F-111 Aardvark เป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดที่สำคัญแบบหนึ่งของกองทัพอากาศสหรัฐในช่วงสงครามเย็น ตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมา เครื่องรุ่นนี้ตอบสนองทุกข้อกำหนดของกองทัพอากาศสหรัฐ สำหรับแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่สามารถลู่ปีกได้และข้อกำหนดของกองทัพเรือสหรัฐ สำหรับเครื่องบินสกัดกั้นระยะไกล
บทบาทเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด หมายความว่ามันจำเป็นต้องมีเพดานบินต่ำและคล่องตัวรวดเร็วในการเจาะแนวป้องกันทางอากาศของข้าศึก เป็นผลให้มันได้รับการติดตั้งด้วยเรดาร์ที่มีความทันสมัยในการบินเกาะภูมิประเทศ ปีกที่สามารถลู่หลังได้และมีช่องเก็บระเบิดขนาดใหญ่ ทำให้ความคล่องแคล่วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมา ชาตินาโต้ก็นำการออกแบบมากมายจาก F-111 มาพัฒนาเป็นเช่น Panavia Tornado
F-111 ลำแรกได้รับการทดสอบในการรบในเวียดนามระหว่างปี 1968 จนกระทั่ง Operation Linebacker ที่F-111เข้าปฏิบัติการ ปรากฏว่ามันจะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่โดนยิงตกน้อยที่สุดในการปฏิบัติการของกองทัพอากาศสหรัฐ โดยการสูญเสียจากเครื่องบินทั้งหมดที่ถูกยิงตก 134ลำ(ที่สหรัฐบันทึก)มีF-111ถูกยิงตกเพียง 2ลำ
อย่างไรก็ตาม F-111 ที่ออกแบบเพื่อใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ถูกปฏิเสธจากกองทัพเรือสหรัฐในการจัดหาเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นระยะไกล แต่การออกแบบของมันก็ช่วยให้ F-14 Tomcat มีความคล่องแคล่วและสมบูรณ์มากขึ้น แต่ทางกองทัพอากาศสหรัฐพอใจกับประสิทธิภาพเครื่องบินรุ่นนี้และยังคงอัพเกรด F-111 ต่อไป อย่างF-111D ได้มีการปรับปรุงด้วย "glass cockpit" ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบรุ่นแรกๆที่เป็นระบบเเสดงผลหลักแบบจอ แทนที่จะเป็นเข็มวัดเพื่อแสดงข้อมูลแบบเดิม นอกจากนี้ยังได้รับการติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมายแบบ AN/AVQ-26 Pave Tack ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการออกแบบด้วยเลเซอร์เข้ากับกล้อง IR มันทำให้เครื่องบินสามารถกำหนดเป้าหมายด้วยตนเองเพื่อการโจมตีด้วยระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ซึ่งมีการมาใช้ช่วงปฏิบัติการพายุทะเลทรายเพื่อทำลายรถถังอย่างแม่นยำ
F-111 ถูกแทนที่ด้วย F-15E Strike Eagle ที่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดได้เช่นกัน มันสามารถใช้การกำหนดเป้าหมายได้ มีGlass cockpitที่ทันสมัยและ สามารถทะลวงแนวป้องกันทางอากาศในเพดานบินต่ำได้ Strike Eagle ยังเหนือกว่าด้วยความสามารถในการรบกับเครื่องบินข้าศึกได้ด้วยตัวเอง เนื่องด้วยการออกแบบต่อยอดจากเครื่องบินขับไล่ครองอากาศแบบ F-15 Eagle ในขณะที่F-111 ทำได้ลำบากกว่าและไม่เหมาะกับการรบกับเครื่องบินขับไล่ที่คล่องตัวมากกว่า แต่ F-111 ยังมีข้อได้เปรียบ ในเรื่องของขนาดที่ใหญ่ ซึ่งทำให้ F-111 นั้นสามารถปฏิบัติภารกิจได้ในระยะทางที่มากกว่า F-15E ที่ใช้ถังเชื้อเพลิงภายนอกถึงเกือบเท่าตัว ในขณะที่ว่าเครื่องบินที่มีระยะทางสั้นกว่านั้นมีค่าบำรุงรักษาถูกกว่า แต่การใช้งานเครื่องบิน F-111 สามารถครอบคลุมการระยะโจมตีที่อยู่ระหว่างเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีและเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ได้
อย่างไรก็ตาม F-111 ก็ถูกปลดประจำการไปจากองทัพอากาศสหรัฐในปี 1996 แต่ก็มีอีกหนึ่งประเทศที่ยังคงใช้งานF-111 ต่อนั้นคือกองทัพอากาศออสเตรเลียจนกระทั่ง ปี2010 ตำนานเครื่องบินขับไล่ปีกลู่ขนาดใหญ่ของF-111 ก็จบลงเมื่อกองทัพอากาศออสเตรเลียปลดประจำการ
ที่มา
แปล-เรียบเรืยงโดย ณภัทร ยลละออ
Comments