UH-X เป็นโครงการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นเพื่อเข้าประจำการแทนเฮลิคอปเตอร์แบบ Bell/Fuji UH-1J ที่เข้าประจำการในฐานะม้างานหลักของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1991
กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินในปัจจุบันใช้ UH-1H และ J. UH-1H เป็นเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ที่พัฒนาโดย Bell-Aircraft และ UH-1J ที่ใช้งานในปัจจุบันในปี 2019 เป็นการปรับปรุงที่เป็นเอกลักษณ์ของ UH-1H โดย Fuji Heavy Industries
โดยความต้องการสมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์ในโครงการ UH-X มีคร่าวๆดังนี้
- สมรรถนะการบินต่ำเป็นพิเศษในอุณหภูมิสูงและภูมิภาคสูง ความมั่นคงในเที่ยวบินนอกชายฝั่งทางไกล
- การปรับปรุงที่สำคัญในด้านความเร็วและประสิทธิภาพ (เทียบกับ UH - 1 H/J)
- ราคาเทียบเท่าหรือน้อยกว่า UH-1J (ประมาณ 1.2 พันล้านเยนต่อเครื่อง)
เนื่องจากไม่มีแบบจำลองที่สอดคล้องกับเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ที่มีอยู่ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจึงตัดสินใจและเสนอข้อตกลงให้ผู้ที่เข้ามาแข่งขันในการพัฒนาโครงการ UH-X ไปแบบนี้
- เครื่องที่ออกแบบใหม่โดยใช้ Kawasaki OH-1 ที่ผลิตในประเทศ เป็นพื้นฐานในการออกแบบ
- UH-1J แบบใหม่
ซึ่งสุดท้ายแล้วหลังจากได้ลองเปรียบเทียบความคุ้มค่าต่างๆแล้ว จึงได้มีการประเมินว่าจะเลือกแบบพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันแทนก็คือการนำเอา Kawasaki OH-1 Ninja ซึ่งจะมีความคุ้มค่าและเหมาะสมกว่า และมีการประเมินแล้ว่าจะใช้งบประมาณในการพัฒนาจะอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านเยน และจะมีราคาต่อลำอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านเยนต่อลำหากมีการสั่งเข้าประจำการจำนวน 140 ลำ
กระดาษที่ว่างเปล่า
เหตุการณ์สะเทือนโครงการนี้ UH-X ก็ได้เกิดขึ้นในเดือนกันยายนปี 2012 เมื่อมีการเข้าไปพัวพันในโครงการนี้ของเจ้าหน้าที่บริหารของกองกำลังป้องกันตนเองท่านนึงเกี่ยวข้องกับข้อหาในการตรวจสอบวัสดุและวัตถุดิบของคู่แข่ง ซึ่งนั่นก็คือ Fuji Heavy Industries ซึ่งในตอนนั้นเป็นคู่แข่งกับ Kawasaki Heavy Industries ในช่วงที่มีการเสนอแผนการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ในโครงการ UH-X ซึ่งสุดท้ายแล้ว ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ที่รุนแรงและส่งผลต่อความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
และก็ได้มีการลงดาบต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการลงโทษทางวินัยต่อเจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นที่มีส่วนเกี่ยวที่ทำให้เกิดการปละมูลงานจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และอีกส่วนนึงนั้นก็คือระงับการเข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในส่วนของกระทรวงกลาโหมเป็นเวลา 2 เดือน และนั่นเองก็ทำให้โครงการ UH-X กลายเป็นกระดาษที่ว่างเปล่าไปช่วงนึงเลยทีเดียว
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ
วันที่ 29 เมษายน 2014 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้มีการประกาศว่าอาจะมีการเอาอากาศยานที่ใช้ในทางพลเรือนเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ในโครงการ UH-X ซึ่งก็ดูเป็นทางออกที่สำหรับญี่ปุ่น แต่กลับมีผลกระทบต่อข้อกฎหมายด้านการส่งออกยุทธภัณฑ์ของญี่ปุ่นถึง 3 ข้อที่เพิ่งบังคับใช้กันไปหมาดเมื่อตอนวันที่ 1 เมษายน 2014 กันเลยทีเดียว
