top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

3 เครื่องบินกันชิฟของกองทัพอากาศไทย

อัปเดตเมื่อ 30 มิ.ย. 2562



การรบที่ผ่านมาของไทยต้องมีการบศึกจากหลากหลายด้าน โดยเฉพาะศึกกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในช่วงสงครามเย็น ซึ่งหนึ่งในกำลังทางอากาศที่เข้าทำการปราบปราม คือ เครื่องบินกันชิฟ


กันชิฟ(Gunship) เป็นอากาศยานยานที่ติดตั้งปืนเพื่อภารกิจโจมตีภาคพื้นโดยมีการเริ่มใช้รูปแบบอากาศยานนี้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 แล้ว แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องGunship ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่จะติดตั้งให้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดหรือเครื่องบินโจมตี ก็เปลี่ยนมาเป็นเครื่องบินลำเลียงหรือเฮลิคอปเตอร์แทน


โดยกองทัพอากาศได้มีการจัดหาเครื่องบินกันชิฟ เข้าประจำการในการปราบปราม ผกค. และรักษาอธิปไตยด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่....

 

"เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบที่ ๒ (บ.จล.๒)" AC-47 Spooky


AC-47 Spooky ฝูงบิน62 กองบิน6

จุดเริ่มต้นของเครื่องบินกันชิฟของกองทัพอากาศ เกิดจากการเริ่มใช้ความรุนแรงของฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในปี 2508 ซึ่งกองทัพอากาศไทยมีการใช้งานเครื่องบินแบบ T-6 texan และ T-28 Trojan ในการปฏิบัติภารกิจ แต่ขีดความสามารถของเครื่องบินมีจำกัดและ ยุทธวิธีของฝ่ายตรงข้ามที่ใช้การโจมตีในเวลากลางคืนหรือซุ่มโจมตีในภูมิประเทศ ทำให้การโจมตีจากเครื่องบินทั้ง2แบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ


ซึ่งเวลาเดียวกันสหรัฐฯที่เข้ามาทำสงครามในประเทศเวียดนามก็ได้มีการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงC-47 โดยการติดตั้งปืนกลขนาด 7.62 มม. และเรียกมันว่า AC-47 Spooky ซึ่งเครื่องบินสามารถตอบสนองกับการรบที่ไทยกำลังเจอได้มีดี ทำให้กองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องC-47 Dakota จำนวน 2 ลำ ไปดัดแปลงที่ฐานทัพสหรัฐฯในเวียดนามใต้เมื่อเดือนกันยายน 2510 และได้รับมอบในเดือน พฤศจิกายน 2510 กำหนดชื่อเป็น "เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบที่ ๒ (บ.จล.๒)" เข้าประจำการในฝูงบิน 62 กองบิน6


AC-47 Spooky

แต่เพียงเดือนเดียว ธันวาคม 2510 ไทยก็เสียเครื่องบิน Spooky จากอุบัติเหตุที่นครพนม ทำให้ไทยเหลือเครื่องบินSpooky เพียงแค่ลำเลียง แต่หลังจากนั้น 1เดือน ไทยก็มีเครื่องบินSpooky ลำใหม่เข้ามาประจำการซึ่งไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเครื่องลำนี้มีความเป็นมาอย่างไร


อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เข้าประจำการจนถึงปี 2515 กองทัพอากาศไทยก็มีSpooky เพียงแค่2ลำเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอกับการทำภารกิจ ทางสหรัฐฯก็ไม่ได้มอบเครื่องSpookyให้เพิ่มเนื่องด้วยการรบในเวียดนามและลาวรุนแรงมากขึ้น สหรัฐฯจึงส่งเครื่องSpookyให้เวียดนามใต้และลาว แทน จึงทำให้กองทัพอากาศตัดสินใจที่จะดัดแปลงเครื่องบินC-47 ให้กลายเป็นSpooky เพื่อให้เพียงพอกับการใช้งาน ต่อมาก็ได้มีการรับมอบSpooky จากสหรัฐเพิ่มเติ่มอีกทำให้กองทัพอากาศไทย มีSpooky ทั้งหมด 14ลำ เพียงพอกับการทำภารกิจการรบ


AC-47 Spooky รุ่นที่ติดตั้งกระเปาะปืน SUU-11A/A ขนาด 7.62 มม.

