top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

รถถังกับการปรับตัวต่อภัยคุกคามนิวเคลียร์

รถถังแบบ T-54

หลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ เมืองฮิโรชิม่า และเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งการทิ้งระเบิดนิวเคีลยร์ในครั้งนั้นถือเป็นการเปลี่ยนโลกไปตลอดกาล ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการรบใหม่ การค้นคว้าทดลองสิ่งใหม่ๆเพื่อรับมือกับภัยนิวเคลียร์กลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้


เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ได้ทำการประเมินตัวเองแล้วว่าด้วยสภาพของโซเวียตในตอนนั้น ไม่สามารถทำการรบกับสหรัฐอเมริกาและชาติพันธิมตรภายใต้สงครามที่มีป้จจัยที่เรียกว่า ระเบิดนิวเคลียร์ ได้ง่ายอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเริ่มทำการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ของตนเองบ้าง และนอกจากนี้ยังได้ประเมินแล้วว่า รถถัง หนึ่งในปัจจัยที่สุดของการรบที่ใช้สำหรับการเข้ายึดพื้นที่พร้อมกับทหารราบนั้น ยังไม่มีความสามารถที่เทียบเท่ากับรถถังชาติตะวันตกและพันธิมตรได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดสงครามที่มีการรบกันด้วยระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งจะทำให้มีทั้งกัมมันตภาพรังสี แรงระเบิดมหาศาลจากปฏิกิริยาเบิดนิวเคลียร์ที่สามารถส่งผลกระทบต่อหน่วยทหารราบและรถถังที่จะใช้ยึดพื้นที่

T-55 ของเยอรมันตะวันออกในสมัยสงครามเย็น

ต่อมาสหภาพโซเวียตได้เริ่มคิดค้น วิจัยและพัฒนารถถังรุ่นใหม่ในช่วงปี ค.ศ.1949 อย่าง T-54 ซึ่งถูกพัฒนามาจากจากพื้นฐานของรถถังเลื่องชื่ออย่าง T-34 และ T-44 โดยทำการปรับปรุงหลายอย่างต่อจากรถถังรุ่นก่อนหน้า ทั้งการใช้ปืนใหญ่แบบ D-10T ขนาด 100 มิลลิเมตรเพื่อเพิ่มอำนาจในการยิง และอีกหลายอย่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ


แต่ในช่วงแรกของการพัฒนานั้น T-54 กลับพบปัญหามากมายตามมา จนต้องพัฒนาต่อออกมาเป็นรุ่น T-54A และ T-54B ซึ่งเพิ่มความสามารถในการป้องกันตัวรถที่มากขึ้นมากกว่าตัวแรก และเริ่มมีการพัฒนาต่อออกมาเป็น T-55 แต่สุดท้ายนั้นความสามารถที่พัฒนาก็คงจะไร้ความหมายหากรถถังเหล่านี้นั้นไม่สามารถทำการรบภายใต้สภาวะสงครามนิวเคลียร์ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ภายใต้ความขัดแย้งในภาวะสงครามเย็น


เชื่อหรือไม่?

ในช่วงปี ค.ศ.1950 นั้นรถถังของสหภาพโซเวียตอย่าง T-54/55 ในตอนนั้นทำได้เพียงรอดจากแรงระเบิดที่ปะทะกับตัวรถหลังจากการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์เท่านั้น แต่ก็ไม่มีรถถังคันใดจะรอดได้เช่นกัน หากรถถังคันนั้นอยู่ใจกลางจุดระเบิด ด้วยถึงแม้ว่าเกราะของรถถังนั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันแรงระเบิดของกระสุนปืนใหญ่รถถังของฝั่งตรงข้ามได้ แต่แรงระเบิดของนิวเคลียร์นั้น แรงกว่ามากและยังส่งผลกระทบต่อทั้งป้อมปืนและตัวรถถังทั้งคันอย่างรุนแรงด้วย

M-55/T-55 ของกองทัพบกสโลวีเนียร์ที่ได้รับการอัพเกรด

และแน่นอนว่าปัญหาอีกอย่างของการป้องกันนิวเคลียร์ของรถถังก็คือกัมมันตภาพรังสี ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการระเบิด ซึ่งตรงนั้นเองที่สหภาพโซเวียตต้องการ พวกเค้าต้องการให้กำลังพลยังสามารถที่จะปฏิบัติการภายใต้สภาวะดังกล่าว


