top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

กลาโหมนิวซีแลนด์เปิดเผยแผนจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำปี 2019


เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนิวซีแลนด์ นาย Ron Mark ได้เปิดเผยแผนป้องกันประเทศของกองทัพนิวซีแลนด์ของรัฐบาลประจำปี ค.ศ.2019 แก่สาธารณชน


ตามแผนที่เปิดเผยมานั้นรวมถึงแผนที่จะเขียนอยู่ในสมุดปกขาว Defence White Paper ฉบับปี ค.ศ.2022 ที่ครอบคลุมถึงแผนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ระยะยาวจนถึงปี ค.ศ.2030


ซึ่งตามแผนนั้นจะใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์หรือตีวงเงินโดยประมาณ 4 แสนล้านบาท ครอบคลุมตามแผนจนถึงปี 2030 ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ.2014 จนถึงปัจจุบันนั้นใช้งบประมาณไปแล้ว 5.8 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์หรือโดยประมาณ 1 แสนล้านบาท



รายละเอียดของแผนงาน (แปลจากประกาศของ รมต.กลาโหมนิวซีแลนด์ Ron Mark)


"สืบเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในภูมิภาคแปซิฟิกจนเกิดปัญหาภัยธรรมชาติแก่กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้นั้น การสนับสนุนความปลอดภัยทางด้านชีวิตและการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ถือเป็นหนึ่งในขีดความสามารถที่จะถูกเพิ่มเข้ามาให้กับกองทัพนิวซีแลนด์ตามแผนในสมุดปกขาว Defence White Paper ปี 2022"

ประกาศของนาย Ron Mark ได้กล่าวต่ออีกว่า


"ทั้งนั้นทั้งนั้นการเพิ่มขีดความสามารถในการลาดตระเวนทางทะเล, การตรวจตราทางทะเล, การรักษาเสถียรภาพและขีดความสามารถในการขนส่งยุทธภัณฑ์ของนิวซีแลนด์ในอาณาเขตทะเลทวีปแอนตาร์กติกาถือเป็นขีดความสามารถของกองทัพที่ยังต้องคงเอาไว้ เพื่อบรรลุตามแผนงานที่วางเอาไว้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แบบใหม่ทดแทนของเก่าเพื่อคงขีดความสามารถเอาไว้"

ซึ่งตามในเอกสารของกลาโหมนิวซีแลนด์นั้นมีการระบุใจความสำคัญหลักๆไว้ดังนี้


  • ขีดความสามารถทางด้านการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในเขตหมู่เกาะแปซิฟิกใต้

  • ขีดความสามารถในการลาดตระเวน, การตรวจตราทางทะเล, การบังคับใช้กฏหมายและการรักษาเสถียรภาพในเขตแปซิฟิกใต้และทวีปแอนตาร์กติกา ( ขั้วโลกใต้ )

  • ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศจากศัตรู

  • ขีดความสามารถในการตรวจการณ์ทางทะเลจากทางอวกาศ

  • ขีดความในการส่งกำลังบำรุงและยุทธภัณฑ์ ( Logistic )

  • ขีดความสามารถในการทำสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare )




แผนงานที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ :

  • แผนจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลและต่อต้านเรือดำน้ำแบบ P-8A Poseidon จากบริษัท Boeing สหรัฐฯเพื่อทดแทน P-3K2 Orion

  • แผนจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 Super Hercules จากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯเพื่อทดแทน C-130H Hercules

  • จัดหาเรือส่งกำลังบำรุงลำใหม่ HMNZS Aotearoa ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการต่อที่อู่ต่อเรือ DSME ประเทศเกาหลีใต้

  • การปรับปรุงยืดอายุเรือฟริเกตชั้น ANZAC จำนวน 2 ลำ HMNZS Te Kaha กับ HMNZS Te Mana ให้ทันสมัย โดยบริษัท Lockheed Martin Canada จากประเทศแคนาดา ซึ่งเริ่มแผนทำการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2007




แผนงานที่สำเร็จแล้ว :


  • การจัดหาเรือสำรวจมหาสมุทรมือสอง MV Edda Fonn จาก Myklebust Verft AS ประเทศนอร์เวย์ สำหรับภารกิจทำแผนที่ใต้มหาสมุทรและการกวาดทุ่นระเบิด ในชื่อ HMNZS Manawanui ทดแทน Manawanui ลำเก่า ซึ่งเพิ่งได้รับมอบเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

  • การจัดหาปืนประจำกายแบบใหม่ LMT MARS-L ทดแทนปืนเล็กยาวแบบ Austeyr F88

  • การจัดหาปืนไรเฟิลซุ่มยิงแบบใหม่ Barrett MRAD ทดแทนปืนไรเฟิลซุ่มยิง Arctic Warfare

  • การจัดหาปืนไรเฟิลต่อต้านวัตถุแบบ Barrett M107

  • ลายพรางแบบใหม่ Multi-terrain Camouflage Uniform ( MCU ) เพื่อทดแทนลายพรางแบบเก่า New Zealand Disruptive Pattern Material ( NZDPM ) และ Desert Disruptive Pattern Material ( DDPM )


แผนงานบางส่วนที่กำลังอยู่ในช่วงการพิจารณา :


  • แผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนทางทะเลแบบใหม่ ( Maritime Helicopter )

  • แผนจัดหาอากาศยานไร้คนขับระยะไกล ( Long range UAV )

  • แผนจัดหาเรือลาดตระเวนไกลฝั่งชั้นใหม่ ( OPV )

  • ดาวเทียมสำหรับการตรวจการณ์ทางทะเล ( Maritime satellite surveillance )


แผนงานบางส่วนในอนาคตซึ่งกำหนดไว้ในปี ค.ศ.2030 อิงจากสมุดปกขาว Defence White Paper ปี ค.ศ.2022 :


  • ปี ค.ศ.2030 ปลดประจำการเรือยกพลขึ้นบก HMNZS Canterbury พร้อมจัดหาเรือชั้นใหม่ทดแทน

  • ปี ค.ศ.2030 ปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น ANZAC ทั้ง 2 ลำ พร้อมจัดหาเรือฟริเกตชั้นใหม่มาทดแทน

  • ภายในปี ค.ศ.2035 กองทัพบกนิวซีแลนด์มีแผนเพิ่มกำลังพลให้ถึง 6,000 นาย

  • เพิ่มขีดความสามารถในการทำสงครามไซเบอร์ ( Cyber Warfare )


 

อ้างอิง :




 

แปล, เขียนและเรียบเรียงโดย : ปุณยกานต์ จุลาภา


ดู 495 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page