top of page

DEFNET Old Camเอากล้องฟิล์ม ไปถ่าย F-86L

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

DEFNET Old Cam เอากล้องฟิล์ม ไปถ่าย F-86L

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ยังอยู่กับภาพที่ถ่ายจากพิพิธภัณพ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง ด้วยกล้องฟิล์ม Olympus L-2 และฟิล์ม Fuji X-Tra 400

วันนี้ขอเสนอเครื่องบินขับไล่แบบหนึ่งของกองทัพอากาศไทย นั้นคือ North American F-86L Sabre Dog


North American F-86L Sabre Dog เป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นที่พัฒนาต่อจากเครื่องบินขับไล่แบบ North American F-86 Sabre ที่เป็นอากาศยานหลักของกองทัพอากาศสหรัฐฯในสงครามเกาหลี โดยความสามารถของ F-86L ได้รับมีการปรับปรุงลำตัวให้ยาวขึ้นเพื่อรับรองการติดตั้ง เรดาร์ค้นหาเป้าหมายแบบ AN/APG-36 ระยะตรวจจับประมาณ 50กม. และติดตั้งเครื่องยนต์ที่มีระบบสันดาปท้าย พร้อมระบบสนับสนุนทางอากาศและภาคพื้นที่ทันสมัยในยุคนั้น

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-86L จำนวน 17 ลำจากความช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐฯในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2505 เข้ามาประจำการ ณ ฝูงบิน 12 กองบิน 1 ดอนเมือง และได้โอนเครื่องบินแบบ F-86F ที่มีประจำการอยู่ไปยังฝูงบิน 43 กองบิน 4 ตาคลี ก่อนจะได้รับมอบอีก 3 ลำ ในปีพ.ศ.2506 และ 2509 รวมทั้งหมด 20 ลำ

F-86L นับเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่มีการติดตั้งเรดาร์ เพื่อใช้ทำการรบ และนับเป็นเครื่องบินที่ทันสมัยมากที่สุดที่กองทัพอากาศมีในยุคนั้น แต่เครื่องก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเมื่อมาอยู่กับกองทัพอากาศไทย

อย่างแรก เรื่องของระบบอาวุธของเครื่องบินขับไล่ มันมีแปลกกว่าเครื่องบินขับไล่ในยุคนั้นที่ส่วนใหญ่อาวุธหลักจะเป็น "ปืน" นั้นคือ จรวดแบบไม่นำวิถีขนาด 2.75นิ้ว ซึ่งจะมีการติดตั้งที่ช่องเก็บใต้ลำตัวเครื่องหลังห้องนักบินจำนวน 24 นัด และสามารถติดตั้งกระเปาะเพิ่มที่ใต้ปีกสำหรับเพิ่มอำนาจการยิง ไม่มีการติดตั้งปืน อันนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ทางสหรัฐฯมองการใช้คือการใช้จรวดพวกนี้ที่มีอำนาจการทำลายสูงกว่าปืนกลอากาศหรือปืนใหญ่อากาศ ยิงทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ช้ากว่าและไม่มีความคล่องตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว จรวดนั้นมีความแม่นยำตำ่และ การใช้งานในแต่ละครั้งลดความคล่องตัว ดังนั้นกองทัพอากาศไทยจึงใช้จรวดนำวิถีแบบ AIM-9B Sidewinder ซึ่งเป็นอาวุธที่ทันสมัยที่สุดที่กองทัพอากาศไทยเป็นอาวุธหลักมากกว่า

ต่อมา คือ ระบบบนเครื่องF-86L เพราะถึงจะเป็นเครื่องเก่าที่สหรัฐฯมอบให้ แต่ก็เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากสำหรับกองทัพอากาศไทย ทำให้การดูแลมีความซับซ้อนและยุ่งยาก รวมถึงในตอนนั้นเครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทยส่วนใหญ่ยังต้องจอดตากแดดตากฝนบนลานจอด ภูมิสภาพอากาศบ้านเรานี้เองทำให้เกิดปัญหากับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ F-86L จนต้องมีการซ่อมอยู่บ่อยครั้ง


จนในที่สุดปีพ.ศ. 2510 กองทัพอากาศจึงตัดสินใจปลด F-86L ทั้งหมดหลังจากประจำการมาได้เพียง 4 ปี พร้อมได้ยุบฝูงบิน 12 ลงไปด้วย โดยเครื่องส่วนใหญ่ได้ส่งคืนสหรัฐฯ เหลือเพียงเครื่องไม่กี่ลำที่ทางกองทัพอากาศได้ขอไว้จัดแสดงเป็นประวัติศาตร์ทางการบินของไทย

ปัจจุบันที่เราจะพบ F-86L ได้ที่พิพิธภัณพ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง และบริเวณสี่แยกของ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ดอนเมือง ครับ

ข้อมูลของเครื่อง North American F-86L Sabre Dog - กางปีก 11.31 เมตร - ยาว 12.27 เมตร - สูง 4.57 เมตร -เครื่องยนต์ General Electric J47-GE-17B Turbojet จำนวน 1 เครื่อง -ความเร็วสูงสุด 1,151 กม./ชม. -ระยะบินไกล 531 กม. -อาวุธ -จรวด 2.75 นิ้ว แบบ Mighty Mouse FFAR rockets จำนวน 24 นัด -จรวดนำวิถี AIM-9B Sidewinder จำนวน 2 นัด

ข้อมูลอ้างอิง - บทความ Sabre Dog STORY โดย FS.1 ASI S. ตีพิมพ์ใน นิตยสาร แทงโก้ ฉบับ 233 ประจำเดือน กุมพาพันธ์ 2555 - https://en.wikipedia.org/wiki/North_American_F-86D_Sabre (หมายเหตุเนื่องจาก F-86L เป็นการต่อยอดจาก F-86D ดังนั้นต่างชาติจึงจัดอยู่ในรุ่นDครับ)

(หมายเหตุ) ภาพนี้ได้ถ่ายไว้ก่อนการระบาดของCOVID-19 ระลอกที่ 2 หรือก่อนเดือน ธันวาคม 2563

ดู 42 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย

#DEFNET_News DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทำพิธีส่งมอบยานเกราะล้อยางแบบ VN-1...

Comments


bottom of page