กองทัพเรือบราซิล เตรียมส่งมอบ เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Tupi (Type 209/1400) จำนวน 4 จากทั้งหมด 5 ลำ ให้กับ กองทัพเรืออาร์เจนติน่า หลังการพบกันระหว่างนาย ฌาอีร์ เมซีอัส โบลโซนารู ประธานาธิบดีบราซิล และนาย เมาริซิโอ มากริ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยในข้อตกลงดังกล่าวนั้นคือส่งมอบเรือดำน้ำชั้นดังกล่าวให้จำนวน 2 ลำและจะส่งมอบเพิ่มอีกจำนวน 2 ลำในอนาคต ส่วนเรือจำนวน 2 ลำแรกนั้นจะส่งมอบให้กับ กองทัพเรืออาร์เจนตินา ภายในปีนี้ เพื่อนำเข้ารับการซ่อมคืนสภาพ ที่อู่ต่อเรือ Tandanor ทางตอนใต้ของท่าเรือบัวโนสไอเรส ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ก่อนส่งมอบคืนและขึ้นระวางประจำการในปีหน้า ส่วนอีกเหตุผลคือการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพกองเรือดำน้ำ ของกองทัพเรืออาร์เจนตินา
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Tupi (Type 209/1400) หรือ IKL-209-1400 ออกแบบโดยสำนักวิศวกรรมศาสตร์นาวีลือเบกค์ - Ingenieur Kontor Lubeck (IKL) ร่วมกับบริษัทอู่ต่อเรือ Howaldtswerke-Deutsche Werft (HDW) ประเทศเยอรมนี จำนวนทั้งหมด 5 ลำ เข้าประจำการในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2548
โดย เรือ BNS Tupi (S-30) ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชั้น ถูกต่อขึ้นที่อู่ของบริษัทอู่ต่อเรือ Howaldtswerke-Deutsche Werft (HDW) ในเมืองคีล รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ประเทศเยอรมนี ส่วน เรือ BNS Tamoio (S-31), เรือ BNS Timbira (S-32) และ เรือ BNS Tapajó (S-33) ถูกต่อขึ้นที่ อู่ต่อเรือของ Arsenal de Marinha do Rio de Janeiro (AMRJ) รัฐวิสหกิจด้านอุตสาหกรรมการต่อเรือของรัฐบาลบราซิล
เรือลำสุดท้ายถูกปรับปรุงเป็นมาตรฐาน Type 209/1400Mod ได้แก่ เรือ BNS Tikuna (S-34) ตามเดิมเรือลำนี้จะเป็นเรือลำแรกใน เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Tikuna ซึ่งจะมีเรือลำต่อมาคือ เรือ BNS Tapuia (S-35) แต่โครงการได้ถูกยกเลิกไป
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 กระทรวงกลาโหมบราซิล ได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงระบบอำนวยการรบของ เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Tupi (Type 209/1400) ทั้งหมด ของ กองทัพเรือบราซิล กับบริษัท Lockheed Martin Maritime Systems & Sensors เพื่อให้สามารถยิง ตอร์ปิโดหนัก Raytheon Mk. 48 Mod 6 Advanced Technology (AT) จำนวน 30 ลูก ที่จัดหามาตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 และทดสอบยิงหลังเสร็จสิ้นการปรับปรุง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยยิงจาก เรือ BNS Tapajó (S-33)
ส่วนสาเหตุที่กองทัพเรือบราซิล ส่งมอบเรือชั้นดังกล่าวให้ เนื่องจากเรือไม่ได้ถูกนำออกปฏิบัติการมาเป็นเวลานาน เพราะบราซิลกำลังเตรียมกำลังพลให้พร้อมปฏิบัติการกับ เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Riachuelo ซึ่งใช้พื้นฐานแบบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Scorpène ของบริษัท Naval Group ประเทศฝรั่งเศส โดย เรือ BNS Riachuelo (S-40) มีกำหนดขึ้นระวางประจำการในปีหน้า
ข้อตกลงดังกล่าวได้รวมไปถึงการลงนามเพื่อประนีประนอมด้านความมั่นคงและอำนาจทางทะเล ในความร่วมมือกันระหว่าง 2 ประเทศ ในด้านการวิจัย พัฒนา และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการทหาร
ปัจจุบัน กองทัพเรืออาร์เจนติน่า เหลือเรือดำน้ำในประจำการเพียงแค่ 2 ลำ ได้แก่ เรือ ARA Santa Cruz (S-41) และเรือ ARA Salta (S-31) หลังจากสูญเสีย เรือ ARA San Juan (S-42) ไปเมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เนื่องจากอุบัติเหตุแบตเตอรี่ของเรือระเบิด ขณะกำลังปฏิบัติการใต้น้ำทำให้เรือจมสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเหตุให้ลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมดและไม่สามารถกู้ขึ้นมาได้
อ้างอิง :
แปล, เขียนและเรียบเรียง : สิริวสั สัตรูปราศ (แอดช่าง)
Comments