top of page

ทบ. เตรียมปฏิรูปหน่วยระดับกรมยึดหลัก "กองพลน้อย" จากมะกันและออสซี่

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

อัปเดตเมื่อ 19 ก.ค. 2562

พันเอกหญิง ฉัตรระพี พูนศรี รองโฆษก บก.ทัพไทย แถลงผลการประชุมคณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ ว่า ในส่วนของ กองทัพบก ได้มีการรายงานในที่ประชุมว่า มีการปรับปรุงโครงสร้างและเสริมสร้างหน่วยกำลังรบ ของ กองทัพบก ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างและเสริมสร้างหน่วยกำลังรบ เพื่อใช้เป็นหน่วยต้นแบบในอนาคต


โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างหน่วยกำลังรบระดับกรม ให้เป็นหน่วยที่มีความกะทัดรัด ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้พิจารณาเปรียบเทียบกับการจัดหน่วยแบบกองพลน้อยของสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย (Brigade Combat Team : BCT) โดยนำมาประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับกองทัพบก


ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ของหน่วยดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์

ควบคู่ไปกับการพิจารณาจัดหายานเกราะที่เหมาะสมเข้าประจำการ เพื่อให้กองทัพบกมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศรวมถึงภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย


 

กรมผสม หรือ Brigade Combat Team : BCT


คือหน่วยกำลังผสมที่มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถปฏิบัติงานได้อิสระ โดยมีจุดประสงค์หลักของกรมผสมคือการโจมตีระยะประชิดด้วยอำนาจการยิงและการดำเนินกลยุทธ์เพื่อทำลาย หรือ จับกุม หรือ ผลักข้าศึก มีความอ่อนตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามภารกิจ นอกจากนี้ยังสามารถประสานงานกับกำหลังเหล่าอื่นหรือกำลังพลเรือนได้


การจัดหน่วยกรมผสมในแต่ละกรมจะมีส่วนดำเนินกลยุทธ์ ส่วนการยิง ส่วนลาดตะเวน ส่วนดำเนินสภาพการรบ ส่วนข่าวกรอง ส่วนทหารสารวัตร ส่วนทหารช่าง นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นๆที่ไม่อยู่ในหน่วยกรมผสมแต่สามารถเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจได้เช่น ส่วนการบิน ส่วนกิจการพลเรือน เป็นต้น


ในปัจจุบันกองทัพบกไทยได้มีการอัตราระดับ กรมผสม ซึ่งมีความคล้ายครึงกับแบบเเผนการจัดของของกองทัพบกสหรัฐฯ


โดยได้มีการจัดหน่วยระดับ กรมผสม ทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ Heavy Brigade Combat Team,Infantry Brigade Combat Team :IBCT และ Stryker Brigade Combat Team : SBCT (ข้อมูลจากเอกสารปี 2559)


1. Heavy Brigade Combat Team หรือ กรมผสมแบบหนัก

เป็นการจัดหน่วยที่มีความสมดุลทั้ง ความคล่องตัวและอำนาจการรบ โดยมีการใช้ รถถัง ปืนใหญ่อัตตา-จร ยานรบ ในการรบ แต่กรมผสมแบบหนัก ต้องอาศัยขีดความสามารถในการขนส่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งอัตรการสิ้นเปลืองจะจำกัดระยะปฏิบัติการได้


กรมผสมแบบหนัก ประกอบด้วย

- 2 กองพันผสมเหล่า

อัตราการจัดแบบ 2 x 2 คือ 2 กองร้อยรถถัง 2 กองร้อยยานเกราะ ทำการรบแบบผสมเหล่า โดยได้รับการสนับสนุนจากปืน ค. 120 หมวดลาดตระเวน พลซุ่มยิง และ ชุดต่อต้านทุ่นระเบิด


