top of page
รูปภาพนักเขียนDEFNET

Type 01 LMAT อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังที่ทรงพลังที่สุดของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น


Type 01 LMAT (01式軽対戦車誘導弾 01-shiki kei-tai-sensha yūdō-dan) นั้นเป็นอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพา โดยมีการนำไปใช้งานโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น โดยมีเป็นอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังที่ทันสมัยที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีการมาใช้งานเพื่อแทนในส่วนหน้าที่ของปืนไร้แรสะท้อนถอยหลังแบบ Carl Gustav ชนาด 84 มิลลิเมตรที่เข้าประจำการมาก่อนหน้านี้

Carl Gustav Recoilless จากสวีเดน

Type 01 LMAT

การพัฒนา

จุดเริ่มต้นการพัฒนา Type 01 LMAT เริ่มต้นจากความต้องการของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นมีความต้องการจัดหาอาวุธต่อสู้รถรุ่นใหม่เพื่อเข้าทดแทน Sumitomo FT-84 หรือ Saab Carl Gustav จากประเทศสวีเดนที่ทางญี่ปุ่นนั้นทำการผลิตภายใต้สิทธิบัตรภายในประเทศ โดยการเข้ามาประจำการแทนในส่วนนี้นี้มีความต้องการในการเอาไปแทนในส่วนของหน่วยที่เอาไว้สำหรับการปฏิบัติการในแนวหน้าเป็นหลัก และมีความต้องการเพิ่มระบบนำวิถีแบบ Infrared Homing เข้าไป เพื่อให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นไปอีก

การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นในปี 1993 โดยบริษัทที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานวิจัยด้านการป้องกันประเทศแห่งชาติให้ทำการพัฒนาอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัวรุ่นใหม่ขึ้นก็คือ KHI หรือ Kawasaki Heavy Industries โดยในช่วงที่พัฒนานั้นมีการใช้ชื่อในโครงการพัฒนาก็คือ XATM-5 โดยหลังจากการพัฒนาก็ได้มีการทดสอบยิงโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นในปี 1996 และมีการนำเข้าประจำการต่อมาในปี 2001


การพัฒนาเชิงเทคนิคที่เป็นปัญหาสำคัญของ Type 01 LMAT คือการกำหนดให้มีความสามารถในการนำวิถีด้วยระบบ Infrared Homing ซึ่งระบบการนำวิถีด้วยอินฟราเรดของ Type 01 LMAT นั้นไม่มีระบบหล่อเย็น รวมไปถึงยังมีปัญหาในการพัฒนาตัวหัวรบที่มีการติดตั้งระบบกล้องจับภาพด้วยอินฟราเรดอีกด้วย แต่ด้วยความพยายามอย่างหนักของทีมออกแบบก็สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีการออกมากล่าวด้วยว่านี่เป็นครั้งแรกของโลกที่มีการติดตั้งๆอินฟราเรดแบบไม่มีตัวระบบหล่อเย็น ซึ่งบริษัทที่รับหน้าที่พัฒนาตัวระบบนำวิถีก็คือ NEC บริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดบริษัทนึงของญี่ปุ่น แต่ปัญหาสำคัญอีกอย่างของ Type 01 LMAT นั้นก็คือ การออกแบบอย่างไรให้ลดต้นทุนในการผลิตในจำนวนมาก เพราะถึงแม้ว่าจะมีความต้องการในการจัดหาเยอะก็จริง แต่ระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นก็ยังคงมีราคาที่สูงอยู่พอสมควร โดยที่ในตอนหลังก็ได้มีการพยายามแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในหมวดเดียวกันเพื่อออกมาใช้งานกับระบบอื่นๆ ด้วย จึงทำให้สุดท้ายแล้วนั้น ปัญหาเรื่องต้นทุนชิ้นส่วนจึงหายไปในที่สุด


ภาพรวมของระบบ

ด้วยความที่ต้องการเพื่อเข้าประจำการแทน Carl Gustav จึงทำให้ Type 01 LMAT นั้นถูกออกแบบมาให้เป็นแบบที่สามารถปฏิบัติการด้วย 2 คน ในเวลาปกติ และสามารถทำได้โดยใช้เพียง 1 คนในเวลาฉุกเฉิน หรือภายใต้สภาวะการณ์ที่จำกัด ตัวระบบแทนยิงของ LMAT นั้นมีน้ำหนักอยู่ที่ 11.4 กิโลกรัม และเมื่อทำการติดตั้งระบบกล้องมองกลางคืนหรือ Night Vision Device ที่พัฒนาโดย NEC เข้าไปนั้น จะมีนำหนักโดยรวมอยู่ที่ 17.5 กิโลกรัม มีความสามารถในการยิงรวมๆแล้วสามารถทำการยิงได้สูงสุดถึง 4 ต่อนาทีเลยทีเดียว



