วันนี้(21 กุมภาพันธ์ 2562) เกิดเหตุ เมื่อเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130H หมายเลข 60109 ของกองทัพอากาศ ที่ทำภารกิจรับส่งคณะนายกรัฐมนตรีจากดอนเมืองไปตรวจราชการ ที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี และกระบี่ เกิดเหตุขัดข้องหลังจากขึ้นบินไปได้45นาที ทำให้ต้องนำเครื่องกลับมาลงที่กองบิน6 ดอนเมือง และนำเครื่องบินลำเลียงแบบC-295W ของกองทัพบก ขึ้นบินแทน โดยนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่า เครื่องบินลำเลียง C-130H นั้นเก่าแล้ว จำเป็นต้องมีงบประมาณในการจัดซื้อ
มันเก่าจริงๆหรือ?
“C-130 Hercules”เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี ผลิตโดยบริษัทLockheed (ปัจจุบันคือ Lockheed Martin) ประเทศสหรัฐ ซึ่งถูกผลิตออกมาในตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ซึ่งถูกใช้งานในกองทัพสหรัฐตั้งแต่สงครามเวียดนามมาจนถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลในปี2558 ระบุว่ามีการผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ ออกมาแล้วมากว่า2500ลำ ซึ่งถูกใช้งานทั้งทางกองทัพและพลเรือน ซึ่งในด้านกองทัพนั้นก็มีรุ่นย่อยออกมาหลายรุ่นเพื่อตอบสนองกับภารกิจต่างๆเช่น รุ่นลำเลียงพล รุ่นสงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือบางรุ่นก็มีการติดตั้งปืนใหญ่ ไว้สำหรับโจมตีภาคพื้นเป็นต้น
ในส่วนของกองทัพอากาศ ได้มีการจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules จำนวนทั้งหมด 12ลำ โดยเครื่องชุดแรกเข้าประจำการในปี2523 ,2526,2531,2533 และชุดสุดท้ายรับมอบในปี2535 โดยเครื่องC-130H ของกองทัพอากาศมีด้วยกัน2แบบ คือ รุ่นC-130H และ C-130H-30 ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ เครื่องC-130H-30 มีลำตัวเครื่องที่ยาวกว่ารุ่นC-130H ประมาณ 4.5 เมตร(C-130H มีความยาวที่12.19เมตร ส่วนC-130H-30 16.76เมตร )
ขุมพลังของเครื่องคือเครื่องยนต์ Allison T56-A-15 Turoboprops แรงขับ 4590แรม้า จำนวน4เครื่อง สามารถทำการบินได้แม้เครื่องยนต์จะดับไปข้างละตัวก็ตาม สามารถทำความเร็ว 592กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3800กิโลเมตร สามารถขึ้นลงได้ในทางวิ่งที่ขรุขระ และวิ่งลงในที่มีระยะทางที่สั้นได้ เครื่องสามารถรองรับผู้โดยสารได้94คน หรือทหารพลร่ม64นาย Pallet จำนวน6แผ่น หรือรถฮัมวี่2-3คัน ถ้าเป็นรุ่นC-130H-30 จะสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้128คน หรือทหารพลร่มได้92นาย Pallet จำนวน8แผ่น และเครื่องสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้สูงสุดถึง20000กิโลกรัม
คำถามที่ว่าเครื่องบินC-130Hที่เรามีนั่นเก่าหรือยัง?