- 1 กองพันลาดตระเวน

เพื่อใช้ลาดตระเวน รวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนการรบ มีขีดความสามารถในการป้องกันตัวได้ อัตราการจัดกองพันลาดตระเวนประกอบด้วย 3 กองร้อยลาดตระเวนโดยใช้ยานเกราะสายพานหรือยานเกราะล้อยางเป็นหลัก และ 1กองร้อยบังคับบัญชา


- 1 กองพันทหารปืนใหญ่

เพื่อใช้สนับสนุนการรบของส่วนดำเนินกลยุทธ์และยิงต่อต้านการยิงจากฝั่งตรงข้าม อัตราการจัดประกอบด้วย 2กองร้อยปืนใหญ่ขนาด 155มม. กองร้อยละ 2 หมวด หมวดละ 4 กระบอก


- 1 กองพันสนับสนุนกรมผสม

เป็นกองพันดำเนินสภาพการรบในอัตรากรมผสม มีหน่วยสนับสนุนทั้ง กองพันผสม กองพันทหารปืนใหญ่ และกองพันลาดตระเวน อย่างละ 1 กองร้อย นอกจากนี้ยังมี มีกองร้อยส่งกำลัง กองร้อยซ่อมบำรุงสนาม กองร้อยเสนารักษ์ ที่สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง


- 1 กองพันหน่วยพิเศษ

ประกอบด้วย กองร้อยทหารช่าง กองร้อยข่าวกรองทหาร หมวดทหารสารวัตร และ อื่นๆ


2. Infantry Brigade Combat Team :IBCT หรือ กรมผสมทหาราบ

คือกรมผสมที่มีอัตราการจัดเบาที่สุด มีหน่วยทหารราบเดินเท้าเป็นหลัก มีขีดความสามารถในการส่งทางอากาศ และดำเนินกลยุทธ์โดยการเคลื่อนที่ทางอากาศ กรมผสมทหารราบเหมาะสำหรับการปฎิบัติการในพื้นที่แบบปิด เช่น ป่า หนองน้ำ ภูเขา และพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่น


กรมผสมทหารราบ ประกอบด้วย

- 2 กองพันทหารราบ

ประกอบด้วย 3 กองร้อยปืนเล็ก และ 1 กองร้อยอาวุธ(ใช้อาวุธประจำกองร้อยเป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง)


- 1 กองพันลาดตระเวน

ประกอบด้วย 2 กองร้อยยานยนต์ และ 1 กองร้อยลาดตระเวนเดินเท้า


- 1 กองพันทหารปืนใหญ่

ประกอบด้วย 2 กองร้อยทหารปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตร มีปืนใหญ่ทั้งหมด 16 กระบอก เรดาร์ต่อต้านปืนใหญ่แบบ AN/TPQ-36 จำนวน 1 ระบบ และ เรดาร์ต่อต้านเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ AN/TPQ-48 จำนวน 4 ระบบ


- 1 กองพันสนับสนุน

อัตราการจัดเหมือนกรมผสมแบบหนัก แต่มีเครื่องมือขนส่งที่สามารถสนับสนุนกองร้อยปืนเล็กได้ 2 กองร้อย โดยสนับสนุนส่วนหน้าทั้ง 2 กองร้อย


- 1 กองพันหน่วยพิเศษ

อัตราการจัดเหมือนกรมผสมแบบหนัก


3. Stryker Brigade Combat Team :SBCT หรือ กรมผสมสไตรเกอร์

การจัดกรมผสมสไตรเกอร์ เป็นการจัดหน่วยที่มีความสมดุล ระหว่างความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายระดับยุทธศาสตร์และความคล่องตัวทางยุทธวิธี โดยใช้ยานเกราะแบบต่างๆเป็นยุทโธปกรณ์หลัก สามารถเข้าถึงพื้นที่การรบได้รวดเร็วกรมผสมแบบหนัก และมีอำนาจการยิงและการป้องกันมากกว่ากรมผสมแบบราบ กรมผสมสามารถปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชนเมือง และพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศสลับซับซ้อน


