M1A1 SA
M1A1 SA(Situation Awareness) เป็นหนึ่งในรถถังหลักในตระกูล M1A1 ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เป้าหมายในการการปรับปรุงนี้ คือ ทำให้อายุการใช้งานเริ่มนับจาก0ใหม่อีกครั้ง(zero hour conditions) จุดเด่นของการปรับปรุงครั้งนี้คือกล้องเล็งหลัก (Primary Sight) ของมัน ซึ่งก็คือBlock I Gen II FLIR (Forward Looking Infrared) ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ใช้บนรถถังหลัก M1A2 SEP v2 แต่ทั้งนี้ M1A1 SA ยังมีความสามารถในการทำHunter-Killer ที่จำกัดกว่า Hunter-Killer คือ1ในการค้นหาและโจมตีเป้าหมาย โดย ผบ.รถถังจะทำการค้นหาเป้าหมายต่อไปในระหว่างที่พลปืนทำการเล็งยิง ซึ่งตัว M1A1 SA ไม่มีกล้อง CITV (Commander's Independent Thermal Viewer) แบบ M1A2
ด้านอำนาจการยิง อาวุธมาตรฐาน M1A1 SA ใช้ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด 120 มม. M256 และได้รับการปรับปรุงสำหรับกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้งทรงตัวด้วยครีบหาง (APFSDS) แบบ M829A3 และกระสุนต่อต้านบุคคลแบบ M1028 โดย M1A1SA บรรทุกกระสุนไปได้ทั้งหมด 40 นัด ปืนกลร่วมแกนแบบ M240 ขนาด 7.62 มม. ปืนกลหนักแบบ M2HB ขนาด .50Cal ของ ผบ.รถถัง และปืนกลแบบ M240 ของพลบรรจุ
M1A1 ของกองทัพบกสหรัฐฯจะมีการติดตั้ง Counter-Sniper/Anti-Materiel Mount(CSAMM) ซึ่งเป็นส่วนนึงของ TUSK (Tank Urban Survival Kit) เพื่อเพิ่มตำแหน่งติดปืนกลเพิ่ม โดยมีการติดตั้งตั้งแต่สมัยสงครามอิรัก ซึ่งในส่วนของ M1A1 SA ที่ประจำการอยู่ก็มีการติดตั้งด้วย
มาว่ากันถึงเรื่องTUSKของM1A1 ตัวTUSKเป็นชุดอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มการเอาตัวรอดในเขตเมือง TUSKหลักๆจะประกอบไปด้วย
1.)ARAT(Abrams Reactive Armor Tile) – M19
2.)V-Shape Armor เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันIED(Improvised Explosive Devices)
3.)โทรศัพท์สำหรับการติดต่อระหว่างพลรถถังและทหารภายนอก
4.)Remote Thermal Sight ของปืนกลM2HB
5.)โล่ปืนสำหรับพลบรรจุ เวลาออกมาทำการยิงปืนกลM240 (M1A1 SA ของกองทัพบกสหรัฐฯในปัจจุบันยังติดตั้งอยู่)
ในปัจจุบัน M1A1 SA ของทั้งกองทัพบก ได้รับการติดตั้งป้อมปืนSCWS(Stabilized Commander Weapon Station) ที่ติดตั้งปืนกลหนักM2HB ขนาด .50Cal ของ ผบ.รถถัง โดยในระบบป้อมSCWSจะมีกล้องอินฟราเรดสำหรับเล็ง เพื่อที่ ผบ.รถถังจะได้ไม่ต้องออกมาเสี่ยงถูกยิงเมื่อออกมาทำการควบคุมปืนกลหนัก
นอกจากสหรัฐฯแล้ว มีอีก 4 ประเทศที่ใช้ M1A1SA ได้แก่ ออสเตรเลีย, โมรอคโค, อียิปต์และอิรัก ในกรณีของออสเตรเลียจะแปลกกว่าของอีก 2 ชาติ คือ จะมีส่วนที่ได้รับการติดตั้งกล้องความร้อนให้กับปืนกลหนักแบบ M2HB ในชิ้นส่วนอื่นๆที่ไม่มีในรุ่นส่งออก ได้แก่ ป้อม SCWS, เกราะ Depleted Uranium, โล่ปืนของพลบรรจุ, โล่ปืนและเกราะรอบ Cupola ของ ผบ.
สำหรับ M1A1 ของนาวิกโยธินสหรัฐฯจะเป็นรุ่น M1A1 FEP (Firepower Enhancements Program) ซึ่งมีขีดความสามารถใกล้เคียงกับ M1A1 SA ของทางกองทัพบกสหรัฐฯ คือ ใช้ Gen II FLIR สำหรับกล้องเล็งหลัก, มีป้อมSCWS เหมือนกัน แต่จะขาดในส่วนของโล่ปืนกลของพลบรรจุ
สำหรับ M1A1 SA ของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่จะมาฝนการฝึกร่วม Cobra Gold 2019 ซึ่งก็คือปีนี้ ก็ต้องมารอดูกันต่อว่าจะเป็นตัวที่ได้รับการปรับปรุงในโครงการ AIDATS หรือไม่ สำหรับโครงการ AIDATS (Abrams Integrate Display and Targeting System) ในการปรับปรุงนี้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทำการรบในส่วนของ ผบ.รถถังเป็นหลัก คือมีการติดตั้งหน้าจอแสดงผล 2 จอ และปรับปรุงระบบกล้องของป้อมปืนกล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อ้างอิง
US Army Weapon Systems Handbook 2016
ที่มารูปประกอบ
USMC M1A1
เขียนและเรียบเรียงโดย : Freedom
Comments