top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

JASDF เหล่าทัพที่วุ่นวายที่สุดของ JSDF

อัปเดตเมื่อ 6 พ.ค. 2562

F-15J ของกองกำลังป้องกันตัวเองทางอากาศญี่ปุ่น

ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (JASDF) นั้นประสบกับความวุ่นวายในความถี่ของการต้องเตรียมพร้อมเครื่องบินเพื่อภารกิจสกัดกั้นอากาศยานที่รุกล้ำเขตต่อเนื่องน่านฟ้าญี่ปุ่น (ADIZ) ซึ่งเป็นน่านฟ้าต่อเนื่องที่อยู่นอกอาณาเขตประเทศ ซึ่งเป็นเขตอากาศที่อากาศยานที่ไม่ระบุสัญชาติจะถูกตรวจสอบ หากพิจารณาว่าไม่เป็นมิตร อากาศยานนั้นจะถูกผลักดันให้ออกไปจากเขตน่านฟ้าต่อเนื่องหรือทำลายทิ้ง


โดยทาง JASDF ได้ระบุว่ามีอากาศยานไม่ระบุสัญชาติทำการรุกล้ำ ADIZ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 300 ครั้งในปี ค.ศ.2012 เพิ่มขึ้นเกือบ 1,200 ครั้งในปี 2016


ปี 2017 จำนวนการรุกล้ำลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 900 ครั้งและสิ้นไตรมาสที่สามของปี 2018 มีการรุกล้ำ 758 ครั้ง โดย 55% เป็นการรุกล้ำของเครื่องบินจีนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินรบและ 43% เป็นของรัสเซียซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินข่าวกรอง


ปัจจุบันนั้น JASDF มีกำลังทางอากาศสำคัญคือเครื่องบินขับไล่แบบ F-15J จำนวน 215 ลำ ซึ่งถือเป็นเครื่องบินที่เหมาะสมกับการตรวจตราทางอากาศ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม F-15J จำนวนหนึ่งต้องแบกรับภาระอย่างหนักในการขึ้นบินสกัดกั้นเครื่องบินไม่ระบุสัญชาติที่ทำการรุกล้ำน่านฟ้าญี่ปุ่น


ปี 2016 JASDF ได้ใช้เทคนิคการสกัดกั้นแบบใหม่ โดยจะส่งเครื่องบิน 4 ลำขึ้นสกัดกั้นในแต่ละครั้ง 2 ลำแรกจะรับผิดชอบในการประกบเครื่องบินที่รุกล้ำ ส่วนอีก 2 ลำนั้นจะเป็นตัวเสริมในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งต่อมาก็ได้มีการใช้เครื่องบินควบคุม, แจ้งเตือนภัยทางอากาศ (AEW&C) แบบ E-2C เข้าร่วมการสกัดกั้นด้วย ปัญหาเริ่มแสดงเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเครื่องบิน F-15J รับภาระในภารกิจบินสกัดกั้นอย่างหนักจนอายุการใช้งานของเครื่องเริ่มหมด แต่ขณะเดียวกันจีนนั้นมีเครื่องบินรบที่มีจำนวนมากกว่าญี่ปุ่นถึง 6 เท่า ซึ่งจีนยังทำการผลิตรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ


ซึ่งญี่ปุ่นคาดการว่าจีนใช้แผนการใช้เครื่องบินรบตัวเองบินในพื้นที่พิพาทหมู่เกาะเซนกากุ-เตียวหยู โดยการใช้ประโยชน์จากการที่จีนมีเครื่องบินรบมากกว่าบินในพื้นที่พิพาทจนญี่ปุ่นไม่สามารถขึ้นสกัดกั้นได้หมด เพื่ออ้างความชอบธรรมในดินแดนที่ทางจีนอ้างว่าคือหมู่เกาะของตัวเอง การปฏิบัติการทางอากาศที่ถี่ของจีนในพื้นที่พิพาทจะส่งผลให้ประเทศอื่นๆจะค่อยๆยอมรับสิทธิ์ของจีนเหนือหมู่เกาะพิพาทได้


