AIM-9 Sidewinder ถือเป็นจรวดอากาศสู่อากาศที่สำคัญแบบหนึ่งของโลกเสรี ที่พัฒนาขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา แต่การใช้งานในการรบครั้งแรกนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยนักบินสหรัฐ
ปี 1958 ความตึงเครียดระหว่าง 2 จีน กำลังเดือดขึ้น โดย จีนแผ่นดินใหญ่ ได้มีการส่งอากาศยานขึ้นบินเหนือเกาะ Quemoy และ Matsu ของไต้หวันซึ่งอยู่ใกล้จีน ก่อนที่จะมีการยิงถล่มใส่เกาะดังกล่าว สหรัฐผู้สนับสนุนไต้หวันในเวลานั้น จึงต้องหาทางที่ป้องกันไม่ให้จีนแผ่นดินใหญ่ยึดไต้หวันได้ ทางออกของสหรัฐคือการจัดส่งยุทโธปกรณ์ให้ไต้หวันใช้รับมือ หนึ่งในนั้นคือเครื่องบินขับไล่ North American F-86F Saber
ซึ่งในช่วงการรบแรกๆ แม้ว่านักบินF-86Fของไต้หวันจะสามารถสู้รบกับเครื่องMig ของจีนได้ดี แต่พวกเขาก็ยังมีปัญหาในการจัดการMig ที่เพดานบินสูงกว่าที่ปืนจะยิงถึง สหรัฐจึงตัดสินใจ มอบอาวุธให้ไต้หวันใช้งาน นั้นคือ "AIM-9B Sidewinder" โดยสหรัฐมีการส่งมอบให้ไต้หวันไปจำนวน40 นัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสหรัฐเข้ามาฝึกอบรมการใช้งานที่ฐานทัพอากาศ Hsinchu ในไต้หวัน
ในที่สุด 24 กันยายน 1958 กองทัพอากาศไต้หวันส่ง F-86F 48ลำ ที่มีการติดตั้งAIM-9B Sidewinder ในเครื่องส่วนหนึ่ง เข้าปะทะกับ เครื่องMig-15 และ Mig-17 มากถึง 126ลำ ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งในระยะห่าง3000หลา นักบินไต้หวันได้มีการยิงจรวด AIM-9B Sidewinder สังหารเครื่องบินจีนได้ ซึ่งมีการยืนยันทั้งหมด 9ลำ และ ไม่ยืนยันอีก 2ลำ ซึ่ง6ลำจากทั้งหมดเป็นการยิงด้วยจรวด AIM-9B โดยที่ไต้หวันไม่มีการสูญเสียอากาศยานในการรบครั้งนั้น
นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของการรบโดยใช้จรวดอากาศสู่อากาศเป็นครั้งแรก แม้ว่าจะไม่ได้มาจากประเทศผู้ผลิตก็ตาม
แต่...
ปรากฏว่า เครื่องMig-17 ลำหนึ่งของจีนถูกจรวด Aim-9B ยิงเข้าใส่ จรวดปักคาตัวเครื่อง แต่ตัวจรวดไม่มีการทำงาน ทำให้เครื่องMig-17ลำนั้นยังสามารถทำการบินกลับมาลงที่ฐานบินในประเทศจีนได้ เจ้าหน้าที่ของจีนจึงนำมันออกจากตัวเครื่องบินแล้ว ส่งมอบจรวดดังกล่าวให้กับโซเวียตวิเคราะห์ ซึ่งโซเวียตเองก็ประทับใจในความเรียบงานและความมีประสิทธิภาพของจรวดAIM-9B ที่ผลิตโดยสหรัฐ และพัฒนาจนกลายมาเป็น จรวดอากาศสู่อากาศแบบ K-13 หรือ R-3 หรือ AA-2 นั้นเอง ซึ่งได้มีการส่งไปใช้งานในสนามรบทั้งที่ตะวันออกกลางและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา
แปล-เรียบเรียง โดย ณภัทร ยลละออ
Comentarios