top of page

ไต้หวันอัพเกรดอาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

#DEFNET #AShM #Taiwan #RealChina กองทัพเรือไต้หวันเปิดตัว HF-3 (Hsiung Feng-3) รุ่นปรับปรุงล่าสุด อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำที่จะมาพร้อมกับเรือคอร์เวตสเตลธชั้น Tuo Chiang โดยที่ Hsiung Feng-3 รุ่นล่าสุดที่มีการปรับปรุงจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเอาตัวรอดจากระบบป้องกันตนเองของเรือรบ เพิ่มระยะยิง รวมไปถึงเพิ่มน้ำหนักหัวรบที่ติดตั้งไปด้วย

Hsiung Feng-3 เมื่อครั้งเปิดตัวในช่วงแรก

HF-3 หรือ Hsiung Feng-3 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียง (Supersonic) รุ่นล่าสุดของกองทัพเรือไต้หวันที่นำเข้าประจำการต่อจาก HF-2 หรือ Hsiung Feng-2 ที่ประจำการอยู่ก่อนหน้านี้ โดย Hsiung Feng-3 นั้นจัดเป็นอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยุคที่ 3 ของไต้หวัน โดยเป็นการผสมผสานเครื่องยนต์จรวด 3 ชนิดระหว่าง จรวดเชื้อเพลิงแข็ง จรวดเชื้อเพลิงเหลวและเทคโนโลยีเครื่องยนต์แบบแรมเจ็ต (Ramjet)

แท่นและกล่องใส่ Hsiung Feng-3

ซึ่งด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกันทำให้กองทัพเรือไต้หวันได้รับอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นล่าสุดที่มีระยะยิงไกลสุดที่ 400 กิโลเมตร พร้อมกันด้วยความสามารถในด้านการหลบหลีกระบบต่อต้านอาวุธนำวิถีที่ถูกยิงออกมาจากเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งหัวรบเจาะเกราะประสิทธิภาพสูงเข้าไปด้วย เพื่อให้สามารถทำลายเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

เรือคอร์เวตชั้น Tuo Chiang ที่จะทำการติดตั้ง Hsiung Feng-3

และยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าทางไต้หวันกำลังพัฒนา Hsiung Feng-2 รุ่นใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมในชื่อรุ่น Hsiung Feng-2E ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและระยะยิงให้เพิ่มขึ้นจนสามารถมีระยะยิงไกลสุดที่ 600 กิโลเมตรอีกด้วยเช่นกัน

Hsiung Feng-3 จำลองที่ถูกจัดสแดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์

สเปคพื้นฐานของ Hsiung Feng-3

  • ความยาว : 6.1 เมตร

  • เส้นผ่าศูนย์กลาง : 0.46 เมตร

  • น้ำหนัก : น้ำหนักพร้อมยิงอยู่ที่ 1,500 กิโลกรัม

  • หัวรบ : หัวรบกึ่งเจาะเกราะระเบิดแรงสูง ขนาด 120 กิโลกรัม

  • ระยะยิง : สำหรับรุ่นแรกที่เปิดตัวอยู่ที่ราวๆ 150 กิโลเมตร

  • ระบบขับเคลื่อน : ระบบจุดสตาร์ทเป็นบูสเตอร์ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง และหลังจากนั้นขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จรวดแบบแรมเจ็ต (Ramjet) ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว

  • ระบบนำวิถี : Inertial Navigation System (INS),Terminal active radar homing


เขียนโดยและเรียบเรียงโดย: ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์


ดู 197 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page