DEFNET Old Cam
เอากล้องเก่า ไปถ่าย เรือฟริเกตสมรรถนะสูง
สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้
ทีมงานของDEFNET Military เดินทางไปยังท่าเรือจุกเสม็ด สัตหีบ ชลบุรี ซึ่งการเดินทางนั้นเป็นช่วงก่อนการระบาดของCovid-19 ระลอกที่2 ความตั้งใจแรกคือการไปเที่ยวชมเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่จอดอยู่กลางอ่าวจุกเสม็ด แต่ ดันไปผิดที่ และต้องมีการจองล่วงหน้า ก็ได้รูปเรือที่จอดที่จุกเสม็ดมาแทนครับ
ภาพนี้คือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (471) จอดอยู่หน้าเรือหลวงจักรีนฤเบศร กล้องที่ใช้ถ่ายเป็นกล้องฟิล์ม Olympus L-2 ส่วนฟิล์มที่ใช้เป็นตัว Fuji C200
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช(471) เป็นเรือรบประเภทเเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่มีความทันสมัยมากที่สุด ณ ตอนนี้ของกองทัพเรือ โดยได้มีการทำสัญญาจัดหากับอู่ต่อเรือ Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) มูลค่าประมาณ 15,000ล้านบาท ในปี 2556 มีการวางกระดูกงูเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เรือทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อ23 มกราคม พ.ศ. 2560. และเข้าประจำการเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้านี้เรือได้รับชื่อพระราชทานว่า "เรือหลวงท่าจีน" แต่หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรือก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อ โดยได้รับพระราชทานชื่อเรือใหม่ว่า "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"
ตามแผนดารจัดหาของกองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือในชั้นนี้จำนวน 2ลำ โดยลำที่2 กองทัพเรือวางแผนที่จะต่อในประเทศ แต่ด้วยงบประมาณที่สูง และความต้องการเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยทำให้โครงการเรือฟริเกตลำที่ 2 ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช มีการออกแบบตัวเลือกเพื่อลดการตรวจจจับจากเรดาร์ และยังมีการลดการตรวจจับจากอินฟาเรด และการลดเสียงที่เกิดขึ้นใต้น้ำเพื่อให้เรือดำน้ำตรวจจับได้ยากขึ้นและเรือยังมีระบบที่สามารถปฏิบัติการภายใต้สงคราม นิวเคลียร์ ชีวะ เคมีได้อีกด้วย
ข้อมูลพอสังเขป
-ระหว่างขับน้ำสูงสุด : 3700 ตัน
-ยาว : 124.1 เมตร
-กว้าง : 8 เมตร
-สูง : 14เมตร
เครื่องยนต์
- เป็นระบบ Combined diesel and gas หรือ CODAG ประกอบด้วย
- เครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V1163 M94 ขนาด 8,000 แรงม้า จำนวน 2 เครื่องยนต์
- เครื่องยนต์ General Electric LM2500 gas turbine ขนาด 29,000 แรงม้า จำนวน 1 เครื่องยนต์
ระบบเรดาร์และเซ็นเซอร์
-เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Saab Sea Giraffe 4A AESA จำนวน 1 ระบบ
-เรดารร์ตรวจการณ์ Saab SEA GIRAFFE AMB จำนวน 1 ระบบ
-เรดาร์ควบคุมการยิง Saab CEROS 200 จำนวน 2 ระบบ
-เรดาร์เดินเรือแบบ Wartsila จำนวน 2 ระบบ
-ระบบควบคุมการยิง Saab EOS 500 Electro Optical จำนวน 1 ระบบ
- ระบบอำนวจการรบ Saab 9LV Mk4
- โซนาร์หัวเรือ แบบ Atlas ASO DSQS-24 จำนวน 1 ระบบ
- โซนาร์ลากท้าย แบบAtlas ELEKTRONIK ACTAS จำนวน 1 ระบบ
- ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Harris ES-3601 Radar-ESM จำนวน 1 ระบบ
-ระบบทสื่อสารแบบ R&F DDF-255 Communication-ESM จำนวน 1 ระบบ
ระบบเป้าลวง
-ระบบเป้าลวงตอร์ปิโด CANTO-V
-ระบบเป่าลวงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Mk 234 Nulka
- ระบบรบกวนสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (ECM)
ระบบอาวุธ
-ปืนเรือขนาด 76มม. แบบ Otomelara 76/62 Super Rapid ซึ่งได้มีการออกแบบป้อมให้ลดการตรวจจับด้วย จำนวน 1 กระบอก
-ปืนรองขนาด 30มม. แบบ MSI Defense DS30M Mk 2 จำวนน 2 กระบอก
-ระบบป้องกันตัวเองระยะประชิด Mk.15 Phalanx Block-1B จำนวน 1ระบบ
-อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ RGM-84L Harpoon หรือ Harpoon Block II จำนวน 8 นัด
- ท่อยิงแนวดิ่งแบบ Mk.41 Tactical Module จำนวน 8 ท่อยิง สามารถรองรับ
- อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านอากาศยาน แบบ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile (ESSM) สูงสุด 32 นัด (ท่อยิงละ 4 นัด)
- อาวุธปล่อยนำวิถีต้อต้านเรือดำน้ำ แบบ RUM-139C VL ASROC จำนวน 8 นัด
-ท่อยิงตอร์ปิโด Mark 32 จำนวน 2 ระบบ
-ดาดฟ้าบินและโรงจอดเฮลิคอปเตอร์ รองรับเฮลิคอปเตอร์แบบS-70B จำนวน 1 ลำ
Comments