วันที่ 11 กรกฎาคม 2014 มีการเปิดเผยว่ามีการร่วมทีมเพื่อเข้าแข่งขันในโครงการ UH-X มากถึง 3 ทีม ซึ่งภายใต้แผนของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นนั้นมีการเปิดเผยออกมาอีกว่า นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่โครงการพัฒนายุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นจะมีเป้าหมายในการผลิตเพื่อ”ส่งออก” เป็นหลักตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพราะหากเป็นไปได้ทางกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นชี้แจงว่าจะทำให้ต้นการผลิตอากาศยานในโครงการ UH-X จะมีราคาที่ต่ำลงอย่างแน่นอน รวมไปถึงมีการให้ความเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นด้วยว่า “ราคาของอากาศยานจะมีเสถียรภาพมากขึ้นถ้าเราสามารถขายทำให้เอกชนขายอากาศยานเหล่านั้นในตลาดโลกได้”
ผู้เข้าแข่งขันในโครงการ UH-X
ทีม KHI/Airbus เสนอการพัฒนา UH-X บนพื้นฐานของ Airbus X-9 ;หมายเหตุเพิ่มเติม ที่ผ่านมา KHI หรือ Kawasaki Heavy Industries นั้นได้รับการว่าจ้างจากกระทรวงกลาโหมในการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนเบาแบบ OH-1 Ninja รวมทั้งการปรับปรุง BK-117/EC145 ไปแล้ว แถมยังเคยเสนอ H160 มาในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ถูกทางกระทรวงกลาโหมตีตกไป
ทีม FHI (Fuji Heavy Industries)/Bell Helicopter เสนอการพัฒนา UH-X บนพื้นฐานของ Bell-412EPI รุ่นล่าสุกจาก Bell Helicopter ; หมายเหตุเพิ่มเติม ก่อนหน้านี่ Fuji Heavy Industries ก็เป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ให้ทำการผลิต Fuji/Bell UH-1H ของกองกำลังป้องกันตนเองมาแล้วในอดีต รวมไปถึงการปรับปรุง Fuji/Bell UH-1H ให้เป็นรุ่นมาตรฐาน UH-1J ที่ใช้งานเป็นม้างานหลักของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นในปัจจุบันด้วยเช่นกัน
และในตอนแรกนั้น Mitsui ก็พา AW-169 รุ่นที่ใช้งานในสหราชอาณาจักร มาเข้าแข่งขันด้วย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถเข้าแข่งจันได้เพราะมีเหตุผลบางอย่างในด้านคุณสมบัติที่ไม่ตรงต่อความต้องการของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ UH-X
เปรียบเทียบระหว่าง Airbus X9 และ Bell 412EPI
Airbus X9
ตัวเครื่อง : X9 เปิดเผยครั้งแรกในแผนการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ของ Airbus เมื่อปี 2012 ซึ่งมีการวางแผนว่าจะมีการทำ X9 ขึ้นมาเพื่อทดแทน EC135 และ EC145 โดยมีกำหนดการในการบินเที่ยวแรกในปี 2019 (หะ ฟังไม่ผิดหรอกครับ เสนอตอนปี 2014 ให้กับญี่ปุ่น แต่ยังไม่มีเครื่องทดสอบด้วยซ้ำ มีเพียงแต่คอนเซปเท่านั้น) โดย X9 นั้นจะพัฒนาบนพื้นฐานของ BK117 ที่ขยายขนาดของลำตัวให้ใหญ่ขึ้นอีกทีนึง โดยมีช่องประตูด้านข้างที่มีความกว้างขวางมากขึ้น และมีประตูบริเวณด้านหลังของเครื่องด้วย และมีการประมาณการว่าจะมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 1 พันล้านยูโร(ประมาณ 127,000 ล้านเยน)
ข้อดี : เนื่องจากเป็นอากาศยานแบบใหม่ทำให้ไม่ล้าสมัยได้ง่ายๆ
ข้อเสีย : ยังไม่มีแม้แต่การขึ้นบินเที่ยวแรกในตอนนั้น (ปี 2014)
Bell 412EPI
ตัวเครื่อง : Bell 412EPI เป็นรุ่นล่าสุดที่ปรับปรุงจากประสบการณ์ของ Bell 212 และ Bell 205 (UH-1D/H) มีการใช้เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบใหม่อย่าง PT-6T-3D เพิ่มจำนวนใบพัดประธานจาก 2 ใบในรุ่น Bell 212 เป็นใบพัดประธาน 4 ใบในรุ่น Bell 412EPI
ข้อดี :
- เนื่องจากยังอยู่ในช่วงการปรับปรุง UH-1H ให้เป็น UH-1J จึงง่ายต่อการปรับรูปแบบการผลิตให้รองรับการผลิตได้อย่างง่ายดาย
