หลังจากเหตุการณ์กรณีพิพาทในหมู่เกาะทะเลจีนใต้และการสู้รบกับ ISIS ที่เมืองมาราวีทำให้กองทัพฟิลิปปินส์ต้องมีการพิจาณาการจัดหารถถังเบารุ่นใหม่เพื่อตอบสนองภัยคุกคาม ตามแผนป้องกันประเทศ Horizon ระยะ 2 ซึ่งมีการอนุมัติโครงการโดย ปธน. โรดรีโก ดูแตร์เต เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 มูลค่า 3 พันล้านเปโซ โดยทางสื่อทางทหารชั้นนำของฟิลิปปินส์ MaxDefense มีการคาดการณ์ว่าจะได้ผู้ชนะในโครงการเร็วๆนี้
โดยปัจจุบันโครงการรถถังเบามีการเสนอมาทั้งหมด 6 แบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
รถถังเบาแบบสายพาน
1. Hanwha Defense Systems : K21-105
รถถังเบาผลิตโดยบริษัท Hanwha Defence Systems จากประเทศเกาหลีใต้ มีพื้นฐานมาจากยานเกราะลำเลียงพลแบบ K21 ที่ประจำการในกองทัพเกาหลีใต้
K21-105 ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 มม.ของ CMI Defence Cockerill ประเทศเบลเยี่ยม
2. Elbit Systems - General Dynamics European Land Systems : ASCOD 2 MMBT
เป็นรถถังเบาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท Elbit Systems ของอิสราเอลและบริษัท General Dynamics European Land Systems สาขาออสเตรีย มีพื้นฐานมาจากยานเกราะ AJAX ติดตั้งป้อมปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ของ OTO Melara ประเทศอิตาลี
3. FNSS - PT Pindad : Kaplan / Harimau
รถถังเบาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท FNSS ของตุรกีและบริษัท Pindad ของอินโดนีเซีย ติดตั้งป้อมปืนใหญ่ขนาด 105 มม.ของ CMI Defence Cockerill ประเทศเบลเยี่ยม
ยานเกราะพิฆาตรถถังแบบล้อยาง
1. Elbit Systems - Excalibur Army : Pandur II กับปืนใหญ่ 105 มม.
ยานเกราะพิฆาตรถถังล้อยางที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท Elbit Systems อิสราเอลและบริษัท Excalibur ของสาธารณรัฐเช็ก ติดตั้งป้อมปืนขนาด 105 มม.ของ OTO Melara ประเทศอิตาลี
2. IVECO : Centauro B2 กับปืนใหญ่ 105 มม.
ยานเกราะพิฆาตรถถังล้อยางจากประเทศอิตาลี ซึ่งตามข้อมูลจากทางบริษัทได้ยืนยันว่าสามารถติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 มม. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่มีรูปของ Centauro B2 ที่ทำการติด 105 มม.ออกมาสู่สาธารณะชน
ปัจจุบัน Centauro B2 มีตัวต้นแบบทั้งหมด 11 คัน ทดสอบโดยกองทัพบกอิตาลี ซึ่งเป็นตัวที่ติดปืนใหญ่ขนาด 120/45 มม.ของ OTO Melara พร้อมมีแผนการนำ Autoload และ Hard-kill APS มาติดตั้งในอนาคต
