top of page

อินโดนิเซีย อาจถูกถอดออกจาก โครงการ KF-X/IF-X ของ เกาหลีใต้ จากการเบี้ยวจ่ายเงินลงทุน

รูปภาพนักเขียน: DEFNETDEFNET

อัปเดตเมื่อ 22 ก.ค. 2562

แบบจำลองเครื่อบินขับไล่ KAI KF-X ของเกาหลีใต้

สำนักข่าวยอนฮับ รายงานว่า รัฐบาลอินโดนิเซีย ต้องการที่จะขอลดเงินลงทุนร่วมใน โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า KAI KF-X/IAe IF-X ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัทอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเกาหลีใต้ - Korea Aerospace Industries (KAI) (รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของรัฐบาลเกาหลีใต้) และบริษัทอุตสาหกรรมการบินอินโดนิเซีย - Indonesian Aerospace (IAe) (รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมการบินของอินโดนิเซีย) เนื่องจากประสบการณ์ปัญหาด้านงบประมาณ ที่ทางรัฐบาลนำไปลงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน


CN-235 กองทัพอากาศเกาหลีใต้

ทางด้าน กระทรวกลาโหมอินโดนิเซีย จะเจรจาปรับเปลี่ยนการจ่ายเงินลงทุนด้วยเงินสดไปจ่ายโดยใช้วิธีอื่นแทน จึงจะเสนอย้ายฐานการผลิต เครื่องบินลำเลียง CASA/IPTN CN-235 จากประเทศอินโดนิเซีย ไปที่ประเทศเกาหลีใต้ ต่อรัฐบาลเกาหลีใต้แทนการจ่ายด้วยเงินสด เพราะปัจจุบัน กองทัพอากาศเกาหลีใต้ และหน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้ ก็มีเครื่องบินลำเลียงรุ่นดังกล่าวใช้งานอยู่เช่นกัน


CN-235 หน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดนิเซีย ยังกล่าวเสริมอีกว่า "ทางกระทรวงกลาโหมมีความจำเป็นต้องลดเงินลงทุนในโครงการ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณของประเทศ แต่ในทางกลับกันก็ไม่ต้องการที่จะพลาดโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกัน และถึงการกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศด้วย"


โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ กับรัฐบาลอินโดนิเซีย มีข้อตกลงร่วมกันในการร่วมลงทุน โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า KAI KF-X/IAe IF-X มูลค่า 87,000,000,000 วอน (แปดหมื่นเจ็ดพันล้านวอน) ที่ 80:20 หรือ รัฐบาลเกาลหลีใต้ ลงทุน 80% (หกหมื่นเก้าพันล้านวอน)และรัฐบาลอินโดนิเซีย ลงทุน 20% (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสี่พันล้านวอน) ซึ่งจะคาดการณ์ว่าจะพัฒนาเสร็จสิ้น และเริ่มเดินสายการผลิตในปี พ.ศ. 2569 ส่วนทาง กองทัพอากาศอินโดนิเซีย มีแผนจัดหาทั้งหมด 48 ลำ (ผลิตภายในประเทศทั้งหมด)

แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KAI KF-X/IAe IF-X ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Korea Aerospace Industries (KAI) และ Indonesian Aerospace (IAe)

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนิเซีย มีปัญหาการจ่ายเงินลงทุนในโครงการดังกล่าวล่าช้ามาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 โดยให้เหตุผลถึงความยากในการแบ่งงบประมาณมาลงทุนในสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จน ณ ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนิเซีย จ่ายเงินลงทุนไปแล้วเพียงแค่ 1,987ล้านวอน เท่านั้น

 

ที่มา

 
ดู 343 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page