Type 16 MCV (Maneuver Combat Vehicle) คือชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการพัฒนายานเกราะเมื่อปี 2007 และได้มีการจัดหาเข้าประจำการในปี 2016 ซึ่งทำให้เป็นที่มาขอชื่อ Type 16 ก็มาจากตรงส่วนนี้เอง
Type 16 MCV นั้นเป็นยานเกราะที่ถูกจัดให้อยู่กับกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น ซึ่งอิงตามโครงสร้างการจัดกำลังพลในการป้องกันตนเองปี 2004 และในปี 2007 มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนายานเกราะ Type 16 มูลค่า 2,600 ล้านเยนโดยจะเป็นการพัฒนาแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการพัฒนายานเกราะล้อยางโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการพัฒนารถถังรุ่นใหม่อย่าง Type 10 ซึ่งค่าใช้จ่าในการพัฒนา Type 16 ทั้งหมดตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2007 ถึงปี 2015 นั้นอยู่ที่ประมาณ 17,300 ล้านเยน
9 ตุลาคม 2013 สำนักงานวิจัยกระทรวงกลาโหม ด้านยุทโธปกรณ์ภาคพื้นดินได้มีการรายงานว่าจะมีการเปิดตัวยานเกราะรุ่นใหม่ภายในปี 2016 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่การเปิดเผยโครงการนี้ต่อสาธารณะชน
Type 16 นั้นถูกออกแบบบนพื้นฐานของการรับมือในสถานการณ์ต่างๆ เช่น กรณีเกิดการยกพลขึ้นบกโดยกองกำลังของประเทศที่เป็นภัยคุกคามต่อญี่ปุ่น การบุกของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย และยังได้มีการออกแบบพิเศษสำหรับ Type 16 ให้มีความสามารถในการส่งทางอากาศได้อีกด้วย เพื่อความความสะดวกในการนำไปปฏิบัติการกับหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วทางอากาศ และนอกจากนี้ด้วยความที่เป็นยานเกราะล้อยางยังทำให้มีความสามารถในการเคลื่อนบนถนนได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่วในการเลี้ยวบนถนนของญี่ปุ่นเอง ซึ่งเมื่อผนวกกับอำนาจการยิงจากปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตรภายใต้เกราะของตัวรถเองทำให้ Type 16 จัดได้ว่าเป็นยานเกราะที่มีความสามารถในการต่อต้านยานเกราะของข้าศึกที่สูงมากแบบนึง โดยมีการวางแผนในการนำ Type 16 ไปประจำการในหน่วยรบของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกซึ่งจะทำหน้าที่ในการเข้าตีที่หมายและสำหรับการรบภายในเมืองอีกด้วย
ซึ่งนี่คือความแตกต่างที่ยานเกราะแบบอื่นของกองกำลังป้องกันตนเองทางที่มีอำนาจการยิงสูงอย่าง รถถัง Type 74 และยานเกราะสายพานแบบ Type 89 ไม่สามารถทำได้ ก็คือความสามารถในการส่งทางอากาศของยานเกราะเหล่านี้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนายานเกราะ Type 16 ขึ้น ซึ่งหากเมื่อลองเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความขัดแย้งกับญี่ปุ่นอย่าง จีนที่มียานเกราะที่มีความสามารถในการยิงสูงที่สามารถทำการส่งทางอากาศได้อย่าง ZBD-03 หรือ ZBD-05 ซึ่งเป็นยานเกราะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่มีความสามารถในการยกพลขึ้นบกภายใต้อำนาจการยิงจากเกราะของตัวรถได้ รวมไปถึงอย่างรัสเซียที่มียานเกราะสายพานที่สามารถส่งทางอากาศพร้อมกับหน่วยพลร่มได้อย่าง BMD-3 ที่มีรุ่นย่อยอย่าง 2S25 Sprut ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 125 ได้อีกด้วย ซึ่งนี่เป็นจุดสำคัญที่ญี่ปุ่นไม่มีความสามารถดังกล่าวเลย และการที่ไม่มีอำนาจการยิงของยานเกราะที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วอย่างการส่งทางอากาศได้ ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงยานเกราะจากทางฝั่งอเมริกาแล้วทางกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นก็พบว่าไม่มียานเกราะแบบใดเลยที่จะสามารถตอบโจทย์ตามความต้องการของตนเองได้ จึงต้องมีการพัฒนา Type 16 ขึ้นมา
โครงสร้างตัวรถ
ล้อของ Type 16 นั้นใช้ยางซึ่งผลิตโดยมิชลิน (แต่เป็นยางของบริจด์สโตน เอ้า งงดิงง) ด้านช่วงล่างนั้นเป็นระบบช่วงล่างแบบอิสระ ระบบกันสะเทือนเป็นกระบอกสูบไฮโดรลิคทั้งหมด
ระบบกันสะเทือนและช่วงล่างของ Type 16 นั้นแต่เดิมไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันแรงระเบิดจากระเบิดแสวงเครื่อง หรือกับระเบิดต่อต้านยานเกราะ ซึ่งด้วยเหตุผลเช่นนี้จึงทำให้มีความกังวลว่าตรงนี้จะเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของตัวรถ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีการออกมาอธิบายเพิ่มโดยหน่วยงานวิจัยและผู้ใช้งานว่า ถึงแม้ว่าตัวรถดั้งเดิมนั้นจะไม่ได้มีการเกราะเพื่อป้องกันระเบิดหรือออกแบบให้เป็น V-Shape Hull ก็จริง แต่ด้วยความสูงของใต้ตัวรถและพื้นดินนั้นสูงมากพอสมควรจึงทำให้มีความสามารถในการกระจายแรงระเบิดออกไปได้ในระดับนึง และในกรณีของการขับเคลื่อนด้วยการเคลื่อนที่แบบ 8 ล้อ ทำให้ต่อแม้ว่าจะมีล้อที่หายไปจากการกรณีต่างๆนั้น ตัวรถก็ยังสามรถทำการเคลื่อนที่ต่อไปได้ด้วยล้อที่เหลือ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นจุดแข็งด้านการป้องกันของตัวรถเช่นกัน
ตัวรถนั้นทั้งหมดนั้นมีการติดตั้งแผ่นเกราะกันกระสุนโดยการเชื่อมตติดเสริมเข้า และจะมีการติดตั้งเกราะเสริมแบบถอดออกได้เพิ่มเข้าไปอีกได้ด้วย เครื่องยนต์ขนาด 570 แรงม้าถูกติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าฝั่งซ้ายของตัวรถโดยมีท่อไอเสียออกทางฝั่งซ้ายของตัวรถ การควบคุมรถทำด้วยพวงมาลัยเพาเวอร์ มีห้องที่เชื่อมต่อกับปืนใหญ่บริเวณตรงกลางค่อนไปทางด้านหลังของตัวรถ และทางด้านท้ายของตัวรถนั้นเป็นส่วนเก็บคลังกระสุนของตัวรถ ไฟหน้ารถในคันต้นแบบเป็นแบบ Halogen แต่ในส่วนของรถที่ผลิตขึ้นจริงในขั้นโรงงานนั้นเปลี่ยนไปใช้ไฟหน้าแบบ LED ของบริษัท Koito Manufactory แทน
ระบบอาวุธ