3. Otokar Otomotiv : Arma กับปืนใหญ่ 105 มม.
ยานเกราะพิฆาตรถถังล้อยางจากประเทศตุรกี ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 มม.ของ CMI Defence Cockerill ประเทศเบลเยี่ยม
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตหลายอื่นๆที่กองทัพบกฟิลิปปินส์ได้ส่งการร้องขอข้อมูล (RFI) จากคณะทำงานด้านเทคนิคของ PA แต่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ หรือ ไม่ได้ส่งข้อเสนอเข้ามา
MaxDefense ได้มีการจำลองการพิจารณาบริษัทที่อาจจะเป็นผู้ชนะโครงการรถถังเบาโดยการระบุเหตุผลที่เป็นไปได้และการถูกลบออกจากการคัดเลือกโดย
1. อิงจากกฏหมายการจัดซื้อของรัฐบาลที่ได้รับการแก้ไขภายใต้ RA 9184 และกฏหมาย AFP Modernization ที่ได้รับการแก้ไขภายใต้ RA 10349 ซึ่งระบุว่าการจัดหายุทธภัณฑ์ควรมีการใช้งานกับกองทัพของผู้ผลิตหรือมีการใช้งานในกองกำลังต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ
เริ่มต้นที่แบบสายพานจากผู้เข้าแข่งขันจำนวน 3 แบบ
K21-105 : ปัจจุบันยังมีเพียงกองทัพบกเกาหลีใต้ใช้งานอยู่
ASCOD 2 MMBT : ปัจจุบันมีกองทัพบกสเปน กองทัพบกออสเตรียเป็นผู้ใช้งาน และมีรุ่นย่อยที่ใช้งานในกองทัพบกอังกฤษ ในชื่อ General Dynamics AJAX
Kaplan / Harimau : ยังไม่มีการนำเข้าประจำการ แต่ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบและเตรียมส่งมอบให้ กองทัพบกอินโดนิเซียเร็วๆนี้
ตัวเลือกของแบบสายพานจะเหลือตัวเลือกเพียง 2 แบบ คือ K21-105 และ ASCOD 2 MMBT ซึ่งผ่านข้อกำหนด ส่วน Kaplan ถึงจะมีการนำมาใช้งานในประเทศผู้ผลิต แต่ตอนนี้ยังไม่มีประจำการซึ่งหากเกิดการพิจารณาก่อน Kaplan เข้าประจำการก็อาจจะถูกตัดออก
ต่อมาส่วนของยานเกราะล้อยางจากผู้เข้าแข่งขัน 3 แบบ
Pandur II : มีใช้งานในกองทัพบกเช็ก, โปรตุเกส, ออสเตรียและอินโดนิเซีย
Centauro B2 : มีตัวต้นแบบ 11 คันประจำการในกองทัพบกอิตาลีเพื่อการทดสอบภาคสนาม
Arma : มีเพียงแค่กองทัพบกบาร์เรนที่ใช้งานเท่านั้น
ซึ่งถ้าอิงตามกฏหมาย Pandur II และ Centauro B2 จะได้ไปต่อ ส่วน Arma อาจจะถูกตัดออก
2. เรื่องของป้อมปืน ที่ใช้งานโดยหลักๆของผู้เข้าแข่งขันมีการใช้งานป้อมปืน มีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัทคือ CMI Defence Cockerill เบลเยี่ยมและ OTO Melara อิตาลี
โดยทาง K21-105, Kaplan, Arma ใช้ป้อมปืนของ CMI Defence Cockerill
ส่วนของ ASCOD 2 MMBT, Pandur II, Centauro B2 ใช้ป้อมปืนของ OTO Melara
ประเด็นสำคัญคือ การที่เบลเยี่ยมมีกฏที่คุมเข้มในการขายป้อม CMI ให้ฟิลิปปินส์เพราะกลัวว่าฟิลิปปินส์จะนำอาวุธเบลเยี่ยมมาใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
นั่นหมายความว่า ASCOD 2 MMBT, Pandur II และ Centauro B2 เท่านั้นที่เป็นไปได้สำหรับการคัดเลือก เนื่องจากการไม่ใช้งานป้อมปืนและปืนที่ทำจากเบลเยี่ยมถูกตัดออก
3. ตอนนี้เหลือเพียงแค่ 3 ตัวเลือกคือ Elbit - GDELS ASCOD 2 MMBT, Elbit - Excalibur Army Pandur II, และ IVECO Centauro B2
ถ้าลองสังเกตดูจะพบว่ามี 2 ตัวเลือกที่เป็น Elbit ซึ่งทางกองทัพบกฟิลิปปินส์ก็มีระบบของ Elbit ใช้งานอยู่แล้วในยานเกราะที่ตัวเองใช้อยู่
MaxDefense จึงคาดการณ์ว่ากองทัพบกฟิลิปปินส์อาจเลือก Elbit Systems - GDELS ASCOD 2 MMBT สำหรับข้อกำหนดที่สายพานและ Elbit Systems - Excalibur Army Pandur II สำหรับข้อกำหนดล้อยางเป็นตัวเลือก โดยมี IVECO Centauro B2 เป็นตัวเลือกที่สอง
ซึ่งเจ้าหน้าที่ DND ฟิลิปปินส์ได้มีการไปเยี่ยมชมโรงงานของ Excalibur Army ในสาธารณรัฐเช็ก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Delfin Lorenzana เรียกร้องให้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการป้องกันระหว่างฟิลิปปินส์กับสเปนและการลงนามที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยทั้งสองประเทศของบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับการขนส่งโลจิสติกส์ยุทธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์
ทั้งนี้ยังไม่มีอะไรแน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการของกองทัพบกฟิลิปปินส์ในการพิจารณาโครงการการจัดหารถถังรถถังเบาที่จะทำการคัดเลือกก่อนที่จะส่งเรื่องไปยังผู้บัญชาการกองทัพบกฟิลิปปินส์ (CGPA)
"ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ จนกว่าจะได้มีการตัดสินใจคัดเลือกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว"
ที่มา :
Comments