- มีการใช้งานอยู่ในหลายหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น ทั้งหน่วยดับเพลิง หน่วยป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ หน่วยงานยามฝั่ง (Coast Guard) และมีการดัดแปลงไปใช้ในหลายภารกิจอีกมากมาย
ข้อเสีย
- การออกแบบพื้นฐานนั้นมีความล้าสมัย และยังมีความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาต่อไปในอนาคต
การตัดสินใจ
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีการขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการพัฒนาอากาศยานในโครงการ UH-X ในปี 2015 อยู่ที่ 1,000 ล้านเยน และได้มีการปิดการพิจารณาข้อเสนอของผู้เข้าแข่งขันในโครงการวันที่ 2 มิถุนายน
และในวันที่ 15 กรกฎาคม 2015 ก็ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า Bell 412EPI ได้เป็นผู้ชนะในโครงการ UH-X และมีการวางแผนว่าจะมีการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำแรกจากโครงการ UH-X ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2018 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่มีต่อโครงการนี้ก็คือความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ส่งผลต่อการเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะในโครงการ UH-X
วันที่ 25 สิงหาคม 2015 ได้มีการลงข่าวในนิตยสาร Financial Times ว่า Airbus นั้นแพ้ในการแข่งขันในโครงการ UH-X มีการพยายามหาเหตุผลจากทางกลาโหมและศาลญี่ปุ่นว่าทำไม Airbus ถึงแพ้ แต่ถึงกระนั้นทางโฆษกหญิงของ Airbus ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลว่ายังไม่มีการร้องขอทราบเหตุผลถึงขั้นนั้น โดยเหตุการณ์ที่บริษัทจากต่างชาตินั้นแพ้ให้กับบริษัทภายในประเทศนั้นมีการเกิดขึ้นแล้วมีประเด็นใหญ่ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกเพื่อทดแทน Fuji T-3 ซึ่งในโครงการนั้นบริษัทต่างประเทศที่เข้าแข่งขันแล้วแพ้ Fuji Heavy Industries ก็คือ Pilatus จากสวิสเซอร์แลนด์ที่ส่ง Pilatus PC-7 Mk.II เข้าแข่งขัน แล้วก็ต้องแพ้บายไปเนื่องจากมีการพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันตนเองที่เป็นคณะกรรมการในการคัดเลือกในตอนนั้น ทำให้สุดท้ายแล้ว Fuji Heavy Industries นั้นเป็นผู้ชนะแล้วพัฒนาเครื่องบินฝึกแบบ Fuji T-7 เข้าประจำการแทน ซึ่งเจ้า T-7 นั้นก็พัฒนาบนพื้นฐานของ T-3 เช่นกัน
ทีมงานร่วม JHI/Bell Helicopter ได้กล่าวว่า ภายในโครงการ UH-X นี้จะมีการปรับปรุง Bell 412EPI หลายอย่างด้วยกัน ทั้งห้องนักบินรุ่นใหม่ที่มีความทันสมัย อุปกรณ์อินฟาเรด เพิ่มน้ำหนักบรรทุกรวม ปรับปรุงเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้าง ปรับปรุงความสามารถในการบินแม้สารหล่อลื่นในชุดเกียร์จะไม่มีเหลือหรือไม่ทำงานแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังเอาเทคโนโลยีการผลิตโครงสร้างอากาศยานที่ทันสมัยของ Fuji Heavy Industries มาใช้งานอย่างเต็มที่ โดยจะมีชื่อใหม่ก็คือ SUBARU Bell 412EPX โดยทาง Fuji Heavy Industries จะเป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ในโครงการ UH-X ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดเพื่อส่งมอบให้กับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
หลังจากมีการบินทดสอบ SUBARU Bell 412EPX ไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2018
ล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัวและส่งมอบ SUBARU Bell 412EPX อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมา โดยพิธีการส่งมอบนั้นถูกจัดขึ้นที่โรงงานของ SUBARU หรือชื่อในอดีตก็คือ Fuji Heavy Industries ที่ประเทศญี่ปุ่น
เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
留言