Type 01 LMAT นั้นมีความสามารถในการต่อต้านทั้งรถถัง ยานเกราะ รวมไปถึงที่มั่นต่างๆด้วยเช่นกัน ด้วยขนาดลูกจรวดขนาด 120 มิลลิเมตร พร้อมกับหัวรบเจาะเกราะสองชั้นต่อต้านรถถัง (TANDEM) ซึ่งด้วยอำนาจการทำลายล้างที่สูงมากๆ สำหรับต่อต้านรถถัง ผนวกกับความสามารถในการนำวิถีและระบบที่คล้ายกับ FGM-148 Javelin ทำให้ Type 01 LMAT นั้นจัดเป็นอาวุธต่อสู้รถถังชัดยอดสำหรับทหารราบเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ด้วยความที่มี Back Blast จากการยิงน้อยนั้น ทำให้มีการนำเอาไปติดตั้งสำหรับใช้งานในยานเกราะเบาแบบ Komatsu LAV ได้อีกด้วย




เมื่อลองเทียบกับระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพาของประเทศอื่นที่มีความใกล้เคียงกัน ทำให้พบว่า Type 01 LMAT นั้นมีน้ำหนักที่เบากว่าพอสมควร โดย FGM-148 Javelin ของสหรัฐอเมริกานั้นมีน้ำหนักอยู่ที่ 22.3 กิโลกรัม และ Spike MR/LR นั้นมีน้ำหนักอยู่ที่ 26 กิโลกรัม

Spike MR จากอิราเอล

๋FGM-148 Javelin จากสหรัฐอเมริกา

ระบบการนำวิถีแบบจับภาพจัดเป็นการนำวิถีแบบ LOBL (Lock Before Launch) หรือการล็อกเป้าหมายก่อนยิงออกไป และเป็นการยิงแบบยิงแล้วลืม (Fire and Forget) เพราะตัวลูกจรวดนั้นมีความสามารถในการนำวิถีด้วยตัวเองได้ โดยมีระยะยิงอยู่ที่ 2,000 เมตร หรือประมาณ 2 กิโลเมตร


แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า LMAT นั้นจะมีความสามารถที่สูง แต่ก็ยังคงมีปัญหาที่สำคัญอยู่ก็คือการต้องเตรียมตัวก่อนทำการยิงและการล็อกเป้าหมายด้วยภาพนั้นจะต้องใช้เวลาล็อกเป้าหมายพอสมควร จึงทำให้กองกำลังป้องกันตนเองทางนั้นเลือกที่จะยังไม่ทำการปลดประจำการ Sumitomo FT-84 หรือ Saab Carl Gustav เพื่อให้กองกำลังป้องกันตนเองทางบกนั้นยังคงมีความสามารถในการต่อตีข้าศึกฉับพลันได้อยู่

Carl Gustav M2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น

การจัดหา

หน่วยที่ได้รับ Type 01 LMAT เพื่อเข้าประจำการเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้รถถังก็คือ 1st Airborne Brigade ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ Funabashi ในจังหวัด Shiba ทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น


กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นนั้นมีการจัดหา Type 01 LMAT ตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปี 2010 ทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 1,073 ชุดยิง โดยแบ่งเป็น

ปี 2001 จัดหา 170 ชุดยิง

ปี 2002 จัดหา 242 ชุดยิง

ปี 2003 จัดหา 170 ชุดยิง

ปี 2004 จัดหา 240 ชุดยิง

ปี 2005 จัดหา 36 ชุดยิง

ปี 2006 จัดหา 48 ชุดยิง

ปี 2007 จัดหา 36 ชุดยิง

ปี 2008 จัดหา 49 ชุดยิง

ปี 2009 จัดหา 43 ชุดยิง

ปี 2010 จัดหา 39 ชุดยิง

โดยมีมูลค่าการจัดหาทั้งหมดนั้นอยู่ที่ ประมาณ 30,000 ล้านเยน โดยมีราคาประมาณการต่อระบบอยู่ที่ราคา 27 ล้านเยนต่อ 1 ชุดยิง

และโครงการพัฒนา Type 01 LMAT ทั้งหมดมีการใช้เงินพัฒนาไปรวม 10,500 ล้านเยน หรือประมาณ 3,150 ล้านบาท


เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์

ดู 707 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

DEFNET Old Cam : Far and B&W

DEFNET Old Cam Far and B&W DEFNET Old Cam วันนี้มาแปลก อาจจะงงว่าทำไม ภาพที่ถ่ายมันเป็นขาวดำ ภาพแตกๆ ดูเหมือนภาพเก่าเลย...

Comments


bottom of page