#DEFNET #ASEAN #Thailand พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงจากเดิมที่จะใช้ชื่อว่า "เรือหลวงท่าจีน" เป็น "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช" กำหนดพิธีต้อนรับและขึ้นระวางเรือประจำการ ในวันจันทร์ 7 ม.ค. 2562 นี้ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช หรือชื่อเก่าคือ เรือหลวงท่าจีน เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือไทย ซึ่งเซ็นสัญญาต่อเรือในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมาตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อโดยบริษัทอู่ต่อเรือ DSME (Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศเกาหลีใต้ คาดว่าจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 6 ม.ค. 2562 ที่จะถึงนี้ หลังจากผ่านการทดสอบทางทะเลทั้งหมดแล้ว
โดยชื่อเรือหลวงภูมิอดุลยเดชนั้นมีที่มาจากชื่อของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 พระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อน
เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชจะจัดเป็นเรือรบที่มีศักยภาพในการรบสูงที่สุดของกองทัพเรือไทย เรือออกแบบด้วยเทคโนโลยีลดการตรวจจับด้วยเรด้าห์หรือที่เรียกว่า Stealth พร้อมระบบอาวุธที่ทันสมัย ทำให้เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชเป็นเรือรบที่มีศักยภาพในการรบอันดับต้นๆของภูมิภาคอาเซียน
สเปคเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช FFG-471
ประเภทเรือ : เรือฟริเกตติดอาวุธนำวิถี (FFG)
ระวางขับน้ำ : 3,700 ตัน
ยาว : 123 เมตร
กว้าง : 14.4 เมตร
ความเร็วสูงสุด : 30 น็อต
ระยะปฏิบัติการ : ไม่ต่ำกว่า 4,000 ไมล์ทะเล
กำลังพล : 136 นาย
การทนทะเล : สามารถปฏิบัติการรบในสภาพทะเล Sea State 6 และทนทะเลสูงสุด Sea State 8
ดาดฟ้า : รับรองเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตัน พร้อมโรงเก็บ
ระบบอาวุธเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช FFG-471
ปืนเรือหลัก : Otomelara 76/62 Super Rapid Stealth Shield แท่นเดี่ยว จำนวน 1 แท่น จากประเทศอิตาลี
ปืนเรือรอง : MSI Defence DS30M Mk.2 พร้อมติดตั้งปืน Mk.44 Bushmaster 2 ขนาด 30/70 มม. จำนวน 2 แท่น จากสหราชอาณาจักร
ท่อยิงอาวุธนำวิถีแนวดิ่ง : Mk.41 จำนวน 8 ท่อยิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา (รองรับอาวุธนำวิถีต่อต้านอากาศยานแบบ RIM-162 ESSM จำนวน 32 นัด หรืออาวุธนำวิถีต่อต้านเรือดำน้ำแบบ RUM-139 VL-ASLROC)
ตอร์ปิโด : ตอร์ปิโดเบาต่อต้านเรือผิวน้ำ/เรือดำน้ำแบบ Mk.54 จำนวน 2 แท่น แท่นละ 3 ท่อยิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบป้องกันภัยระยะประชิด : Mk.15 Phalanx Block-1B จำนวน 1 แท่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา
อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ : RGM-84D Harpoon Block II ติดตั้งบนแท่นยิง Mk.141 จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา
แท่นยิงเป้าลวง : Terma Decoy DL-12T จำนวน 2 แท่น แท่นละ 12 ท่อยิง สำหรับเป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถีและแท่นยิงเป้าลวง Terma Decoy Mk.137 จำนวน 4 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง สำหรับเป้าลวงตอร์ปิโดแบบ Canto-V
ปืนกลประจำเรือ : ปืนกลหนักแบบ M2HB Browning ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 2 แท่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ระบบตรวจจับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช FFG-471
เรดาร์ : เรดาร์อเนกประสงค์แบบ SAAB PESA Sea Giraffe AMB และเรดาร์ตรวจการระยะไกลแบบ SAAB Sea Giraffe 4A
โซน่า : โซน่าหัวเรือแบบ ATLAS ELEKTRONIK Hull-Mounted Sonar (HMS) และโซน่าลากท้ายแบบ ATLAS ELEKTRONIK Active Towed Array Sonar (ACTAS)
ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1514440555325717&set=a.178769378892848&type=3&theater
รูป : Richard Yip
เขียนโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
เรียบเรียงโดย : ปุณยกานต์ จุลาภา
ใช้ชื่อพระมหากษัตริย์กับเรือฟริเกตตาม เรือหลวงนเรศวร, ตากสิน, พระพุทธยอดฟ้า, เลิศหล้านภาลัย กันไป