่ แต่อะไหล่ก็ยังใช้ด้วยกันได้กับรุ่น Bell 212 ประมาณ 70-75% ในขณะที่ Blackhawk ดัดแปลง เป็นรุ่นที่สร้างขึ้นใหม่หมด เวลามีอุปสรรคข้อขัดข้องหรือกรณีฉุกเฉินต้องรออะไหล่ซ่อม
- ค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงของBell 214STประมาณ 3.6 แสนเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ Blackhawk ดัดแปลงประมาณ 4.2 แสนเหรียญสหรัฐฯ
- ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการในปีแรก (รวมค่าอื่นๆ) ของBell 214ST ประมาณ 7.1 แสนเหรียญสหรัฐฯ ทางด้านของ Blackhawk ดัดแปลง ประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ค่าอะไหล่ที่ต้องจัดหาสำรองไว้ของ Bell 214ST ประมาณ 5.3 ล้านเหรียญ ซึ่งทางด้านของ Blackhawk ดัดแปลง ประมาณ 8.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- Bell 214ST บรรทุกได้ 17 ที่นั่ง ส่วน Blackhawk ดัดแปลง บรรทุกได้ 14 ที่นั่ง
จากข้อเปรียบเทียบดังกล่าว กองทัพเรือจึงตัดสินใจจัดหา Bell 214ST ด้วยวิธีการซื้อโดยตรงกับบริษัท Bell เพื่อประหยัดงบประมาณ
บริษัทยูไนเต็ด แอโร สเปซ (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นนายหน้าของ Sikorsky จึงได้ทำการโต้แย้งกองทัพเรือที่ไม่ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ของตน โดยให้เหตุผลว่า ในอนาคตเฮลิคอปเตอร์ตระกูล Blackhawk จะเป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานหลักทั้งในกองทัพบก กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศของสหรัฐฯ แต่ทาง Bell 214ST นั้นมีคนใช้งานที่น้อยอาจจะไม่คุ้มค่าในอนาคต เทียบกับ Blackhawk ที่กำลังเป็นที่สนใจในหลายประเทศ
ส่วนทางด้านราคาเนื่องจาก Blackhawk มีอุปกรณ์การบินดีกว่าและมีมากกว่า ราคาจึงสูงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากไม่รวมอุปกรณ์ เครื่อง Blackhawkจะถูกกว่า ซึ่งทาง Sikorsky ได้เสนอลดราคาแบบนี้ให้กองทัพเรือแล้ว แต่กองทัพเรือไม่ยอมรับ โดยให้เหตุผลว่าผิดระเบียบการจัดซื้อครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการจัดซื้อครั้งนี้เป็นการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ไม่ใช่การประกวดราคา กองทัพเรือจึงน่าจะเลือกเฮลิคอปเตอร์จาก Silorsky มากกว่า เพราะจะได้ของที่ราคาถูก หรือมิฉะนั้นก็ควรให้ Bell ลดราคาลงอีกเพื่อให้กองทัพเรือได้ประโยชน์มากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ทางฝ่าย ยูไนเต็ด แอโร สเปซ โต้แย้งอย่างหนักเกี่ยวกับการจัดหา Bell 214ST ครั้งนี้ กองทัพเรือก็ยังเดินหน้าในการจัดหา Bell 214ST ต่อไป แม้กองบัญชาการทหารสูงสุดจะบอกให้กองทัพเรือชี้แจ้งกับบริษัทยูไนเต็ด แอโร สเปซ (ไทยแลนด์) อีกรอบ แต่ทุกอย่างก็เหมือนเดิม
แต่อุปสรรคสำคัญคือการจัดหา Bell 214ST มูลค่า ประมาณ 33ล้านเหรียญสหรัฐฯนี้ เป็นงบประมาณที่สูงมากในสมัยนั้น กองทัพเรือจึงต้องใช้เงินกู้ FMS ซึ่งกองทัพเรือใช้การจัดหาจากบริษัทโดยตรงเพื่อประหยัดงบประมาณ ต่อมาก็เกิดประเด็นขึ้นอีกครั้งเมื่อ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ รัฐมนตรีกลาโหมในสมัยนั้นออกคำสั่งว่า การจัดซื้ออาวุธสหรัฐที่จำเป็นต้องใช้เงินกู้ FMS จะต้องซื้อด้วยระบบรัฐต่อรัฐผ่าน DSAA เท่านั้น
แต่ถึงกระนั่น กองทัพเรือยังคงยืนยันที่จะจัดหาจากโรงงานโดยตรงด้วยเงินกู้ FMS เพื่อประหยัดงบประมาณ ทางกระทรวงกลาโหมก็ยืนยันว่ากองทัพเรือต้องซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบรัฐต่อรัฐผ่าน DSAA เท่านั้น ทำให้เกิดข่าวใหญ่ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อจุดยืนกองทัพเรือในจัดหาเฮลิคอปเตอร์ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า
สุดท้ายหลังจากยืดเยื้อมาสักพักใหญ่ๆ DSAA ก็อนุโลมให้กองทัพเรือจัดซื้อ Bell 214ST โดยตรงจากบริษัท Bell ด้วยเงินกู้ FMS เป็นกรณีสุดท้าย ทำให้กองทัพเรือจึงสามารถดำเนินการจัดหา เฮลิคอปเตอร์ Bell 214ST เข้ามาประจำการได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังได้รับ Bell 214ST จากกองทัพบกมาอีก 1ลำ รวมทั้งหมดกองทัพเรือมีเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ทั้งหมด 6 ลำ
ในปัจจุบันนี้ เท่าที่ทราบ กองทัพเรือยังคงมี Bell-214ST ในประจำการ แต่ก็ไม่ได้เห็นการบินทำภารกิจของ Bell-214ST มาไม่น้อยกว่า4ปีแล้ว ครั้งสุดท้ายที่มีบันทึกภาพเคลื่อนไหวทำการบินทำภารกิจคือ ปี 2559
ที่มา
Comentarios