top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

ปืนกล M60 ไอคอนสงครามเวียดนามกับเส้นทางที่ยังเดินต่อไปได้


หากพูดถึงหนึ่งในปืนกลประจำหมวดที่โด่งดังที่สุดในโลก หนึ่งในนั้นคงหนีไปพ้นปืนกล M60 อย่างแน่นอน หนึ่งในสัญลักษณ์ของสงครามเวียดนามในบรรดานักประวัติศาสตร์และปืนคู่หูคู่ใจพระเอกหนังบู๊อเมริกันในยุค 80 สำหรับคนทั่วไป



ย้อนกลับไปช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐฯมีความต้องการปืนกลประจำหมวดรุ่นใหม่ที่รวมขีดความสามารถแบบ M1919 ที่สามารถยิงต่อเนื่องได้ดีด้วยสายกระสุน แต่สามารถยกยิงประทับบ่าได้แบบ ปืนกล Browning Automatic Rifle (BAR) ซึ่งสหรัฐฯได้หยิบตัวเลือกหนึ่งขึ้นมาเป็นต้นแบบก็คือ ปืนกล MG42 โดยการถอดแบบและเปลี่ยนส่วนประกอบให้รองรับกระสุน .30-06 ได้ และลดอัตราการยิงจากเดิมที่ MG 42 สามารถยังได้ 1200 นัด/นาทีลงมา โดยให้ชื่อต้นแบบว่า T24 Machine gun




ต่อมา Saco Defense (General Dynamics ) ได้เสนอต้นแบบปืนกลประจำหมวดรุ่นใหม่ T44 เข้ามาแข่งขัน โดยใช้ต้นแบบปืนจาก FG42 ซึ่งเป็นปืนของหน่วยพลร่มเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการดัดแปลงให้ใช้สายกระสุนได้แบบ MG42 ระบบแก๊สเป็นแบบ M1 Cabine และระบบลูกเลื่อนแบบ Rotating bolt



จนกระทั่งกองทัพสหรัฐได้เปลี่ยนมาตรฐานกระสุนใหม่เป็น 7.62x51มม. ทำให้ปืนต้นแบบ T44 ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้รองรับกระสุนประเภทนั้น และได้มีการปรับปรุงมากเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นต้นแบบ T52 ซึ่งใช้กระสุน 7.62x51มม. และสามารถบรรจุกระสุนจากด้านข้างและห้องลูกเลื่อนที่สามารถเปิดฝาครอบได้ แต่ยังไม่หยุดเท่านั้น การพัฒนายังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งกลายเป็นต้นแบบ T161 และ T161E3 ที่ีมีใกล้เคียง M60 มากขึ้น



ในที่สุด ปี ค.ศ. 1957 ปืนกล M60 ก็เข้าสู่สายการผลิตเพื่อใช้เป็นปืนกลประจำหมวด ปืนกลสำหรับติดตั้งบนยานพาหนะและอากาศยาน ในกองทัพสหรัฐฯ


หมู่ปืนกลของทหารสหรัฐซึ่งใช้M60

แน่นอนว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบได้ในครั้งเดียว เมื่อทหารสหรัฐฯเข้าสู่สงครามเวียดนาม ปัญหาของปืนก็เกิดขึ้น อย่างแรกคือปืนไม่มีที่จับบริเวณลำกล้องปืน การยิงอย่างต่อเนื่องทำให้ลำกล้องปืนเกิดความร้อน ซึ่งส่งผลต่อปืนและความแม่นยำ จึงต้องมีการเปลี่ยนลำกล้องใหม่เพื่อให้ลำกล้องปืนเดิมได้ลดอุณหภูมิลงเพื่อนำกลับมาใช้งานต่อได้ แต่ปืน M60 ที่ออกมาช่วงนั้น ไม่มีที่จับบริเวณลำกล้องปืน ทำให้การถอดเปลี่ยนลำกล้อง ทหารต้องใช้ถุงมือกันความร้อน (ถุงมือที่ใช้กับเตาอบ) ในการถอดลำกล้องออกซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากและความยากลำบาก


