#DEFNET #PanusAssembly #HMV150 #ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
HMV-150 หยาดน้ำตาจากความสูญเสีย สู่สุดยอดการปรับปรุงยานเกราะล้อยางของคนไทย HMV-150 หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นกับชื่อรหัสรถรุ่นนี้สักเท่าไร แต่หากพูดถึง V-150 แล้วล่ะก็ต้องถึงบางอ้อกันอย่างแน่นอน ซึ่งเจ้ายานเกราะ V-150 ตัวนี้นั่นก็เป็นยานเกราะที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในกองทัพไทย และยังมีบางส่วนที่ได้ถูกส่งไปประจำการยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทำภารกิจลาดตระเวนและคุ้มกันชาวบ้าน และผู้บริสุทธิ์
ซึ่งการปฏิบัติการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั่นเองที่ทำให้เกิดการสูญเสียหลายครั้งขึ้น และก็ได้เกิดการสูญเสียครั้งสำคัญครั้งหนึ่งขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2555 หน่วยลาดตระเวนได้สูญเสีย จ.อ.อิศราวุธ พละศักดิ์ พลขับของยานเกราะ V-150 ที่โดนระเบิดแสวงเครื่องในถังก๊าซหุงต้มขนาด 50 กิโลกรัมไป ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้น นอกจากจะต้องสูญเสียทหารกล้าผู้ปกป้องผืนแผ่นดินไทยแล้ว ก็ยังต้องทำการปลดระวางยานเกราะV-150 คันดังกล่าวแทบไปในทันที เนื่องด้วยแรงระเบิดของระเบิดขนาด 50 กิโลกรัมทำให้บริเวณตัวรถด้านหน้าเกิดความเสียหาย ตัวถังหน้าเกิดการฉีกออก และไม่สามารถซ่อมแซมกลับมาได้
แต่ถึงกระนั้นทางหัวหน้าชุดรับผิดชอบหน่วยลาดตระเวน ณ ตอนนั้นก็ได้มองถึงเรื่องความต้องการยานเกราะที่จะสามารถทนแรงระเบิดได้ดีกว่านี้ มาเพื่อปกป้องกำลังพลของตนเอง จึงได้ทำการหาบริษัทที่สามารถทำยานเกราะที่มีความสามารถในการทำได้ ทางบริษัท Panus Assembly จึงได้เข้ามาเสนอ และขอนำเจ้า V-150คันดังกล่าวไปทำการปรับปรุง และสร้างใหม่เป็น “HMV-150” และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างที่จะลืมพูดไปไม่ได้ก็คือ “โครงการนี้ Panus ทำให้ฟรี”
HMV-150 เป็นผลงานการปรับปรุงยานเกราะล้อยางรุ่น V-150 ซึ่งแค่เดิมนั้น V-150 ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัท Cadillac Gage ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งกองทัพไทยได้จัดหามาใช้งานทั้ง 3 เหล่าทัพมีจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 300 คัน ซึ่งการปรับปรุงเป็น HMV-150 นั้นจะเป็นการปรับปรุง V-150 ในส่วนของกองทัพเรือเพื่อนำไปใช้งานในภารกิจลาดตระเวนในอนาคต
การปรับปรุงครั้งนี้นั้นมีความต้องการให้ V-150 นั้นมีความสามารถด้านการป้องกันในระดับเดียวกับPhantom-380X-1 ซึ่งทางบริษัท Panus Assembly นั้นแทบจะเรียกได้ว่าออกแบบใหม่ขึ้นมาเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากการปรับปรุงให้เป็นเป็น HMV-150 นั้นมีองค์ประกอบทั้งโครงสร้างตัวถัง เครื่องยนต์ ระดับการป้องกันที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความสามารถด้านอื่นๆด้วยเช่นกัน โดยมีรายการอัพเกรดดังนี้
ด้านตัวถังทาง Panus ได้ทำการสร้างตัวถังใหม่ให้มีความยาวมากกว่าเดิมจาก 5.69 เมตร เป็น 6.5 เมตร ด้านความกว้างมากกว่าเดิมจาก แต่เดิมกว้าง 2.26 เมตร เป็น 2.5 เมตร
ด้านเครื่องยนต์ทาง Panus ได้ทำการเปลี่ยนใหม่ทั้งเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังทั้งหมดใหม่ครับ จากเดิมที่ใช้เครื่องยนต์Chrysler361 แบบ 8 ลูกสูบ ให้กำลัง 250 แรงม้า เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ Cummins ISLe Euro3 แบบ 6 ลูกสูบ ให้กำลัง 350 แรงม้า ระบบส่งกำลัง Allison 4500 SP เกียร์อัตโนมัติ 6 ความเร็ว สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ด้านการป้องกันตัวถังใหม่ของ HMV-150 นั้นมีความสามารถในการป้องกันที่สูงขึ้นด้วยระบบเกราะ 2 ชั้นที่มีความหนาด้านบนหลังคาและด้านข้างอยู่ที่ 12 มิลลิเมตร และมีความหนา 16 มิลลิเมตรที่ใต้ท้องรถ และตัวถังใหม่ยังมีการออกแบบให้เป็นทรง V-Shape เพื่อลดแรงปะทะของระเบิดด้วยครับ
ในปัจจุบันทางนาวิกโยธิน ในสังกัดของกองทัพเรือทำการรับเจ้า HMV-150 นี่ไปทดสอบเรียบร้อยแล้ว
การปรับปรุง V-150 เป็น HMV-150 ในครั้งนี้นั้นถือว่าเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพเป็นอย่างดีเลยครับ และถือเป็นการพิสูจน์ให้ได้อย่างชัดเจนเลยว่า Panus Assembly ซึ่งเป็นบริษัทของคนที่ทำให้พื้นฐานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยก้านขึ้นมาในอีกระดับครับ
เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
และขอขอบคุณข้อมูลจากทางบริษัท Panus Assembly เป็นอย่างยิ่ง ที่คอยให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมตลอดมา
http://www.panus.co.th/home
ความคิดเห็น