ช่วงเริ่มต้นSpooky 2ลำแรกที่ดัดแปลงมีการติดตั้งกระเปาะปืนกล SUU-11A/A ขนาด7.62x51มม. จำนวน2กระเปาะข้างของเครื่อง และในลำต่อๆมา ก็เพิ่มเป็น 3กระเปาะ แต่ละกระเปาะมีกระสุน2000นัด ซึ่งปืนมีอัตรายิงที่สูงมาก แต่ปัญหาของปืนรุ่นนี้คือกระสุนมีการเจาะทะลวงที่น้อย ทำให้ข้าศึกสามารถหลบในกำบังได้ ทำให้ช่วงปี 2518 กองทัพอากาศไทยได้นำปืน M-3 ขนาด 12.7มม. จำนวน 2 กระบอก และปืนกลMadsenขนาด 20 มม. มีติดตั้งบนSpooky บางลำ เพื่อเพิ่มอำนาจการยิง แต่ปัญหาใหม่ก็ตามมาคือ แรงสะท้อนจากการยิงปืนทั้ง2แบบที่ทำให้เครื่องเสียกายหรือเสียการควบคุมได้


ปี2520 กองทัพอากาศได้โอนเครื่องบินSpooky ทั้งหมดจากฝูงบิน 62 ไปยังฝูงบิน 42 ตาคลี (ต่อมาเปลี่ยนฝูงบิน402) และได้มีการเปลี่ยนแปลงปืนขนาด 20มม. จากMadsen เป็น M-197 3ลำกล้องเข้ามาทดแทน

AC-47 Spooky รุ่นที่ได้รับการิดตั้งปืนขนาด 12.7มม. และ 20มม.

หลังจากระยะเวลาที่ไทยต่อสู้กับคอมมิวนิสต์มาอย่างยาวนาน ภัยคุกคามด้านนี้ก็ค่อยๆลดลงพร้อมทั้งการมาของเครื่องบินกันชิฟรุ่นใหม่ ทำให้กองทัพอากาศไทยถอดปืนออกจาก Spooky แล้วโอนเครื่องบินเป็นเครื่องบินลำเลียงC-47 ในฝูงบิน 603 กองบิน6 แต่มีอยู่4ลำที่กองทัพอากาศไทยยังคงไว้เป็นSpooky พร้อมกับโอนให้ฝูงบินใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นคือ ฝูงบิน461 พิษณุโลก ในปี 2527 ก่อนที่ กุมภาพันธ์ 2529 กองทัพอากาศไทยก็ได้ถอดปืนออกจากเครื่อง Spooky และส่งคืนฝูงบิน603 ปิดตำนาน Spooky ของไทย


 

"เครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่๒(บ.จธ.๒)" AU-23A Peacemaker


ในช่วงสงครามการปราบ ผกค. นี้คือเครื่องบินกันชิฟอีกหนึ่งที่ถูกใช้งานในกองทัพอากาศไทย นั้นคือ AU-23A Peacemaker โดยสหรัฐได้มอบเครื่องบินรุ่นนี้ให้กองทัพอากาศไทยในปี2515 ในโครงการ Peace Coin จำนวน 13 ลำ เข้าประจำการในฝูงบิน22 กองบิน2(ต่อมาเปลี่ยนเป็นฝูงบิน202) โดยกำหนดชื่อ"เครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่๒(บ.จธ.๒)" ซึ่งภารกิจช่วงแรกคือการบินฝึกนักบินให้มีความพร้อม ก่อนจะจะกระจายกำลังออกไปยังฐานบินต่างๆเพื่อทำภารกิจปราบปราม ผกค.