M60 ขณะถอดเปลี่ยนลำกล้อง ซึ่งต้องใส่ถุงมือกันความร้อนในการเปลี่ยนลำกล้อง

ข้อต่อมา คือการที่ปืนขัดลำบ่อยเนื่องการจากป้อนกระสุนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทหารบางคนที่ใช้งานปืนนี้จึงการต้องแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เศษกระป๋องเปล่าวางรองใต้สายส่งกระสุนบริเวณด้านซ้ายของตัวปืนซึ่งจะช่วยให้สายกระสุนเคลื่อนที่ส่งกระสุนได้ราบลื่นขึ้นเนื่องจากส่วนโค้งของกระป๋องช่วยพยุงตัวสายกระสุนไว้


การหล่อลื่นของปืนก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจอ ซึ่งตัวน้ำมันหล่อลื่นปืนของทางผู้ผลิตไม่ได้ให้มามากนั้น อีกทั้งการใช้งานของปืนที่ทำให้น้ำมันหล่อลื่นนั้นหมดไปอย่างรวดเร็ว วิธีของแก้ไขของทหารคือการใช้เนยสดในการหล่อลื่น ทำให้ปืนมีประสิทธิภาพในการทำการรบต่อไปได้



หลังจากสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐฯได้ปรับปรุงปืน M60 ในช่วง ค.ศ.1980 เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ จนกลายมาเป็น M60E3 ที่มาการออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้นแต่ ทั้งการปรับระบบแก๊สให้ใช้งานง่าย กริ๊ปจับที่ทำให้สามารถควบคุมปืนได้ดีขึ้น ระบบและการลดน้ำหนักชิ้นส่วนปืนลงทำให้เบาขึ้น แต่มันกลับกลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อชิ้นส่วนที่ทำให้เพื่อลดน้ำหนักปืนนั้นกลับไม่มีความทนทานพอและปืน M60E3 กลับหนักถึง 12.5 กก. ซึ่งหนักกว่า ปืน M60 มาตราฐานที่ 10.5กก. ทำให้เริ่มกองทัพสหรัฐฯหันไปใช้ปืนกล M240 ที่น่าเชื่อถือมากกว่า จนในที่สุดก็ต้องมีการลดการผลิตปืนกล M60 ลงในช่วง ค.ศ.1990 ถึงกระนั้น บางหน่วยของกองทัพสหรัฐฯก็ยังใช้งาน M60E3 อยู่


ทหารเรือสหรัฐขณะทำการยิงM60E3 ในการฝึกปี2003


แต่ปืนกล M60 ยังคงพัฒนาไปต่อโดยการปรับปรุงในช่วง ค..ศ.1990 ออกมาเป็น M60E4 หรือ Mk.43 ซึ่ง ซึ่งมีความคล้ายครึงกับ M60E3 แต่แก้ไขปัญหาทั้งหมดที่เจอในรุ่นก่อนหน้า ทำให้ปืนมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น แม้ M60E4 จะดีขึ้นและได้ส่งเข้าไปคัดเลือกแบบปืนกลใหม่ของกองทััพสหรัฐแต่สหรัฐฯเลือก M240E4 หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น M240B ให้เป็นผู้ชนะ แต่ปืนกล M60E4 ก็มีการใช้งานในหน่วย SEAL ในชื่อ Mk.43 ทดแทนรุ่น M60E3 และส่งออกต่างประเทศในช่วง ค.ศ.2000


M60E4


การเดินทางของ M60 อาจจะดูเหมือนจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ปี ค.ศ.2014 กองทัพบกเดนมาร์กนัตำนานปืนกลรุ่นนี้ไปต่อ โดยเลือก M60E6 รุ่นใหม่ล่าสุด ทดแทนปืนกลแบบ M/62 (ปืนกล MG3) ซึ่งถึงแม้จะด้อยกว่าในด้านอัตราการยิงแต่ ปืน M60E6 ชดเชยด้วยน้ำหนักที่เบา ควบคุมการยิงได้ง่ายกว่า


M60E6 กองทัพบกเดนมาร์ก

ซึ่งคุณสมบัติของM60E6 อาทิ

  • น้ำหนักเบาขึ้น น้ำหนักปืนอยู่ที่ 9.35กก.

