#DEFNET #PanusAssembly #HMV420 #AFV420P #ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ
HMV-420
HMV-150 คือการนำเอา Cadillac Gage Commando V-150 ที่เสียหายมาทำการปรับปรุงเพื่อให้มีความสามรถสูงขึ้น ซึ่งการปรับปรุง V-150 เป็น HMV-150 ในครั้งนั้นทำให้ทาง Panus ได้รับองค์ความรู้และประสบการณ์จริงมามากขึ้น ทำให้เกิดความคิดในการสร้างยานเกราะล้อยางในแบบของ Panus เอง โดยอาศัยองค์ความรู้ที่ได้รับมาจึงได้เกิดขึ้นมาเป็นโครงการพัฒนายานเกราะล้อยางแบบ 4x4 รุ่นใหม่ภายใต้ชื่อ "HMV-420"
HMV-420 ยานเกราะล้อยางแบบ 4x4 ที่ออกแบบและสร้างขึ้นทั้งคันโดยฝีมือการออกแบบของ Panus Assembly บริษัทเอกชนของคนไทยที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ซึ่งการออกแบบ HMV-420 นั้น ทำการออกแบบใหม่ขึ้นนั้น ใช้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากยานเกราะล้อยางรุ่นปรับปรุงอย่าง HMV-150 ที่ทาง Panus ได้ทำการปรับปรุงไป แต่ถึงแม้ว่าจะใช้พื้นฐานจาก HMV-150 แต่ก็ต้องออกแบบใหม่เกือบทั้งคันเนื่องจาก HMV-150 นั้นยังปรับปรุงจากตัวถังเดิมของ V-150 ไม่มากนัก จึงทำให้ทางพนัสต้องทำการออกแบบตัวถังใหม่ให้มีมิติที่ใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะสามารถบรรทุกทหารไปได้มากขึ้น รวมไปถึงเมื่อตัวถังมีมิติที่ใหญ่ขึ้นทำให้ต้องออกแบบระบบเกราะและอีกหลายๆอย่างของ HMV-420 ใหม้มีความแตกต่างจากของเดิมไปมากเลยทีเดียว
ผลลัพธ์หลังจากการออกแบบใหม่คือ ยานเกราะที่มีมิติขอตัวรถที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม มีความยาวของตัวถังเมื่อเทียบกับตัวถังเดิมของ V-150 ที่ยาวเเพียง 5.69 เมตร กว้างเพียง 2.26 เมตร ใน HMV-420 นั้นมีความยาวถึง 6.647 เมตร และกว้าง 2.694 เมตร สูงถึง 3 เมตร ซึ่งนั่นหมายความจะไม่สามารถใช้การตัวถังเดิมของ V-150 มาทำการปรับปรุงเป็น HMV-420 ได้อีกแล้ว แล้ว Panus จะทำอย่างไร เมื่อไม่สามารถเอาตัวถังมาทำการปรับปรุงได้แล้ว???
"สร้างขึ้นมาเองสิ" นั่นคือคำตอบของ Panus ที่ชัดเจนที่สุด หลังจากนั้น Panus จึงได้ลงทุนและลงแรงและระดมสมองของส่วนงาน Panus Defnese มาเพื่อสร้าง HMV-420 คันใหม่ขึ้นมาทั้งคัน และนี่ก็ถือเป็นจุดกำเนิดของยานเกราะล้อยางที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดแบบนึงของไทย
HMV-420 ไม่ได้มีเพียงมิติของตัวรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่เพียงเท่านั้น ส่วนประกอบอื่นของตัวรถก็ใหม่หมดเช่นกัน เครื่องยนต์ Cummins ขนาด 420 แรงม้าพร้อมระบบเกียร์ส่งกำลังของ Allison 4500SP ทำให้สามารถทำความเร็วได้มากถึง 110 กิโลมเตร/ชั่วโมง แม้จะว่าตัวรถนั้นจะมีน้ำหนักมากถึง 17 ตัน ,ระบบวงเลี้ยวอิสระทั้งล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง, ระบบช่วงล่างแบบ 2 ชั้นทำให้ซึมซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น มาพร้อมกับระยะปฏิบัติการไกลสุด 800 กิโลมเตร
นอกจากนี้ HMV-420 ยังสามารถบรรทุกทหารไปได้อีก 11 นาย ไม่รวมกับพลประจำรถอีก 2 นาย ซึ่งนั่นหมายถึง HMV-420 สามารถบรรทุกทหารไปได้ทั้งหมด 13 นาย หรือเทียบเท่า 1 ปืนเล็กซึ่งจำนวนบรรทุกนี้มากกว่า V-150 และ HMV-150 ที่สามารถพาไปได้เพียง 9-11 นายเมื่อรวมพลประจำรถแล้ว HMV-420 สามารถบรรทุกน้ำหนักไปได้รวมแล้ว 1.5 ตัน รวมไปถึงรองรับความสามารถในการติดตั้งป้อมปืนได้หลากหลายขนาดตั้งแต่ปืนกลขนาด 7.62 มิลลิเมตร ไปจนถึงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มิลลิเมตร และตัวถังของ HMV-420 นั้นสามารถป้องกันกระสุนตามมาตรฐานนาโต้ได้ที่ระดับ 3 (STANAG 4569 Level 3) ซึ่งสามารถป้องกันกระสุนเจาะเกราะขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร ได้ที่ระยะ 200 เมตร และในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันระเบิดได้สูงสุด 10 กิโลกรัมตามมาตรฐานนาโต้ (STANAG 4569 Level 4B) อีกด้วย
