top of page

JF-17 กับโอกาสในการขายในอนาคต

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

PAC JF-17 / CAC FC-1 Xiaolong ของกองทัพอากาศปากีสถาน | Credit: Shimin Gu

เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder (จีนใช้ชื่อว่า CAC FC-1 Xiaolong) นับเป็นเครื่องบินขับไล่อีกแบบ ที่ได้รับความสนใจ ในหน้าที่เครื่องบินขับไล่เบา ที่มีขีดความสามารถแบบอเนกประสงค์ ซึ่งเป็นการพัฒนาระหว่าง Pakistan Aeronautical Complex (PAC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบินของรัฐบาลปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Corporation (CAC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบินของรัฐบาลจีน ซึ่งปัจจุบันได้ผลิตออกมาแล้ว 2 รุ่น คือ JF-17 Block I (ทยอยปรับปรุงเป็น JF-17 Blcok II) และ JF-17 Block II (มาตรฐานปัจจุบัน) ที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาคือ JF-17B รุ่นที่นั่งคู่ (ตัวต้นแบบผลิตออกมาแล้ว) และที่น่าจับตามองคือ JF-17 Block III (มาตรฐานในอนาคต) สำหรับมาตรฐาน JF-17 Block III มีความน่าสนใจตรงที่ การปรับปรุงระบบเอวิโอนิกส์ใหม่ และติดตั้งเรดาร์ KLJ-7A ซึ่งเป็นเรดาร์แบบ Active Electronically-Scanned Array (AESA) ที่พัฒนาโดยสถาบัน Nanjing Research Institute of Electronics Technology (NRIET) รวมถึงหมวกนักบินแบบ Helmet-Mounted Display and Sight (HMD/S)


ปัจจุบันนอกจาก กองทัพอากาศปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตแล้ว ก็มีกองทัพอากาศพม่า ประจำการในชื่อ CAC FC-1M Xiaolong รุ่นที่ผลิตในประเทศจีน และกองทัพอากาศไนจีเรีย ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นผลิตที่ประเทศปากีสถาน

CAC FC-1M Xiaolong ของกองทัพอากาศพม่า

หลายครั้งที่ เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder นั้นได้ออกไปแสดงตัว และสาธิตประสิทธิภาพตามงานต่างๆ จนทำให้มีกองทัพอากาศหลายๆประเทศ ให้ความสนใจที่จะจัดหานำเข้าประจำการ ซึ่งปัจจุบันมีประเทศที่สนใจจะจัดหาจำนวน 3 ประเทศ


ประเทศแรกคือ อียิปต์ โดยที่ กองทัพอากาศอียิปต์ ให้ความสนใจ เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder Block III ตั้งแต่งาน EDEX 2018 และที่การประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ Aviation Industry Corporation of China (AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบอนของรัฐบาลจีน ที่งาน Zhuhai Air Show เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ความจริง กองทัพอากาศอียิปต์ สนใจจะจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 แล้ว แต่ก็ถูกระงับไป เพราะนักวิเคราะห์ให้เหตุผลที่ว่า กองทัพอากาศอียิปต์ สามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าอย่าง เครื่องบินขับไล้ Eurofighter Typhoon Tranche 3A หรือเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15E Advanced Strike Eagle ได้ แต่เมื่อเร็วๆนี้ เนื่องจากเกิดปัญหาทางการเงินทำให้ กองทัพอากาศอียิปต์ กลับมาพิจารณา เครื่องบินขับไล่ CAC/PAC JF-17 Thunder Block III อีกครั้ง ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องของขีดความสามารถที่ดี เมื่อเทียบค่าปฏิบัติการณ์ในแต่หละเที่ยวที่น้อย ประเทศที่ 2 อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งกับชาติมหาอำนาจตะวันตก อย่างมาก นั้นคือ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน หรือ อิหร่าน ซึ่งกำลังพิจารณาจัดหา เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder ซึ่งทาง กระทรวงกลาโหมอิหร่าน ได้มีการเจรจากับกระทรวงกลาโหมปากีสถาน เพื่อจัดหา ในงาน IDEAS 2018 ทางกระทรวงกลาโหมอิหร่านกำลังพยายามพัฒนา กองทัพอากาศอิหร่าน ให้ทันสมัยมากขึ้น และจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ๆเพื่อทดแทนยุทโธปกรณ์ที่ประจำการมาตั้งปต่ก่อนการปฏิวัติอิสลาม โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงกลาโหมอิหร่าน มีการเจรจาจัดหา เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM Flanker-H กับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย แต่ถูกแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจตะวันตก (โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล) ทำให้ต้องต้องยกเลิกการจัดหาไป อีกหนึ่งชาติที่อยู่ใกล้บ้านเราก็คือ มาเลเซีย ซึ่ง กองทัพอากาศมาเลเซีย แสดงความสนใจจะจัดหา เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder ในงาน IDEAS 2018 โดยคณะผู้แทนกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย เข้าเยี่ยมชม และมีการเจรจาเบื้องต้น กับกระทรวงกลาโหมปากีสถานแล้ว ส่วนความน่าสนใจก็คือ กองทัพอากาศมาเลเซีย มีเครื่องยนต์ Turbofan Klimov RD-33 ของเครื่องบินขับไล่ Mikoyan Gurevich MiG-29N (S/UB) Fulcrum-C และมีระบบสนับสนุนการซ่อมบำรุง ที่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องยนต์ของ เครื่องบินขับไล่ PAC JF-17 Thunder อยู่แล้ว สิ่งนี้จะช่วยลดต้นทุนของการใช้งาน สำหรับ กองทัพอากาศมาเลเซีย แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้การจัดหา อาจจะไม่เกิดขึ้น เช่นความตึงเครียดระหว่างจีนและมาเลเซีย


ที่มา : https://www.globalvillagespace.com/jf17-takes-off-malaysia-iran-egypt-interested-in-block-3/?fbclid=IwAR0r_9T53wg_i_B__0MJL7TftPCegdKUUxcwtxIgdl4jlkrOEnjOKVoFzgo


เขียน เรียบเรียงและแปลโดย : ณภัทร ยลละออ

ดู 1,384 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page