  • การบำรุงรักษาที่สะดวกและง่ายขึ้น

  • ศูนย์หน้าปรับได้

  • หูหิ้วลำกล้องเพื่อเลี่ยงความร้อนของลำกล้องขณะเปลี่ยนลำกล้อง

  • ขาทรายน้ำหนักเบา ใช้มือเดียวกางได้

  • ติดราง M1913 จำนวนสามอันสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ

  • การป้อนกระสุนดีขึ้น 30%

  • ด้ามปืนกระฉับมือ

  • ไกปืนปรับปรุงให้ดีขึ้นสามารถสวมถุงมือใช้งานได้

ไม่ใช้เพียงแค่กองทัพบกเดนมาร์กเท่านั้นที่จัด M60E6 นาวิกโยธินไทยเองก็มีการจัดหาชุดปรับปรุง M60E6 เพื่อปรับปรุงปืนกลM60 ตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 เช่นกัน(การปรับปรุงปืน M60 ให้เป็น M60E6 เข้าใจง่ายๆ มันคือการปรับปรุงปืนเก่าให้กลายเป็นปืนกระบอกใหม่ ซึ่งค่าปรับปรุงที่มีการอ้างอิงนั้นถูกกว่าการจัดหาปืนกลรุ่นใหม่ได้สูงสุดถึง 60% )


อดีต ผบ.ทร ขณะถ่ายภาพกับ M60E6 ของนาวิกโยธิน ระหว่างตรวเยี่ยมการฝึก ทร.60 (ภาพ มติชน)

แม้ปัจจุบันประเทศผู้ผลิตของปืนรุ่นนี้อย่าง สหรัฐฯจะนำปืนกลรุ่นใหม่อย่าง M240 เข้าประจำการทดแทนในกองทัพแล้วแต่ในอีกหลายประเทศปืนกล M60 ก็ยังเป็นกำลังสำคัญในกองทัพ การพัฒนาทำให้เห็นปืนกลรุ่นนี้ไม่ได้หยุดอยู่กับที่แต่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เมื่อเป็นเส้นทางให้ตำนานปืนกลรุ่นนี้ยังคงเดินต่อไปได้


 

ข้อมูลปืน

  • น้ำหนัก 10.5 กก.

  • ยาว 1105 มม.

  • ความยาวลำกล้อง 560มม.

  • ระบบปฏิบัติการ Gas-operated, short-stroke gas piston, open bolt

  • อัตราการยิง 550–650 นัด/นาที

  • ระยะหวังผล 1100 ม.

  • ขนาดกระสุน 7.62x51มม.

  • ระบบป้อนกระสุน สายกระสุนแบบ M13

  • รุ่นต่างๆของปืนกล

- M60 รุ่นปืนกลมาตรฐานของทหารราบ

- M60E1 รุ่นปรับปรุงของ M60 แต่ไม่ได้มีการผลิตออกมามาก

- M60E2 รุ่นสำหรับติดตั้งบนรถถัง M48 , M60 Patton และ K1 88

- M60B รุ่นที่ผลิตออกมาเพื่อติดตั้งบินเฮลิคอปเตอร์แต่ผลิตออกมาในจำนวนไม่มาก

- M60C รุ่นติดตั้งกับอากาศยาน ควบคุมการยิงด้วยระบบไฟฟ้า

- M60D รุ่นติดตั้งกับอากาศยาน ควบคุมการยิงด้วยมนุษย์ สำหรับติดประตูเฮลิคอปเตอร์

- M60E3 รุ่นปรับปรุงของ M60

- M60E4 รุ่นปรับปรุงของ M60E3

- Mk 43 Mod 0/1 รุ่นย่อยของ M60E4 ใช้งานโดยหน่วยSEAL สหรัฐ

- M60E6 รุ่นปรับปรุงล่าสุดของ M60

 

ที่มา

ดู 2,773 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page