โดยภารกิจของ Peacemaker ไม่เพียงแต่การโจมตีภาคพื้น แต่รวมถึงภารกิจการลาดตระเวน,คุ้มกันทางอากาศ,ขนส่งทางอากาศ และด้านจิตวิทยา เป็นต้น ไม่เพียงความหลากหลายในการทำภารกิจเท่านั้น เครื่องยังมีขีดความสามารถที่ดี ทั้งการบินอย่างต่อเนื่องและการวิ่งขึ้นลงในระยะสั้น ทำให้สามารถประจำการในฐานบินที่มีทางวิ่งสั้นๆใกล้แนวหน้า สามารถขึ้นบินทำภารกิจได้ทันทีที่มีการร้องขอ



Peacemaker มีอาวุธหลักเป็นปืนขนาด 12.7 มม. M-3 จำนวน 1 กระบอก หรือ ปืนขนาด20มม.M197 1กระบอก บรรจุกระสุน 500นัดติดตั้งทางข้างทางประตูเครื่อง นอกจากปืน เครื่องยังสามารถติดตั้งจรวดแบบไม่นำวิถีขนาด2.75นิ้ว และระเบิดแบบMk.81หรือMk.82 ได้อีกด้วย


กองทัพอากาศ มองว่าเครื่องPeacemaker เป็นเครื่องบินที่มีความเหมาะสมการการใช้งานในการปราบปราม ผกค. แต่ด้วยจำนวนเพียง13ลำ ไม่เพียงพอต่อการวางกำลังและตอบสนองภารกิจได้ ทำให้ กองทัพอากาศมีการจัดหาเครื่องรุ่นนี้เพิ่มเติม 20 ลำ และ สหรัฐฯส่งมอบให้เพิ่มอีก1ลำ ในปี2519 ทำให้กองทัพอากาศมีเครื่องบินรุ่นนี้มากถึง 34ลำ


เมื่อการสู้รบกับ ผกค. ลดลง บทบาทของเครื่องPeacemaker ก็ค่อยๆลดลงตามไปด้วยเครื่องบินที่เคยไปประจำการในฐานบินต่างๆกลับมายังที่ตั้งที่กองบิน2 แต่กองทัพอากาศก็ยังคงส่งเครื่องPeacemakerออกทำภารกิจตามสนามบินชายแดน เพื่อลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทย-พม่า,ไทย-ลาว และ ไทย-กัมพูชา ซึ่งยังมีการติดตั้งปืนอยู่แต่ลดจำนวนหระสุนลงเพื่อให้สอดคล้องกับภัยคุกคามและเพิ่มความคล่องตัวของเครื่อง จนกระทั่งปี 2533 เครื่อง Peacemaker ย้ายไปประจำการที่ฝูงบิน 531 กองบิน53 ทดแทน เครื่องบิน O-1 จำนวน 11ลำ และฝูงบินนี้ก็เริ่มทำภารกิจในปี2535


ปี2539 เครื่องPeacemaker ทััั้งหมดของฝูงบิน 202 ก็ถูกโอนมายังฝูงบิน531 เนื่องจากกองทัพอากาศได้นำเฮลิคอปเตอร์แบบSuper puma เข้ามาประจำการแทน พร้อมกับภารกิจใหม่คือการทำฝนหลวงตามพระราชดำริ ซึ่งภารกิจที่ต้องใช้งานปืนนั้นไม่มีแล้ว ทำให้กองทัพอากาศได้ถอดปืนออกจากเครื่องบินPeacemakerไป


เครื่องบิน AU-23A Peacemaker นี้คือเครื่องบินกันชิฟรุ่นสุดท้ายของกองทัพอากาศที่ยังคงประจำการอยู่ตั้งแต่ปี2515จนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่ได้ติดตั้งปืนแล้วก็ตาม


AU-23A ขณะจอดแสดงในงานวันเด็กปี2562

 

"เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบที่๙(บ.จล.๙)" N-22B Nomad


จากใช้งานเครื่องAC-47 Spooky กองทัพอากาศพบว่าเครื่องSpookyนั้นใหญ่ไม่สามารถขึ้นลงในสนามบินที่มีทางวิ่งสั้นๆได้ และขาดความคล่องตัวในการรบ รวมถึงเครื่องยนต์ลูกสูบที่ซ่อมบำรุงยากและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เทียบกับเครื่อง AU-23A Peacemakerทำให้กองทัพอากาศพิจารณาจัดหาเครื่องบินใหม่เพื่อมาทำหน้าที่แทน เครื่องบินแบบN-22B Nomad จากออสเตรเตีย จึงกลายเป็นคำตอบที่กองทัพอากาศต้องการ


