#DEFNET #ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ #Chaiseri #FirstWin
อาจจะมีคนไทยเพียงส่วนน้อยที่จะรู้จักอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยที่เป็นของเอกชน แต่ในความจริงแล้วนั้นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเอกชนไทยนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงยานเกราะของไทยที่สร้างและพัฒนาขึ้นโดยเอกชนของไทย ที่มีการใช้งานอยู่ในหน่วยงานของไทยทั้งหมด
FirstWin ยานเกราะล้อยางของเอกชนไทยรายแรกที่เข้าประจำการ
FirstWin จัดเป็นยานเกราะประเภท MRAP : Mine Resisstance Ambush Protection หรือยานเกราะป้องกันระเบิด ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ชัยเสรี เมทัลแอนด์รับเบอร์ จำกัด โดยถูกสร้างขึ้นที่โรงงานของชัยเสรีในจังหวัดปทุมธานี ภายใต้การบริหารงานของคุณหิรัญ กุลหิรัญ และคุณนพรัตน์ กุลหิรัญ หรือผู้ที่ได้รับฉายาจากวงการยุทโธปกรณ์ว่า "มาดามรถัง "
ชัยเสรี ในช่วงแรกที่เปิดกิจการนั้นยังไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านนี้โดยตรง โดยเมื่อก่อนนั้นทำอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตยางและให้บริการเกี่ยวกับยางของรถบรรทุก รวมไปถึงให้บริการด้านการทำโลหะสำหรับรถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตรงนี้เองที่ได้ทำให้ชัยเสรี นั้นได้เข้ามามีประสบการณ์ด้านการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและยาง และได้ทำการจัดหาเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อทำการขยายการผลิต
ต่อมาหลังจากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญคือการได้มาสร้างโรงงานสำหรับการสร้างและผลิตยานยนต์อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งที่โรงงานนี้ได้ ทางชัยเสรีก็ได้รับโอกาสจากกองทัพในการซ่อมแซมและปรับปรุงยานยนต์ทางทหาร ยานเกราะล้อยาง และยานเกราะสายพานมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจัดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนายานเกราะล้อยางแบบ FirstWin อยูที่คุณหิรัญ ประธานกรรมการบริษัทชัยเสรี ที่ท่านได้มองเห็นแล้วว่าด้วยความที่ทางชัยเสรีนั้นก็มีความสามารถในการซ่อมบำรุงรวมไปถึงปรับปรุงยานเกราะของกองทัพมาอย่างยาวนานจนมีองค์ความรู้มากพอแล้ว จึงได้ลองออกแบบและพัฒนายานเกราะล้อยางทางทหารขึ้นมาเพื่อให้สามารถใช้งานโดยหน่วยงานของไทยได้ และตรงนี้เองคือจุดสำคัญ การพยายามสร้างยานเกราะล้อยางของชัยเสรีนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยยานเกราะโดยคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาความสามารถของอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้น
และผลลัพธ์จากความพยายามของชัยเสรีก็ได้ให้กำเนิด FirstWin ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลป้องกันระเบิดแบบแรกที่ออกแบบและพัฒนาโดยฝีมือเอกชนของไทย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนายานเกราะภายในประเทศไทย และยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระแสหลายอย่าง ทั้งการเปลี่ยนแปลงความคิดของเอกชนไทยหลายรายที่คิดว่าจะทำยานเกราะไปทำไม ในเมื่อทำไปแล้วไม่มีหน่วยงานจัดหาไปใช้งาน เนื่องจากปัจจุบันนั้นหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยนั้นได้มีการใช้งานยานเกราะ FirstWin อยู่รวมๆแล้วเกือบ 100 คัน โดยมีใช้งานทั้งหน่วยงานของกองทัพบก ,DSI และหน่วยงานตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเป็นการเอาไปใช้เพื่อปกป้องกำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้
ด้วยความที่ FirstWin นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเป็นยานเกราะสำหรับลุยระเบิด ทำให้ตัวถังของ FirstWin เป็นแบบ V-Shape เพื่อลดแรงปะทะของระเบิดที่กระทำต่อตัวรถในกรณีที่เป็นการระเบิดจากใต้ตัวรถ โดยระเบิดแสวงเครื่อง และตัวรถของ FirstWin นั้นยังป้องกันกระสุนขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร หรือสามารถป้องกันกระสุนของปืนเล็กยาวแบบ AK-47 ขนาด 7.62x39 มิลลิเมตร ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นการระดับการป้องกันมาตรฐานนาโต้ในระดับ 3 (STANAG 4569 Level 3) ซึ่งเมื่อผนวกกับเครื่องยนต์แบบ Cummins ขนาด 300 แรงม้าทำให้ FirstWin นั้นสามารถบรรทุกไปได้มากที่สุด 2 ตัน
FirstWin สามารถทำการเคลื่อย้ายด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 ที่มีใช้งานในกองทัพอากาศของไทยได้ และตัวรถยังสามารถติดตั้งระบบที่หลากหลายทั้ง ปืนกลขนาด 5.56 ,7.62 ,12.7 มิลลิเมตรได้ หรือแม้แต่เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด 40 มิลลิเมตรได้ด้วยเช่นกัน ความสามารถในการบรรทุกบุคลากรนั้นสามรถทำการบรรทุกไปได้ 11 คนหรือ 1 หมู่ปืนเล็กของทหาราบ โดยไม่รวมพลขับอีก 1 คน และตัวรถนั้นยังได้มีการติดตั้งช่องสำหรับยิงปืนจากภายในตัวรถอีกด้วยเพื่อความสะดวกหากมีการปะทะกับข้าศึก ทำให้สามารถยิงได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงออกมายิงบริเวณภายนอกตัวรถ
และจากทั้งหมดที่กล่าวมาในบทความข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า FirstWin นั้นจัดได้ว่าเป็นตัวแปรสำคญอย่างยิ่งในการเปิดศักราชใหม่ของยานเกราะที่ผลิตและพัฒนาขึ้นโดยความรู้และสามารถคนไทยแท้ๆ ซึ่งถือว่าดีมากๆเป็นอย่างยิ่ง และหวังว่าในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องให้ทันสมัยยิ่งขึ้นไปอีก
เขียนและเรียบเรียงโดย : ปฏิภาณ นิกูลกาญจน์
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://chaiseri-defense.com/index.php/main
Comments