ระบบอาวุธของ Type 16 คือป้อมปืนที่ติดตั้งปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวแบบ L7A1 ขนาด 105 มิลลิเมตร ความยาวลำกล้อง 52 คาลิเบอร์ โดยใช้พื้นฐานปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวแบบ L7A1 ที่ญี่ปุ่นได้รับลิขสิทธิ์มาผลิตเองในประเทศเพื่อติดตั้งใช้งานกับ รถถัง Type 74 ซึ่งเหตุผลในการเลือกปืนใหญ่แบบ L7A1 ที่ใช้ติดตั้งกับ Type 74 มาทำการพัฒนาให้มีความยาวของลำกล้องเพิ่มขึ้นอีก 1 คาลิเบอร์นั้นก็เพื่อทำให้มีความสามารถในการใช้กระสุนร่วมกับ Type 74 ทุกชนิด รวมไปถึงจะทำให้มีความสามารถในการส่งกำลังบำรุงได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย เพราะในปัจจุบันนั้นยังมีการใช้ Type 74 ประจำการอยู่ในกองกำลังทุกภูมิภาคของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ซึ่งด้วยความสามารถที่ทำให้ Type 16 นั้นมีประสิทธิภาพนั้นก็มาจากตรงนี้เอง
ด้วยความสามารถในการใช้กระสุนขนาด 105 ที่มีอยู่อย่างหลากหลายของญี่ปุ่นนั้นสามารถทำให้ยิงกระสุนได้ทุกชนิดโดยไม่มีปัญหา โดยมีกระสุนหลักที่ใช้งานอยู่ดังนี้
Type 91 HEAT-MP
M1060A3 APFSDS-T จากประเทศเบลเยี่ยมที่มีความสามารถในการเจาะเกราะมากกว่า 500+ RHAe ด้วยความยาวของแท่งทังเสตนที่ยาว 460 มิลลิเมตร
JM-33 หรือ DM-33 APFSDS-T ที่ทำการผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ มีความสามารถในการเจาะเกราะได้ประมาณ 460 RHAe
ซึ่งด้วยกระสุนดังกล่าวข้างต้นก็ทำให้ Type 16 มีความสามารถในการต่อต้านยานเกราะของประเทศที่เป็นภัยคุมคามต่อญี่ปุ่นได้อย่างสบายในกรณีที่มีการยกพลขึ้นบกหรือการบุกโดยกำลังพลส่งทางอากาศจากฝ่ายตรงข้าม
โดยทั่วไปแล้วยานเกราะในประเภทนี้ด้วยความี่มีน้ำหนักที่เบากว่ารถถัง เพราะมันขับเคลื่อนด้วยล้อ และมีระบบช่วงล่างที่มีความเบาและบางกว่ารถถังทำให้มีโอกาสที่จะเสียความมั่นคงในระหว่างการทำการยิงด้วยปืนใหญ่ ซึ่งทางหน่วยงานวิจัยกลาโหมของญี่ปุ่นนั้นก็ได้แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการพยายามเอาเทคโนโลยีที่ได้มาจากการพัฒนารถถัง Type 10 มาใข้ในยานเกราะ Type 16 และก็ได้มีการพิสูจน์แล้วเมื่อมีการนำเอา Type 16 ออกไปโชว์ตัวที่งานซ้อมรบและแสดงาอาวุธที่บริเวณภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งในครั้งนั้นก็เป็นข้อพิสูจน์อย่างดีเลยว่า Type 16 นั้นมีประสิทธิภาพที่ดี
การป้องกัน
ด้านการป้องกันตัวรถและป้อมของ Type 16 นั้นจัดได้ว่ามีการป้องที่สูงมากเลยทีเดียวเนื่องจากทั้งตัวรถและป้อมปืนนั้นมีการติดตั้งเกราะอยู่ถึง 2 ชั้นเป็นพื้นฐาน สามารถป้องกันกระสุนขนาด 12.7 มิลลิเมตรได้ที่ระยะ 200 เมตร ได้อย่างสบายๆ และนอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเกราะเสริมชั้นที่ 3 บริเวณด้านหน้าของของตัวรถอีกด้วย โดยเกราะด้านหน้านั้นจะมีความสามารถในการป้องกันที่สูงมากๆ ถึงขั้นที่ว่าสามารถป้องกันกระสุนของปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังขนาด 84 มิลลิเมตร แบบชนิดระเบิดแรงสูงได้เลยทีเดียว แต่ก็ยังคงมีส่วนที่การป้องกันที่ด้อยอยู่ก็คือบริเวณท้องของตัวรถที่ไม่มีเกราะเสริม หรือแม้กระทั่งการออกแบบให้เป็น V-Shape เพื่อป้องกันระเบิดแสวงเครื่อง (IED) หรือกับระเบิดต่อต้านยานเกราะเลย