N-22B Nomad ติดตั้งปืนขนาด20มม. M-197

N-22B Nomad เป็นเครื่องบินลำเลียง 2 เครื่องturboprop สามารถขึ้นลงในสนามบินที่มีทางวิ่งสั้นและมีพื้นดินขรุขระได้ และเครื่องมีขนาดพอดี ค่าใช้จ่ายในการบินไม่สูงมากและสามารถรองรับการติดตั้งปืนขนาด 20 มม. M-197 1กระบอกพร้อมด้วยกระสุน 500นัด บริเวณประตูเครื่องบินด้านหลังได้ ตรงกับความต้องการกองทัพอากาศ จึงได้มีการพิจารณาจัดหาเครื่องบินรุ่นนี้จำนวน 20ลำ


โดยเครื่อง2ลำแรกมาถึงในปี 2525 เข้าประจำการในฝูงบิน402 ตาคลี แต่ช่วงนั้่นการปะทะกับ ผกค.นั้นลดความรุนแรงลงไปแล้ว จึงทำให้เครื่องรุ่นนี้มีโอกาสได้ทำภารกิจน้อยกว่า เครื่องบินกันชิฟรุ่นอื่นๆก่อนที่เครื่องจะถูกโอนไปยังฝูงบิน 461 กองบิน 46 ในปี2527 แบะเครื่องได้มีโอกาสในการทำหน้าที่โดยการบินคุ้มกันเฮลิคอปเตอร์ที่เข้าไปช่วยนักบินขับไล่ที่เครื่องถูกยิงได้รับความเสียหายจนต้องสละเครื่อง ในช่วงกา่รรบที่บ้านร่มเกล้า ปี2530


N-22B Nomad ช่วงท้ายของการประจำการ

ก่อนที่งานโจมตีภาคพื้นจะหมดลงไป ทำให้กองทัพอากาศเปลี่ยนNomadให้กลายเป็นเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินที่ปรับตามภารกิจและกำหนดชื่อใหม่เป็น "เครื่องบินลำเลียงแบบที่๙ (บ.ล.๙)"และ

"เครื่องบินตรวจการณ์ลำเลียงแบบที่๙ (บ.ตล.๙)" แทน จนกระทั่งปลดประจำการไป



N-22B Nomad จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

 

ปัจจุบันกองทัพอากาศได้ปลดประจำการ AC-47 Spooky และ N-22B Nomad ไปแล้ว เหลือเพียงเครื่องAU-23A Peacemaker ที่ยังคงใช้งานอยู่ ส่วนใหญ่ภารกิจของเครื่องเหล่านี้ ไม่ได้มีการเปิดเผยออกมามากเท่าเครื่องบินรุ่นอื่น ทำให้เราไม่ค่อยรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องบินเหล่านี้มากนั้นหรืออาจจะไม่รู้จักเครื่องบินเหล่านี้ที่ค่อยปกป้องอธิปไตยของชาติเมื่ออดีตเลย

 

ความจำเป็นเครื่องบินกันชิฟของกองทัพอากาศไทยในยุคปัจจุบัน


เป็นเรื่องที่พูดคุยหรือถึงขั้นถกเถียงกันว่า กองทัพอากาศไทยยังคงจำเป็นต้องมีเครื่องบินลำเลียงติดปืนแบบ เครื่องบินกันชิฟอยู่หรือไม่? คำตอบนี้คงไม่มีใครตอบได้ดีสุดเท่า "กองทัพอากาศ" ซึ่งเขาคงจะมีความตอบอยู่แล้ว


ส่วนเราคงได้เพียงพูดคุยกันว่า ถ้ากองทัพอากาศไม่เอาเครื่องบินกันชิฟ เพราะอะไร? หรือ ถ้ากองทัพอากาศเอาเครื่องบินกันชิฟ จะมีงบประมาณเพียงพอกับการจัดหา และ ลำดับความสำคัญในการจัดหาเครื่องกันชิฟอยู่ตรงไหน และจะใช้ในภารกิจอะไรได้อีก เท่านั้นครับ

 

ที่มา

ดู 2,207 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comentários


bottom of page