top of page

BT-67 เครื่องบินยุคสงครามโลก โฉมใหม่ ใช้งานคุ้มค่า

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

อัปเดตเมื่อ 20 ม.ค. 2562

ด้วยความที่ที่ว่าตอนนี้กรุงเทพตอนนี้มีค่าฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 เกินค่ามาตราฐาน ทำให้หลายหน่วยงานต้องออกมาช่วยกันในการลดค่าฝุ่นละอองลง ซึ่งกองทัพอากาศก็เป็นอีกหน่วยงานที่ออกมาช่วยเหลือ โดยการนำเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2ก " Basler Turbo-67 " หรือ "BT-67"ออกขึ้นโปรยน้ำเพื่อลดค่าฝุ่นละออง ซึ่งเครื่องบินรุ่นนี้มีความน่าสนใจมากเลย


BT-67 ฝูงบิน461 กองบิน46 กำลังทำภารกิจโปรยเพื่อลดค่าฝุ่งละออง PM 2.5


หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 กองทัพอากาศไทยก็ได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธจากสัมพันธมิตรหลายๆอย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเครื่องบินลำเลียง รุ่น Douglas C-47 Skytrain หรือ Dakota เข้าไปประจำการในชื่อ เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีการปรับปรุงไปในหลายรูปแบบนอกเหนือจากเครื่องบินลำเลียง เช่น AC-47 Gunship,RC-47 ใช้ในภารกิจลาดตระเวน,EC-47 ใช้ในภารกิจสงครามอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น ซึ่งก็ใช้ในการทำภารกิจสงครามหลายครั้งและได้เป็น "เครื่องบินพระที่นั่ง" ในสมัยรัชกาลที่9 และได้ปฏิบัติภารกิจ"ฝนหลวง"ในพระราชดำรัสของรัชกาลที่9 จนกระทั้งปลดประจำการไปในปี2537


Douglas C-47 Skytrain หรือ Dakota กองทัพอากาศ

แต่หลังจากนั้น2ปีม้างานตัวนี้ก็ได้โอกาสกลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง ในปี2539 กองทัพอากาศ ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท Basler Turbo Conversions LLC. ประเทศสหรัฐอเมริกา ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 Douglas C-47 จำนวน 3 ลำ ให้เป็น Basler Turbo-67 หรือ BT-67 เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจลำเลียง ภารกิจดับไฟป่า และ ภารกิจฝนหลวง ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของรัชกาลที่9


BT-67 ลำที่1 ของกองทัพอากาศ

โดยการดัดแปลงนั้นมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ลูกสูบดาว Pratt & Whitney R-1830-90C 1200 แรงม้า เป็น เครื่องยนต์เทอร์โบพรอป Pratt & Whitney PT6-67R 1425 แรงม้า ระบบอวิโอนิคและระบบต่างๆของเครื่องบินใหม่มีความทันสมัยและทนทานมากขึ้น

มีการยืดลำตัวส่วนหน้าออกไปอีก ๑ เมตร โดยเครื่องบินที่ได้รับตรวจมารตฐานและได้รับใบสมควรเดินอากาศจาก FAA และกองทัพสหรัฐฯก่อนส่งมอบ โดยการดัดแปลงตกราคาเครื่องละประมาณ 200ล้านบาท ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้จะทำให้เครื่อสามารถประจำการต่อไปได้อย่างน้อย 25 ปี


กุมพาพันธ์ 2541 นาวาอากาศเอก ธวัช มังสิงห์ และ Andrew Furgusun ครูการบินสหรัฐฯ ทำการบินเครื่องบินลำเลียงแบบ BT-67 เครื่องแรกหมายเลข ๑๐๖ จากสหรัฐฯมาถึงสนามบิน ดอนเมือง รวมระยะทาง 15,924กม. ใช้เวลาบินรวม 52.25 ชม.และในวันเดียวกันนั้นเอง ได้มีการลงนามดัดแปลง Douglas C-47 Skytrain จำนวนอีก 3 ลำ ให้เป็น BT-67 โดยสิ้นปี2541 กองทัพอากาศได้รับมอบเครื่องบินทั้งหมด6ลำ เข้าประจำการในฝูงบิน461 กองบิน46 และได้มีการลงนามดัดแปลงอีก3เครื่องให้ครบ9ลำ ตามแผนเดิมจะมีการวางแผนประจำการBT-67 ถึง12ลำ