การขับเคลื่อน
ประสิทธิภาพด้านการขับเคลื่อนของ Type 16 นั้นยังไม่เป็นรองใคร ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 570 แรงม้าที่สามารถพาตัวรถที่มีน้ำหนักรวมกันทั้งหมดถึง 26 ตันให้สามารถทำความเร็วสูงสุดบนพื้นราบถนนได้ถึง 100 กม./ชม. แต่ปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนก็การขับเคลื่อนสภาพพื้นที่ขรุขระ ซึ่งมักจะเป็นปัญหากับยานเกราะที่เป็นล้อยางทุกแบบบนโลก แต่เหตุผลที่ว่าทำไมถึงเลือกเป็นล้อยางนั้นก็เพราะด้วยเหตุนี้ด้วยเช่นกัน เพราะในญี่ปุ่นนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นถนนเหรือพื้นเรียบมากกว่า และในกรณีที่เป็นพื้นที่ขรุขระนั้นจะมีการเอาหน่วยที่เป็นยานเกราะสายพานเข้าไปปฏิบัติการแทนมากกว่า ซึ่งก็ได้มีการตัดสินใจจากทีมงานวิจัยของญี่ปุ่นแล้วว่าการใช้ล้อยางเพื่อให้มีประสิทธิภาพบนท้องถนนได้สูงแล้วนั้น ยังเป็นการลดต้นทุนของยานเกราะตลอดการใช้งานอีกด้วยเพราะอุตสาหกรรมที่รองรับนั้นมีมากกว่ายานเกราะแบบสายพาน รวมไปถึงสามารถจัดหาอุปกรณ์ซ่อมบำรุงและส่งซัพพลายนั้นสามารถทำได้ง่ายกว่า
และด้วยน้ำหนักของ Type 16 ที่ 26 ตัน นั้นยังสามารถส่งกำลังทางอากาศได้โดยเครื่องบินลำเลียงแบบ Kawasaki C2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการสั่ง Type 16 MCV ไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 87 คัน โดยแบ่งเป็นคำสั่งซื้อตามความต้องการตั้งแต่ตั้งโครงการเมื่อ
ปี 2007 จำนวน 33 คัน
ปี 2008 จำนวน 38 คัน
ปี 2018 จำนวน 18 คัน
Specification
ความยาวตัวรถ : 8.45 เมตร
ความกว้างตัวรถ : 2.98 เมตร
ความสูงตัวรถ : 2.87 เมตร
น้ำหนักทั้งหมด : 26 ตัน
พลประจำรถ : 4 คน
อาวุธ
ปืนใหญ่หลักลำกล้องเกลียวขนาด 105 มิลลิเมตร ความยาวลำกล้อง 52 คาลิเบอร์
ปืนกลด้านบนป้อมแกนแบบ M2 ขนาด 12.7 มิลลิเมตร
ปืนกลร่วมแกนแบบ Type 74 ขนาด 7.62 มิลลิเมตร
เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ดีเซล 4 ลูกสูบพร้อมเทอร์โบชาร์จ ให้กำลัง 570 แรงม้า
ระยะปฏิบัติการ : 400 กิโลเมจร
ความเร็วสูงสุด : 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
อัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนัก : 21.9 แรงม้า/ตัน
ระบบขับเคลื่อน : ขับเคลื่อน 8 ล้อพร้อมระบบช่วงล่างแบบอิสระ
ผู้ผลิต : Mitsubishi Heavy Industry (MHI)
ราคา : ประมาณ 700 ล้านเยน/คัน หรือราวๆ 210 ล้านบาท/คัน
เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
Comments