top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

(วิเคราะห์) โอกาสของJF-17 ในการแข่งขันเครื่องบินขับไล่เบาของมาเลเซีย

อัปเดตเมื่อ 25 ก.พ. 2562

ไม่นานมานี้มาเลเซียออกโครงการเครื่องบินขับไล่เบา เพื่อใช้งานเสริมภารกิจของเครื่องบินขับไล่แบบ Su-30MKM และ F/A-18D เพื่อให้เป็นไปตามแผน CAP'55 ที่มาเลเซียกำลังลดแบบอากาศยานขับไล่ลง เหลือเพียง 1-2 แบบ ก่อนหน้านี้มาเลเซียพิจารณาเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale และ Typhoon แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้โครงการถูกระงับไปก่อน


JF-17 Thunder กองทัพอากาศปากีสถาน

ซึ่งการแข่งขัันโครงการนี้ ก็มีการส่งอากาศยานหลายแบบเข้ามาแข่งขันเช่น F/A-50 Golden Eagle เกาหลีใต้, Tejas อินเดีย , Mig-35 Fulcrum-F จากรัสเซีย และ JF-17 Thunder จากปากีสถานกับจีน ซึ่งที่น่าจับตามองที่ JF-17 Thunder ของปากีสถานมีความหวังจะเป็นผู้ชนะในโครงการนี้


โดยในปี 2558 ที่ผ่านมามีข่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียกำลังพิจารณาเครื่องบินขับไล่JF-17 Thunder แต่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียได้ปฏิเสธรายงานข่าวนี้ ปี 2561 ปากีสถานเสนอเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder อีกครั้งในโครงการ LCA ดังกล่าวไว้ข้างต้น โดยปากีสถานเสนอ รุ่น JF-17 Block III ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังพัฒนา เป็นตัวเลือก


นักวิเคราะห์และอดีตนักบินกองทัพอากาศปากีสถาน Kaiser Tufail กล่าวว่า JF-17 Block III มีแนวโน้มค่อนข้างมากด้วยหลายปัจจัย ทั้งด้านเทคโนโลยี ที่เครื่อง JF-17 Block III มีทั้งเรดาร์ AESA,ห้องนักบินระบบเเสดงผลแบบหน้าจอ,และหมวกนักบินรุ่นใหม่ที่มีระบบแสดงผลภายในหมวก ปัจจัยเรื่องการใช้งานที่JF-17 ใช้งานในกองทัพอากาศปากีสถานมาแล้ว 12 ปี จำนวนทั้งหมด 6 ฝูง ยังแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการใช้งานมากกว่า ในขณะที่คู่แข่งสำคัญในโครงการ คือ Tejas นั้นยังคงมีปัญหาและยังพัฒนาอยู่


ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ "ราคา" โดย Ben Ho นักวิเคราะห์ด้านกำลังทางอากาศและโครงการทางการทหาร จาก Singapore’s S. Rajaratnam School of International Studies กล่าวว่า JF-17 มีราคา 25 ล้านดอลลาร์ ในขณะ Tejas และ FA-50 มีราคาประมาณ 28 ล้านดอลลาร์และ 30 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ซึ่งถ้ามาเลเซียจัดหา JF-17 จำนวน 36 ลำจะหมายความว่า “งบประมาณที่ใช้น้อยกว่า” แต่อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์รัสเซียAL-31 ของ JF-17 อาจมีปัญหาด้านความสามารถในการซ่อมบำรุงกับเครื่องยนต์ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เดียวกันกับ MiG-29 ของมาเลเซีย แต่อาจต้องพิจารณาการสนับสนุนและบำรุงรักษาหลังการขายที่สำคัญ


Tejas กองทัพอากาศอินเดีย

F/A-50PH กองทัพอากาศฟิลิปปินส์


ในขณะที่ Tejas ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ General Electric F404 ที่ใช้ใน F/A-18s ของมาเลเซียและใช้อาวุธร่วมกับ Su-30 อย่างไรก็ตามระบบอวิโอนิคของ Tejas นั้นก็มีแนวโน้มที่จะต้องเปลี่ยนซึ่งมีความหมายถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และ F/A-50 เป็น เป็นเครื่องที่มีราคาแพงที่สุดใน 3 ตัวเลือกที่กล่าวมา แต่ก็ใช้เครื่องยนต์ F404 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันกับที่ใช้ F/A-18 ที่มาเลเซียมี จึงทำให้ค่าซ่อมบำรุงที่ลดลง และ อยู่ในระดับบริการทำให้สามารถทำงานและใช้งานอะไหล่ร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนเช่น ไทย ฟิลิปปินส์และ อินโดนิเซีย ได้ทั้งในการฝึกซ้อมและปฏิบัติการ


ที่มา

https://www.defensenews.com/air/2019/02/21/how-does-pakistans-thunder-fare-against-contenders-in-malaysias-aircraft-competition/?fbclid=IwAR1g5s-3X-baqIEmfaWtDOXsQp_nn-aD5toY1Boc61D2ONnT_rVLaSnIyyY

แปล เขียนและเรียบเรียงโดย: ณภัทร ยลละออ

ดู 502 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page