top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

DEFNET Military Old Cam เอากล้องเก่าไปเรือหลวงประแส (ลำที่ 2)

อัปเดตเมื่อ 28 ก.ค. 2564

DEFNET Military Old Cam เอากล้องเก่า ไป เรือหลวงประแส (ลำที่ 2)



***หมายเหตุ : ภาพถ่ายที่ประกอบบทความ เกิดขึ้นก่อนการระบาดCovid-19 ครั้งล่าสุด***


สวัสดีท่านผู้อ่าน วันนี้ DEFNET Military จะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ ปากน้ำประแส อ. แกลง จ. ระยอง ก็ต้องบอกก่อนว่า หนึ่งในทีมงานของ DEFNET Military อยู่ใน อ. แกลง จ. ระยอง นั่นเอง และทั้งนี้ก็ได้กำชับทีมงานท่านนั้นให้สวมแมสตลอดเวลา และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ครับ

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราจึงเรียกว่าเรือลำนี้ว่า เรือหลวงประแส (ลำที่ 2) นั่นก็เป็นเพราะว่า เรือหลวงประแสเคยมีลำแรกมาแล้วครับ

โดยเรือหลวงประแสลำแรก เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของอังกฤษที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จัดหามาจำนวน 2ลำ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2490 เรือหลวงประแสได้เข้าสู่สงครามเกาหลี พร้อมกับ เรือหลวงบางปะกง(ลำที่ 1) และเรือหลวงสีชัง (ลำที่ 1) และเรือเช่าสำหรับส่งทหารราบ ไปยังปูซานและเข้าร่วมกองเรือสหประชาชาติในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2493 แต่เพียงแค่ 2 เดือน เรือหลวงประแส (ลำที่ 1) ก็ประสบอุบัติเหตุเกยหาดในพื้นที้แหลมคิซามุน ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากถูกพายุหิมะพัดถล่ม แม้จะมีการช่วยเหลือและการกู้เรือจากทั้งทางเรือหลวงบางปะกง (ลำที่ 1) และเรือรบของสหรัฐฯ แต่ด้วยพายุหิมะที่พัดถล่มอย่างรุนแรงและเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ที่มาช่วยกู้ภัย ตกใส่สะพานเดินเรือ ทำให้เรือเสียหายหนักจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ จึงทำการทำลายเรือหลวงประแส (ลำที่1) ไป เหตุการณ์ครั้งนั้น มีทหารเรือเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 27 นายโดยเรือหลวงประแสลำแรก เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของอังกฤษที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จัดหามาจำนวน 2ลำ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2490 เรือหลวงประแสได้เข้าสู่สงครามเกาหลี พร้อมกับ เรือหลวงบางปะกง (ลำที่1) และเรือหลวงสีชัง (ลำที่1) และเรือเช่าสำหรับส่งทหารราบ ไปยังปูซานและเข้าร่วมกองเรือสหประชาชาติในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2493 แต่เพียงแค่ 2 เดือน เรือหลวงประแส (ลำที่ 1) ก็ประสบอุบัติเหตุเกยหาดในพื้นที้แหลมคิซามุน ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากถูกพายุหิมะพัดถล่ม แม้จะมีการช่วยเหลือและการกู้เรือจากทั้งทางเรือหลวงบางปะกง (ลำที่ 1) และเรือรบของสหรัฐฯ แต่ด้วยพายุหิมะที่พัดถล่มอย่างรุนแรงและเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ที่มาช่วยกู้ภัย ตกใส่สะพานเดินเรือ ทำให้เรือเสียหายหนักจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ จึงทำการทำลายเรือหลวงประแส (ลำที่1) ไป เหตุการณ์ครั้งนั้น มีทหารเรือเสียชีวิต 2นาย บาดเจ็บ 27นาย

จากเหตุการณ์ที่เรือหลวงประแส (ลำที่1) เกยตื้นและถูกทำลายลง เลยกลายเป็นว่า เรือรบของกองทัพเรือไทยที่ใช้รบในสงครามเกาหลีเพียงลำเดียว เนื่องจากเรือหลวงสีชังเป็นเพียงเรื่องส่งกำลังบำรุงไม่ได้มีขีดความสามารถในการรบ ส่วนเรือเอกชนเป็นเพียงเรือที่ใช้ส่งกำลังพลเท่านั้น ทำให้รัฐบาลได้เจรจากับทางสหรัฐฯ เพื่อขอซื้อเรือรบ ซึ่งทางสหรัฐฯยินดีที่จะจายให้ตามการช่วยเหลือทางการทหาร โดยสหรัฐฯได้ขายเรือฟริเกตชั้นTacoma อันเป็นเรือรบสมัยช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 2 ลำ คือ USS Glendale กับ USS Gallup โดยไทยได้ขึ้นระวางและเข้าประจำการในปีพ.ศ.2494 โดยได้รับนามพระราชทาน คือ เรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 2) และ เรือหลวงประเเส (ลำที่ 2) ตามลำดับ แต่ทั้งนี้เรือไม่ได้เดินทางกลับไทยเลย แต่ยังคงทำหน้าที่ในกองเรือสหประชาชาติในสงครามเกาหลีต่อไปจนถึงปีพ.ศ.2497 จึงเดินทางกลับประเทศไทย และเข้าประจำการในกองเรือปราบเรือดำน้ำ ซึ่งปัจจุบันคือกองเรือฟริเกตที่ 1