AFV-420P Mosqito ยุงพิฆาต
หลังจากนั้นที่หน่วยปฏิบัติการของกองทัพไทยได้ทำการทดสอบและรับเอา HMV-420 ไปทดสอบและประเมินประสิทธิภาพจากการใช้งานจริงเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้ทำการส่งรายงานกลับมายัง Panus เพื่อรายงานผลการทดสอบและการใช้งานจริง
หลังจากนั้นทาง Panus ก็ได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่มากขึ้นของ HMV-420 ที่เป็นรุ่นลำเลียงพล ซึ่งจะเน้นการลำเลียงทหารเข้าสู่เขตพื้นที่ปะทะ จึงได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพตามคำแนะนำของหน่วยงานทดสอบของกองทัพไทย และเกิดขึ้นมาใหม่อีก 1 รุ่นคือ AFV-420P (Armored Fighting Vehicle) ซึ่งเป็นรุ่นที่ทำขึ้นมาสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการของทหารราบโดยเฉพาะ
จุดเด่นที่เห็นเด่นชัดเจนมากและแตกต่างจากตัวของ HMV-420 คือตัวถังใหม่ที่ยังใหญ่ขึ้นได้อีก!!! จากเดิมที่ยาวถึง 6.647 เมตร และกว้าง 2.694 เมตร แล้วนั้น ทาง Panus ก็ได้ขยายมันออกไปอีกเป็น ยาว 6.72 เมตร และกว้าง 2.86 เมตร รวมไปถึงสิ่งสำคัญสำหรับตัวถังของยานเกราะล้อยางก็คือ เกราะของตัวถังที่จากเดิมกันกระสุนขนาด 7.62x51 มิลลิมเตรได้แล้วนั้น ใน AFV-420P นั้นสามารถป้องกันกระสุนขนาด 12.7 มิลลิเมตรหรือที่หลายๆคนเรียกกันว่าขนาด .50 นิ้วได้ด้วยนั่นเอง
และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ทำให้ AFV-420P นั้นมีความแตกต่างจาก HMV-420 รุ่นลำเลียงพลก็คือความสามารถในการรองรับการติดตั้งระบบอาวุธที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งปินกลตั้งแต่ขนาด 7.62 มิลลิเมตร ไปจนถึงปืนใหญ่ขนาด 90 มิลลิเมตร หรือจะติดตั้งระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังพร้อมกับป้อมปืนกลขนาด 12.7 มิลลิเมตร ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังได้ใช้ Platform ของ AFV-420P เพื่อสร้างรถรุ่นอื่นๆให้ใช้งานได้หลากหลาย เช่น รถบรรทุกทหารราบ, รถตรวจการณ์หน้า, รถลาดตระเวน, รถติดตั้งเรดาร์, รถสื่อสาร/บังคับการ, รถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด, รถป้องกันสนามบิน และรถสำหรับหน่วยรบพิเศษ
ในส่วนของระบบขับเคลื่อนนั้นก็ถือเป็นที่พูดถึงกันมากพอสมควร เนื่องด้วยเครื่องยนต์ขนาด 420 แรงม้า เกียร์จาก Allison USA. ระบบวงเลี้ยวแบบอิสระ รวมไปถึงระบบช่วงล่างแบบ 2 ชั้นที่เรียกได้ว่ายกมาจาก HMV-420 ทำให้ AFV-420P นั้นมีประสิทธิภาพด้านพลกำลังเป็นอย่างมาก และสามารถทำความเร็วได้ไม่ต่างจากรุ่นลำเลียงพลแบบ HMV-420 เลย ด้วยความเร็ว 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนทางราบเลยทีเดียว
ด้วยความสามารถที่หลากหลาย ทาง Panus จึงได้ทำการทดสอบและเปิดตัว AFV-420P ที่สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะกรมการขนส่งทหารบกที่จังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมาไปเป็นที่เรียบร้อย และหลังจากที่มีการเปิดตัวไปแล้วนั้น ทาง Panus นอกจากที่มีการตั้งเป้าที่จะขายให้กับหน่วยงานภายในประเทศแล้วนั้น ยังวางแผนที่จะจำหน่ายออกไปย้งตลาดต่างประเทศเพื่อขยายฐานการผลิตและสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชาติต่อไปอีกด้วย
เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
และขอขอบคุณข้อมูลจากทางบริษัท Panus Assembly เป็นอย่างยิ่ง ที่คอยให้การสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมตลอดมา
http://www.panus.co.th/home
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Battlefield Defense : บก.สมพงษ์
1. https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1462255793877527
2. https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1385401628229611
Σχόλια