ดังนั้นนักออกแบบจึงหาวิธีอัดแรงดัน โดยการสร้างแรงดันสูงขึ้นภายในตัวถังเพื่อให้รอยรั่วเล็กๆในเกราะถูกผลักอากาศออกแทนที่จะปล่อยให้มันเข้ามาและห้องลูกเรือก็ถูกปกคลุมด้วยเยื่อบุป้องกันรังสี ที่จะลดการแผ่รังสีที่เดินทางผ่านตัวถัง ในที่สุดระบบการกรองจะทำการฟอกอากาศที่เข้ามาของเศษซากและอัดเข้าไปในห้องลูกเรือเพื่อให้ลูกเรือหายใจและทำให้ระบบแรงดันทำงาน


แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้พลประจำรถรอดพ้นจากผลของการระเบิด คลื่นแรงระเบิดยังสามารถบดทำลายตัวถังและระเบิดเส้นเลือดในสมองของลูกเรือ คลื่นความร้อนยังคงสามารถจุดชนวนเชื้อเพลิงและทอดพลรถที่อยู่ภายใน การแผ่รังสีจำนวนมากสามารถผ่านเข้าไปได้และทำให้ผู้ต่อสู้ต้องตายด้วยโรคมะเร็ง แต่อย่างน้อยพลรถถังเหล่านั้นก็จะรอดต่อไปเพื่อการต่อสู้และมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีหลังสงครามถ้าพวกเขาชนะ อย่างน้อยก็สองถึงสามปีก่อนที่พวกเข้าจะต้องจากไปด้วยโรคมะเร็งและโรคอื่นๆที่มากับรังสีและแรงระเบิดของนิวเคลียร์


และทั้งหมดที่ผ่านมานี้ก็ความสามารถของ T-55 รถถังแบบแรกของโซเวียตที่ทำระบบป้องกันนิวเคีลยร์ ชีวะ เคมีขึ้นมาเพื่อปกป้องพลประจำรถ ซึ่งถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาเหล่านั้นจะสามารถมีชีวิตต่อไปได้อีกไม่นานนักแต่อย่างน้อยก็ยังสามารถที่จะมีชีวิตต่อไปได้

Object 279 ที่โดนพับโครงการไป

นอกจากนี้ทางสหภาพโซเวียตนั้นยังเคยได้คิดค้นรถถังสำหรับการอยู่ในสงครามนิวเคลียร์แบบขั้นสูงขึ้นมาชื่อ Object 279 แต่ด้วยน้ำหนักที่มากจนเกิดไปและปัญหารวมไปถึงอุปสรรคหลายอย่างทำให้โครงการนี้ถูกพับเก็บไป และสหภาพโซเวียตก็ได้หันกลับมาพัฒนารถถังในตระกูล T-54/55 ต่อไป

VT-4 ของไทยก็ติดตั้งระบบ NRBC Protection เพื่อทำให้สามารถรบได้ในสภาวะสงครามนิวเคลียร์เช่นกัน

ในปัจจุบันนี้นั้นรถถังได้ทำการพัฒนาระบบการป้องกันพลประจำรถรวมไปถึงตัวรถถังเองให้มีประสิทธิภาพสูงมากกว่าแต่ครั้งเมื่อสงครามเย็นแล้ว ทำให้การป้องกันของรถถังในปัจจุบันนั้นมีความสามารถในการรบภายใต้สภาวะสงครามนิวเคลียร์ได้ดียิ่งขึ้น ปกป้องกำลังพลได้ดีขึ้น และสามารถรับประกันชัยชนะในระดับนึงได้เช่นกัน ซึ่งตอนนี้นั้น รถถังยุคใหม่ที่เกิดขึ้นมาหลังยุคปลายสงครามเย็นจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะผลิตโดยชาติใดก็ตาม ก็ล้วนที่จะมีความสามารถในการปฏิบัติการภายใต้ภาวะสงครามนิวเคลียร์ รังสี ชีวะ เคมี ได้ทั้งสิ้น และถือว่าการติดตั้งระบบดังกล่าวนั้นเป็นระบบพื้นฐานที่รถถังทุกคันต้องมีในยุคปัจจุบัน


ที่มาของเนื้อหาสำหรับการเขียนบทความ

1. https://www.wearethemighty.com/gear-tech/t55-medium-tank-nuclear-war?rebelltitem=2#rebelltitem2

2.https://web.archive.org/web/20070919143939/http://www.rerf.or.jp/general/qa_e/qa1.html

3.http://tanknutdave.com/protection-systems/


เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์


ดู 1,435 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Bình luận


bottom of page