เรือหลวงประแส (ลำที่ 2) และเรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 2) ก็ถูกใช้งานเรื่อยมา ผ่านการฝึกและการทำภารกิจเพื่อรักษาอธิปไตยทางทะเลของไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 หลังจากประจำการมา 43 ปี กองทัพเรือก็ได้ลดบทบาทของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ไปใช้งานเป็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 เรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ก็ได้ปลดประจำการจากกองทัพเรือไทย รวมอายุเรือ 56 ปี โดยมีระยะเวลาประจำการในกองทัพเรือ 50 ปี แต่แล้ว ในปี พ.ศ. 2546 จ. ระยองได้ขอซื้อเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เพื่อนำมาจัดแสดง ต. ปากน้ำประแส อ. แกลง จ. ระยอง ซึ่งได้มีการเคลื่อนเรือออกจากสัตหีบ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 และนำเข้าที่จัดแสดงถาวร เมื่อ 26 ธันวาคม 2546 นับเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เพื่อทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์และสถานที่ท่องเที่ยวอันมีคุณค่า และน่าสนใจของจังหวัดระยองต่อไปครับ



ข้อมูลของเรือ

วางกระดูกงู 18 ส.ค. 2486 -ปล่อยเรือลงน้ำ 17 ก.ย. 2486 -เข้าประจำการ(ในกองทัพเรือสหรัฐ) 29 ก.พ. 2487 -เข้าประจำการ(ในกองทัพเรือไทย) 29 ต.ค. 2494 -ปลดระวางจากกองทัพเรือไทย 22 มิ.ย. 2543

คุณลักษณะทั่วไป -ความยาวตลอดลำเรือ: 92.80 เมตร -ระวางขับน้ำ -ปกติ 1,430 ตัน -เต็มที่ 2,277 ตัน -ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต หรือ 28 กม/ชม -ความเร็วสูงสุด 20 นอต หรือ 37กม/ชม. -ระยะปฏิบัติการไกลสุด 7,383 ไมล์ทะเล ที่ ความเร็ว 15 นอต -กำลังพลประจำเรือ 216 นาย


ระบบอาวุธ

-ปืนเรือ 76/50 มม. จำนวน 3 กระบอก ประกอบด้วยปืนหน้าเรือ 2 กระบอก และท้ายเรือ 1 กระบอก


-ปืนกลขนาด 20 มม. แบบ MGNECH Mk.2 จำนวน 9 กระบอก


- ปืนใหญ่กลขนาดแบบ 40 มม. แบบ Bofor 40/60 จำนวน 2 กระบอก - เครื่องยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ (Hedgehog) แบบ MK 11 MOD จำนวน 2 แท่นยิงบริเวณหัวเรือ - ท่อยิงตอร์ปิโด SURFACE LIESSEL MK.32 MOD.0 จำนวน 2 แท่นยิง - แท่นยิงระเบิดลึกแบบ MK.6 MOD - 1 จำนวน 2แท่นยิง



ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย

- เครื่องจักรไอน้ำ 4 สูบ สร้างโดย JOSHUA HENDY IRON WORKS จำนวน 2 เครื่อง

- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกังหันไอน้ำ ของ WISTING HOUSE จำนวน 2 เครื่อง

- ใบจักร จำนวน 2 เพลาใบจักร


อนุสรณ์สถานเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00-18:00 น.


เกร็ดความรู้

1. ก่อนหน้าที่สหรัฐฯ จะขายเรือหลวงประแสให้ไทย เรือเคยได้ประจำการในกองเรือสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. 2488 ก่อนที่สหรัฐฯ จะเจรจาขอคืนในปี พ.ศ. 2492

2. เรือหลวงท่าจีน (ลำที่ 2) อันเป็นเรือชั้นเดียวกันกับเรือหลวงประแส (ลำที่ 2) ปัจจุบันถูกจัดแสดงที่โรงเรียนเตรียมทหาร จ. นครนายก

ดู 74 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page