top of page

สหรัฐฯตัดตุรกีออกจากโครงการ F-35 : JSF

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

อัปเดตเมื่อ 20 ก.ค. 2562

สหรัฐฯได้ทำการถอดตุรกีออกจากโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ยุคที่ 5 หรือโครงการ JSF : Joint Strike Fighter


ซึ่งภายใต้การถอดถอนตุรกีออกจากโครงการนี้นั้นจะทำให้ตุรกีจะเสียสิทธิ์ในการผลิตชิ้นส่วนและประกอบ F-35 ภายในเดือนมีนาคมปี 2020

ทางทำเนียบขาวของสหรัฐฯให้แถลงการณ์ออกสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกระชั้นชิดหลังจากที่ตุรกีรับมอบระบบต่อต้านอากาศยานแบบ S-400 แต่เป็นการตัดสินใจที่ทางสหรัฐฯได้ทำการเตือนตุรกีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เมื่อช่วงปี 2018 แล้ว เพียงแต่รอดูท่าทีของตุรกีว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป


จนกระทั่งทางตุรกีได้ทำลายข้อผูกพันของพันธมิตรนาโต้ด้วยการจัดหาระบบป้องกันภัยและต่อต้านอากาศยานระดับสูงอย่าง S-400 จากรัสเซีย

ภาพขณะขนถ่ายระบบ S-400 ลงจากเครื่อง il-76 ที่ตุรกี

ซึ่งเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯต้องตัดตุรกีออกจากโครงการ F-35 ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลเกี่ยวกับ F-35 ไปยังฝั่งรัสเซีย เนื่องจาก F-35 นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติการแบบ Stealth ซึ่งเป็นความสามารถที่มีขั้นตอนการสร้างและออกแบบที่เป็น "ความลับ"


สำหรับบุคลากรชาวตุรกีซึ่งทำงานอยู่ในโครงการ F-35 จะต้องออกจากสหรัฐฯภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2019 นี้ในฐานะผู้ลี้ภัยทันที โดยจะมีบุคลากรของตุรกีที่มีส่วนร่วมในโครงการ F-35 อยู่ราวๆ 20 กว่าคน

ระบบป้องกันภัยทางอากาศและต่อต้านอากาศยานแบบ S-400

โดยหากแผนงานในโครงการ F-35 ของตุรกียังคงเป็นตามที่ตกลงกับสหรัฐฯไว้ก็คือ จะมีชิ้นส่วนของ F-35 ราวๆ 900 ชิ้นส่วนถูกผลิตขึ้นในตุรกีซึ่งจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศถึง 9,000 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยการถอดตุรกีออกจากโครงการ F-35 ทำให้ ตุรกีจะสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจไปมหาศาลเช่นกัน โดยจะมีการหยุดการผลิตชิ้นส่วนในโครงการ F-35 ในตุรกีทั้ง 900 ชิ้นส่วน ภายในเดือนมีนาคม 2020

แต่อย่างไรก็ตาม หากจะต้องมีการย้ายฐานการผลิตดังกล่าวกลับไปยังสหรัฐฯจะต้องมีการลงทุนราวๆ 500-600 ล้านดอลลาร์ และหากมีพันธมิตรใดๆของสหรัฐที่มีความต้องการจะซื้อ F-35 ที่ทางตุรกีสั่งเอาไว้ก็สามารถทำได้เช่นกัน


ซึ่งทาง Lockheed Martin ผู้ผลิตหลักของ F-35 ก็ได้ออกมากล่าวว่า ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ช่วงที่รัฐบาลกำลังเจรจากับตุรกีนั้น ทางบริษัทก็ได้รีบหาแหล่งผลิตชิ้นส่วนเพื่อมารองรับกับชิ้นส่วนที่ในอนาคตจะไม่สามารถนำเข้ามาจากตุรกีได้แล้วเช่นกัน โดยเป็นไปตามคำแนะนำจากทางรัฐบาลสหรัฐฯ และทางบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะหาแหล่งผลิตชิ้นส่วนเพื่อมารองรับการผลิตเพื่อส่งมอบ F-35 จำนวน 131 ลำที่ได้มีการสั่งไว้ และเตรียมรับมอบภายในปี 2019 นี้


 


 

ดู 275 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page