F-15J ของกองกำลังป้องกันตัวเองทางอากาศญี่ปุ่นกำลังประกบเครื่องบิน Tu-154 ของรัสเซีย

ในทางกลับกัน สาเหตุการรุกล้ำน่านฟ้าญี่ปุ่นของรัสเซียนั้นไม่ได้มุ่งตรงมาที่ญี่ปุ่นโดยตรง แต่กลับมุ่งไปทางฐานทัพสหรัฐฯในญี่ปุ่นมากกว่า


ช่วงกลางเดือนธันวาคมปี 2018 รัฐบาลญี่ปุ่นสร้างความประหลาดใจให้กับประชาชนชาวญี่ปุ่นที่ประกาศจัดหาเครื่องบินแบบ F-35A/B จำนวน 105 ลำทดแทน F-15J ที่ไม่ได้รับการอัพเกรด ซึ่งน่าสังเกตว่าการซื้อล็อตนี้นั้นไม่ใช่โครงการเดียวกับการจัดซื้อ F-35A จำนวน 42 ลำที่ญี่ปุ่นสั่งมาก่อนหน้านี้เพื่อทดแทน F-4EJ Phantom II ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าการจัดซื้อ F-35 ครั้งนี้ของญี่ปุ่นนั้นสืบเนื่องมาจากการที่ญี่ปุ่นโดนสหรัฐฯในยุครัฐบาลของนายโดนัล ทรัมป์กดดันในการเจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคี ซึ่งการจัดซื้อครั้งนี้จะช่วยลดการขาดดุลและลดแรงกดดันจากรัฐบาลวอชิงตันของนายโดนัล ทรัมป์ได้


นอกจากนี้ยังมีการลงนามสั่งซื้อเครื่องบิน AEW&C แบบ E-2D จำนวน 9 ลำจากสหรัฐฯด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นญี่ปุ่นมีความตั้งใจที่ลดภาระการเงินของโครงการ F-35A/B 105 ลำ โดยหวังพึ่งจากเงินที่ได้จากการขาย F-15J มือสอง ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าขายให้กับกองทัพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันนั้นยังไม่มีกองทัพอากาศประเทศใดให้ความสนใจกับ F-15J มือสองของญี่ปุ่น


F-35A ของกองกำลังป้องกันตัวเองทางอากาศญี่ปุ่น | แหล่งที่มา : กองกำลังป้องกันทางอากาศญี่ปุ่น Koku-Jietai JASDF

ซึ่งยังมีปัญหาที่ว่า F-35A ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่-โจมตี มากกว่าที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่-สกัดกั้น ดังนั้น F-35A จะขาดความคล่องแคล่วในการที่ต้องเข้าระยะใกล้ชิดกับเป้าหมายเพื่อทำการระบุเป้าหมายด้วยสายตา อีกทั้งนั้นยังมีค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงที่ค่อนข้างสูง ยิ่งไปกว่านั้นไปภารกิจบินประกบของเครื่องบินรบข้าศึก F-35A มีความเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลทางเทคนิคบางอย่างที่สำคัญต่อตัวเครื่อง ซึ่งอาจจะทำให้จีนและรัสเซียหาวิธีรับมือกับ F-35A ได้


แต่การจัดหา F-35B นั้นอาจจะกลายเป็นตัวแปรที่มีประโยชน์ที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากฐานบิน F-15J ที่ใกล้พื้นที่พิพาทหมู่เกาะเซนกากุ-เตียวหยูนั้นยังห่างจากพื้นที่พิพาทออกไปถึง 400 กม. แต่ฐานบินขนาดเล็กของเกาะชิโมจิที่ F-35B สามารถทำการปฏิบัติการได้นั้นห่างออกไปเพียง 200 กม.เท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการขึ้นบินสกัดกั้นเครื่องบินจีนที่รุกล้ำน่านฟ้าพื้นที่พิพาทหมู่เกาะเซนกากุ-เตียวหยูได้เร็วขึ้นมาก


 


แปลและเขียนโดย : ณภัทร ยลละออ


เรียบเรียงโดย : ปุณยกานต์ จุลาภา

ดู 905 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page