กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติในการขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน/โจมตีเบาแบบ Boeing AH-6i จำนวน 8 ลำ พร้อมอุปกรณ์และยุทธภัณฑ์รวมมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่กองทัพบกไทย
โดยทางหน่วยงานความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหรัฐหรือ DSCA (Defense Security Cooperation Agency) ได้ส่งเอกสารแสดงความต้องการในการจัดหาอากาศยานของกองทัพบก รวมถึงเอกสารแสดงถึงการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายไปยังสภาคองเกรสเพื่อรายงานให้ทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยในเอกสารแสดงความต้องการในการจัดที่ส่งเข้าสู่สภาคองเกรสนั้นทางกองทัพบกได้ระบุความต้องการในการจัดหาอากาศพร้อมกับอุปกรณ์ดังรายการต่อไปนี้
อากาศยานปีกหมุนแบบ Boeing AH-6i จำนวน 8 ลำ
อาวุธปล่อยนำวิถี Semi-Artive Laser Homing แบบ AGM-114R Hellfire จำนวน 50 นัด
ระบบจรวดนำวิถีแบบก้าวหน้า APKWS (Advance Precision Kill Weapon System) จำนวน 200 นัด
ปืนกลหลายลำกล้องแบบ M134 Minigun จำนวน 10 กระบอก
กระเปาะจรวดแบบ M260 รองรับการยิงจรวดขนาด 2.75 นิ้วจำนวน 10 ระบบ
รางรองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ M299 Longbow Hellfire จำนวน 10 ระบบ
จรวดไม่นำวิถีแบบ Hydra-70 จำนวน 500 นัด
ปืนกลอากาศแบบ GAU-18/B ขนาด 12.7 มิลลิเมตร จำนวน 4 กระบอก
ระบบเรดาร์วัดระดับความสูงแบบ AN/APN-209 จำนวน 10 ระบบ
ระบบเรดาร์แจ้งเตือนเมื่อถูกตรวจจับด้วยเรดาร์แบบ AN/APR-39(v)4 จำนวน 8 ระบบ
กล้องมองกลางคืนแบบ AN/AVS-6 จำนวน 8 ระบบ
ระบบกล้อง EO/IR แบบ WESCAM MX-10Di จำนวน 8 ระบบ
ระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบ AN/APX-123IFF จำนวน 10 ระบบ
ระบบวิทยุสื่อสารแบบ AN/ARC 201E VHF-FM จำนวน 10 ระบบ
ระบบนำร่องด้วย INS/GPS แบบ LN-251 จำนวน 10 ระบบ
นอกจากนี้ยังครอบคลุมการฝึกนักบินและช่างเทคนิค, การกำกับดูแล, การสนับสุนนภาคพื้นและระบบอื่นๆแบบครบบวงจร โดยมูลค่าของรายการทั้งหมดนั้นอยู่ที่ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 12,000 ล้านบาท
โดยจุดมุ่งหมายของการจัดหา AH-6i ในครั้งนี้ของกองทัพบกไทยก็เพื่อนำเข้าประจำการทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ AH-1F Cobra ที่ประจำการมาอย่างยาวนานและล้าสมัยไปแล้ว เพื่อเสริมความสามารถของกองทัพบกรวมไปถึงศักยภาพในการทำภารกิจร่วมกันระหว่าง AH-6i และยานเกราะล้อยางแบบ Stryker ที่ทางกองทัพบกได้มีการจัดหาไปก่อนหน้านี้
กระบวนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนี้จะเป็นในรูปแบบของ FMS (Foreign Military Sale) และเป็น 1 นโยบายเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศพันธมิตรหลักนอกนาโต้ (Major Non-NATO) ซึ่งของไทยนั้นถือว่าเป็นพันธมิตรนอกนาโต้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกามาโดยตลอดและนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความมั่นคงภูมิภาคนี้อีกด้วย
ที่มา :
Comments