โดยทั่วไปจะมีการปลดประจำการอากาศยานพวกนี้ เมื่อมีอยากการใช้งานได้40-50ปี ซึ่งC-130H ชุดแรกที่กองทัพอากาศได้รับมอบเมื่อปี2523นั้นจะมีอายุการใช้งานครบ 40ปี ในปี2563หรือ ปีหน้านี้เอง ซึ่งเครื่องบินก็เข้าเกณฑ์ที่ควรจะต้องปลดประจำการได้แล้ว ด้วยเรื่องของความปลอดภัยในการบิน แต่ใช่ว่าเมื่อถึงอายุแล้วก็ใช่ว่าจะปลดประจำการเลย หากเครื่องยังคงสามารถซ่อมบำรุงให้มีความพร้อมได้ ก็ยังคงสามารถใช้งานต่อไปได้เช่นกัน อย่างเช่นเครื่องC-47 Dakota ที่กองทัพอากาศรับมอบตั้งแต่ปี 2490 จนมาปลดประจำการในปี2538ก็มีอายุการใช้งานถึง48ปี
ปัจจุบัน เครื่องบินC-130H ทั้ง12ลำที่เรามีก็ถูกใช้งานในหลายภารกิจ เช่น การบินลำเลียงทางทหาร การสนับสนุนบรรเทาสาธารณภัยการับส่งบุคคลสำคัญ การช่วยด้านมนุษยธรรมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ถูกใช้งานหนักมากแบบหนึ่งของกองทัพอากาศ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศมีความสามารถดูแลรักษาเครื่องบินให้มีขีดความสามารถพร้อมใช้งานได้มาจนถึงปัจจุบัน
กองทัพอากาศเองก็ได้มีการปรับปรุงและซ่อมบำรุงเครื่องบินC-130H หลายครั้ง ทั้งการเปลี่ยนระบบห้องนักบินจากเดิมให้เป็นระบบแสดงผลผ่านหน้าจอ และการซ่อมบำรุงโครงสร้างระดับOverhoul แต่อย่างไรก็ตามรายงานล่าสุดกล่าวว่าโครงสร้างของเครื่องC-130H บางลำเหลือเพียงแค่ไม่เกิน5ปีเท่านั้น ก่อนที่จะอายุที่ควรจะปลดประจำการ ทำให้ในเพจทางการทหารหลายแหล่ง มีการพูดถึงโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ขึ้นมา
ในอนาคตอันใกล้กองทัพอากาศก็ต้องมีการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทนซึ่งการจัดหาเครื่องบินขนาดใหญ่แบบนี้ มีงบประมาณการจัดหาที่สูงมาก ยกตัวอย่างเช่นเครื่องบินลำเลียงตระกูล C-130รุ่นล่าสุด “C-130J Super Hercules” ซึ่งปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ประมาณ 120ล้านเหรียญ ซึ่งการจะจัดหา ให้ครบตามจำนวนเดิมนั้นต้องใช้งบประมาณในการจัดหาสูงถึง 1440ล้านเหรียญ หรือประมาณ 44928ล้านบาท หรือเครื่องบินอย่างA-400M ที่ราคาอยู่ที่ 153ล้านยูโรหรือ 173.5ล้านเหรียญ ซึ่งสมมุติว่ากองทัพอากาศจัดหาเพียง8ลำ ก็ต้องใช้งบประมาณ 1388ล้านเหรียญหรือ 43313 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณ เหล่านี้กองทัพอากาศไม่สามารถจ่ายครั้งเดียวได้ ต้องจัดหาเป็นชุดและมีงบผูกพันกว่าจะครบตามจำนวนที่กองทัพอากาศวางแผนไว้
เกือบ40ปีที่กองทัพอากาศใช้งานC-130H มานั้นถือว่าเป็นเครื่องบินที่สำคัญทั้งในงานราชการทหาร และการใช้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่างๆ ถึงจะมีการซ่อมบำรุงที่ดีแค่ไหนแต่แน่นอนว่า มันไม่ได้อยู่ยั่งยืนยงเครื่องต้องเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อันเห็นได้จากเหตุการณ์วันนี้หหากวันใดวันหนึ่งวันหนึ่งเราเกิดเสียอากาศยานไป มันไม่ใช่แค่การสูญเสียแค่เครื่อง แต่ยัแต่ยังรวมถึงบุคลากร
เกือบ40 ปีที่กองทัพอากาศใช้งานC-130H มานั้นถือว่าเป็นเครื่องบินที่สำคัญทั้งในงานราชการทหาร และการใช้ควมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่างๆ ถึงจะมีการซ่อมบำรุงที่ดีแค่ไหนแต่แน่นอนว่า มันไม่ได้อยู่ยั่งยืนยงเครื่องต้องเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อันเห็นได้จากเหตุการณ์วันนี้หหากวันใดวันหนึ่งวันหนึ่งเราเกิดเสียอากาศยานไป มันไม่ใช่แค่การสูญเสียแค่เครื่อง ยังรวมถึงบุคลากรอีกด้วย ซึ่งเราก็ไม่อยากให้มันเกิดเหตุแบบนั้นขึ้นเหมือนกันครับ
อ้างอิง
https://web.facebook.com/haiC130/posts/1029922830419053?_rdc=1&_rdr
https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2194694180589028&set=a.440635312661599&type=3&theater
https://en.wikipedia.org/wiki/Lockheed_C-130_Hercules
เรียบเรียง โดย ณภัทร ยลละออ
Comments