BT-67 ลำที่8 ซึ่งทำสีเทาทั้งลำ (ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับลำอื่นๆแล้ว)

ปี2547 กองทัพอากาศรับมอบBT-67 ลำที่ 8 โดยมีการใช้ลายพรางสีเทา(ณ ตอนนั้น) จากบริษัท Basler Turbo Conversions LLC. ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งในการบินครั้งนี้มีการติดตั้งถังน้ำมันขนาดใหญ่ในตัวทำให้เครื่องบินสามารถบินได้นานขึ้นเป็น 12ชม. และลำที่9ก็ได้รับมอบในเวลาต่อมา


ในการโปรยน้ำในการลดปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพไม่ใช่ครั้งแรกของเครื่องบินBT-67 ปี 2558 BT-67 จำนวน 1 ลำ จากกองบิน 46 มาประจำการอยู่ที่กองบิน 41 เชียงใหม่ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีการนำอุปกรณ์โปรยน้ำ ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำได้3000ลิตร ที่ใช้ในภารกิจดับไฟป่า ขึ้นบินโปรยน้ำเหนือพื้นที่เป้าหมายวันละ 4 เที่ยวบิน แบ่งเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย ช่วงละ 2 เที่ยวบิน ซึ่งมีมุ่งเน้นในการโปรยน้ำลงมาให้เป็นละอองน้ำขนาดเล็กมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหวังผลให้ละอองน้ำจับตัวกับฝุ่นละอองในอากาศแล้วตกลงมา และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยบรรเทาความรุนแรงของหมอกควันได้ สำหรับปัญหาหมอกควันดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ในการเผาป่าเพื่อเตรียมปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ ต่อมา ในเดือนตุลาคม 2558 BT-67 ต้องลงภาคใต้ไปปฏิบัติหน้าที่ บรรเทาปัญหาอันเกิดจากหมอกควันที่เกิดจากไฟไหม่ป่าในประเทศอินโดนีเซีย อีกด้วย และล่าสุดก็คือการขึ้นบินโปรยน้ำในกรุงเทพในปีนี้


BT-67 ฝูงบิน461 กองบิน46 กำลังทำภารกิจโปรยเพื่อลดค่าฝุ่งละออง PM 2.5


นี่คือเครื่องบินอีกหนึ่งแบบที่ประจำการนานที่สุดของกองทัพอากาศ แม้จะได้รับการปรับปรุงใหม่แต่โครงสร้างอากาศยานก็เกือบ60ปีเข้าไปแล้ว นับเป็นการปรับปรุงดัดแปลงที่คุ้มค่ามากอีกแบบหนึ่งที่กองทัพอากาศสามารถตอบโจทย์การใช้ภาษีประชาชนได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมา20กว่าปีที่เครื่องเข้าประจำการ จากระยะเวลาประจำการอย่างน้อยที่กำหนดได้25ปี ต้องรอดูอีก5ปีจะมีเครื่องอะไรที่จะมาทดแทนความสามารถที่BT-67มอบให้กองทัพอากาศได้หรือไม่



ปล.นอกจากกองทัพอากาศที่มีเครื่องBT-67 ประจำการแล้ว ยังมีกองทัพอากาศหลายประเทศที่ยังคงประจำการBT-67เช่น โบลีเวีย กัวเตมาลา หรือ โคลัมเบียที่มีการดัดแปลงเครื่องBT-67 ให้ติดตั้งปืนใหญ่อากาศใช้ในการสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดเป็นต้น


AC-47T กองทัพอากาศโคลัมเบีย

ที่มา

https://web.facebook.com/2511RACH/photos/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99-bt-67-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-c-47-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3/189274211405287/?_rdc=1&_rdr

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/96636


แปล เขียนและเรียบเรียงโดย: ณภัทร ยลละออ

ดู 1,095 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page