- เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สิงคโปร์ ทำพิธีเปิดตัวเรีือดำน้ำรุ่นใหม่ ในชื่อ RSS Invincible เรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่เป็นการออกแบบจากเรือดำน้ำรุ่นส่งออกของเยอรมัน ทั้ง Type 214 และ Type 216 กลายเป็นเรือดำน้ำรุ่น Type 218SG ที่มีระวางขับดันน้ำขนาด 2,000 ตัน
สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นประเทศเกาะเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสองชาติยักษ์ใหญ่ ทั้ง สหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐอินโดนิเซีย ในบริเวณช่องแคบมะละกา แต่มีความสำคัญมากทั้งด้านเชิงพาณิชย์ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย และยังเป็นจุดแลกเป็นสินค้าและน้ำมันที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
รัฐบาลสิงคโปร์ มีการใช้จ่ายกับ กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ สูงมากเพื่อให้กองทัพมีขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ กองทัพสิงคโปร์ มีการจัดหายุทโธปกรณ์จากค่ายตะวันตกที่มีมีความทันสมัย เช่น เครื่องบินัขบไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52+ Fighting Falcon จำนวนมากกว่า 60 ลำ ,เครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle จำนวนมากกว่า 40 ลำ ,รถถังหลัก Leopard 2SG ที่เป็นรุ่นปรับปรุงของ Leopard 2A4 ให้มีความทันสมัย และล่าสุดคือ เครื่องบินขับไล่ล่องหน Lockheed Martin F-35B Lighting II ที่ลงนามจัดหาไปแล้ว จำนวน 4 ลำ และวางแผนที่จะนำเครื่องบินรุ่นนี้เข้ามาทดแทน F-16 ทั้งหมด
ส่วนความสัมพันธ์กับ สาธารณรัฐประชาชนจีน นั้น ก็ถือว่าเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจประเทศหนึ่งของสิงคโปร์ แต่ด้วยการที่จีนอ้างสิทธิ์ในหมู่เกาะเขตทะเลจีนใต้ ทำให้สหรัฐนำอากาศยานและเรือรบจำนวนหนึ่งมาประจำการไว้ที่นี่ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่เป็นกลาง แต่ถูกมองว่าแอนเอียงเข้าไปทางสหรัฐ เพื่อให้สหรัฐสามารถถ่วงดุลอำนาจจีนในภูมิภาคนี้ ซึ่งจีนก็แสดงออกด้วยการสนับสนุนไทยให้ขุดคลองคอขอดกระ เพื่อไม่ต้องไปผ่านสิงคโปร์
เรือดำน้ำรุ่น Type 218SG เช่นเดียวกับการออกแบบของเรือดำน้ำเยอรมันร่วมสมัย ใช้เซลล์เชื้อเพลิงแบบไฮโดรเจนเพื่อจุดประสงค์การใช้งานสูงสุดและมีเสียงดังน้อยกว่าเครื่องยนต์ Stirling Air-independent propulsion (AIP) ที่ใช้กับเรือดำน้ำชั้น Archer ของสวีเดนซึ่งเรือดำน้ำที่สิงคโปร์จัดหาเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2556 เรือดำน้ำ Invincible ได้รับการกล่าวขานว่ามีความสามารถในการอยู่ใต้น้ำมากกว่า Archer ถึง 50% ซึ่งหมายความว่ามันจะยังอยู่ใต้น้ำได้ราวๆ สี่ถึงหกสัปดาห์ก่อนที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ อย่างไรก็ตามเซลล์เชื้อเพลิง Air-independent propulsion (AIP) มีข้อเสียของการมีราคาแพงกว่าและอาจไม่คงที่ได้ หากเรือดำน้ำได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น เรือดำน้ำ AIP ยังคงไม่สามารถรักษาความเร็วได้ 30 นอตและยังไม่สามารถอยู่ใต้น้ำอย่างเรือดำน้ำนิวเคลียร์สามารถทำได้ แต่เรือดำน้ำ AIP มีค่าปฏิบัติการที่น้อยกว่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในระยะปฏิบัติการไม่ไกลมา
เรือดำน้ำรุ่นใหม่มีระบบการอำนวยการรบแบบใหม่ที่ซับซ้อนซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่างเยอรมนีและสิงคโปร์ พร้อมอัลกอริธึมในคอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ระบบอัตโนมัติต่างๆที่ทำให้เรือดำน้ำรุ่นนี้ใช้ลูกเรือเพียง 28 นาย ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้เรือมีพื้นที่มากขึ้น สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองหรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
Type 218SG มีท่อยิง จำนวน 8 ท่อยิง สำหรับการยิงตอร์ปิโดขนาด 533 มิลลิเมตร แทนที่จะเป็นแบบที่มี 6 ท่อยิง ในขณะที่รายละเอียดอย่างเป็นทางการของยุทธภัณฑ์ที่เรือสามารถใช้งานได้ ยังมีเพียงว่าสามารถยิงตอร์ปิโดหนัก แต่เรือก็มีสามารถติดอาวุธด้วยทุ่นระเบิดทางเรือหรืออาวุธปล่อยต่อต้านเรือเช่น Boeing UGM-84G Harpoon Block 1J หรือ อาวุธปล่อยน้ำวิถีร่อนแบบ Raytheon UGM-109E Tomahawk (TLAM Block IV) ซึ่งสามารถยิงได้ทั้งเป้าหมายภาคพื้น
นาย อึ้ง เอง เฮน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ กล่าวเน้นย้ำถึงประโยชน์ของเรือดำน้ำในการปฏิบัติการสันติภาพในหลากหลายภารกิจทั้งการควบคุมและป้องกันการลักลอบขนอาวุธและการค้ามนุษย์เป็นต้น แต่ เรือดำน้ำรุ่น Type 218SG ก็ยังคงความสามารถในการยับยั้งภัยคุกคามต่อรัฐซึ่งถ้าหากสิงคโปร์ถูกคุกคามหรือถูกบังคับให้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศในภาวะวิกฤต เรือดำน้ำของสิงคโปร์ก็สามารถปฏิบัติการเพื่อป้องกันเข้าถึงช่องแคบมะละกา แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามที่เหนือกว่าในด้านจำนวนก็ยังต้องพยายามเพื่อตามล่าเรือดำน้ำ
ตอนนี้ เรือดำน้ำ RSS Invincible เตรียมเริ่มการทดลองทางทะเลในขณะที่ลูกเรือของสิงคโปร์กำลังฝึกซ้อมในเยอรมนีเตรียมพร้อมสำหรับการวนำเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2564 ในขณะเดียวสิงคโปร์จัดหาเรือดำน้ำ RSS Illustrious และ RSS Impeccable ที่จะได้รับมอบในปี พ.ศ. 2567 และเรือดำน้ำลำที่ 4 เรือ RSS Inimitable ที่เตรียมจัดหาในอนาคตเพื่อทดแทนเรือดำน้ำที่สิงคโปร์ประจำการมาก่อนหน้า
ที่มา
https://nationalinterest.org/blog/buzz/submarine-invincible-meet-super-sub-headed-chinas-doorstep-45987?fbclid=IwAR2z5TiE_vri5HkhjAb8OeAktEVsFDDy8HOuqhNIUiK3Mb0WkMzYvuXGooA
Comments