กรมผสมสไตรเกอร์ ประกอบด้วย


- 3 กองพันทหารราบ

มีการอัตราการจัดแบบ 3X3 คือ 3 กองร้อยปืนเล็ก มีตอนเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตร ติดตั้งบนยานเกราะล้อยาง เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60 มิลลิเมตร แบบนำพาไปกับทหารราบ มีหมวดปืนโจมตีติดตั้งบนยานเกราะ ชุดพลซุ่มยิง และในกองร้อยบังคับบัญชา ประกอบด้วยยานเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตร จำนวน 3 คัน เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มิลลิเมตร แบบนำพาไปกับทหารราบ, หมวดลาดตระเวนจำนวน 1 หมวด และพลซุ่มยิงจำนวน 2 หมู่


- 1 กองพันลาดตระเวน

จัดกำลังแบบอัตรา 5 กองร้อย คือ 1 กองร้อยบังคับบัญชา 3 กองร้อยลาดตระเวน 1 กองร้อยเฝ้าระวัง

โดยที่กองร้อยเฝ้าระวังมีขีดความสามารถในการตรวจจับทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน ประกอบด้วย หมวดอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี หมวดเครื่องตรวจจับภาคพื้นแบบผสม สถานีสื่อสารที่สามารถรับส่งได้ข้อมูลเสียง ข้อมูลดิจิทัล และภาพต่างๆจากหน่วยอื่น นอกจากนี้หมวดเครื่องตรวจจับภาคพื้นระยะไกล หมวดลาดตระเวนนิวเคลียร์ ชีวะเคมี ใช้ยานเกราะแบบ M1135 จำนวน 3 คัน


- 1 กองพันทหารปืนใหญ่

ประกอบด้วย 3 กองร้อยทหารปืนใหญ่ลากจูงขนาด 155 มิลลิเมตร(M777A2) จำนวนทั้งหมด 18 กระบอก เรดาร์ต่อต้านปืนใหญ่แบบ AN/TPQ-36 จำนวน 1 ระบบ เรดาร์ต่อต้านปืนใหญ่แบบ AN/TPQ-37 จำนวน 1 ระบบ และ เรดาร์ต่อต้านเครื่องยิงลูกระเบิดแบบ AN/TPQ-48 จำนวน 5 ระบบ


- 1 กองพันสนับสนุนกรมผสม

มีอัตราจัดทั้งหมด 4 กองร้อย ประกอบด้วย 1 กองร้อยแจกจ่าย 1 กองร้อยซ่อมบำรุงหน้า 1 กองร้อยเสนารักษ์ และ 1 กองร้อยบังคับบัญชา


- 1 กองร้อยต่อสู้รถถัง

มีอัตราจัด 3 หมวดต่อสู้รถถัง ในแต่ละหมวดประกอบด้วยยานเกราะติดตั้งอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังจำนวน 3 คัน


- 1 กองร้อยทหารช่าง

ประกอบด้วย หมวด Mobile Platoon จำนวน 3 หมวด หมวดสนับสนุนความคล่องตัวจำนวน 1 หมวด กองร้อยทหารมีขีดความสามารถในการสนับสนุนการข้ามคู่หรือลำน้ำอย่างจำกัด และภารกิจในการดำรงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติการ


- 1 กองร้อยทหารสื่อสาร

- 1 กองร้อยทหารข่าวกรอง


__________________________________________________________________


ที่มา : หนังสือความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักนิยมกำลังรบแบบผสมเหล่าระดับกรม(กรม.ผสม) จัดพิมพ์โดย ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบก


https://www.matichon.co.th/politics/news_1586728


ดู 1,355 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย

#DEFNET_News DTI มอบยานเกราะล้อยาง 8x8 VN-1 รุ่นบังคับการให้กองทัพบกไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทำพิธีส่งมอบยานเกราะล้อยางแบบ VN-1...

Comments


bottom of page